ปตท. อัดงบ R&D รับมือการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 16 พ.ค 2561
แชร์ 0

ปตท. เตรียมเพิ่มงบ R&D หลังการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเริ่มกระทบหลายภาคส่วนธุรกิจ

PTT EV Station

สถานีบริการรถพลังไฟฟ้าของปตท. อีกหนึ่งรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตั้งเป้าเพิ่มงบเพื่อการวิจัยและพัฒนาจาก 3% ของกำไรสุทธิรายปีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่กระทบต่อภาคส่วนยานยนต์

วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ นวัตกรรมและดิจิตอล กล่าวว่าปตท.ยังไม่ตัดสินใจว่าจะใช้งบอัตราเท่าไร อัตรา 3% ถูกกำหนดโดยรัฐบาลต่อรัฐวิสาหกิจแต่ละฝ่ายเพื่อกิจกรรมวิจัยและพัฒนา โดยมีฐานจากกำไรสุทธิรายปี

คุณวิทวัสกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้แทรกซึมสู่ภาคธุรกิจต่างๆ ที่ปตท. แข่งขันอยู่ทั่วโลก และบางบริษัทถูกทิ้งถ้าไม่จัดการความเสี่ยง ท่านกล่าวว่าภาคส่วนพลังงานไม่ต่างจากธนาคาร สื่อสารโทรคมนาคม และหลายภาคการบริการที่ต้องเจอการรุกราน “หลายบริษัทได้จัดสรรงบมหาศาลเพื่อการวิจัยและพัฒนา (สำหรับโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ) ในยุคดิจิตอลและพวกนั้นรู้เสมอว่าบางธุรกิจที่พบความเปลี่ยนแปลงจะหายไปจากตลาดอีกไม่นาน” คุณวิทวัสกล่าว

ดูเพิ่มเติม:
>> 
อาลีบาบากรุ๊ป ทุ่มวิจัยยานยนต์ไร้คนขับ
>> Mitsubishi ใส่เกียร์ 5 ลุย!! R&D สานต่อความสำเร็จ งานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39

"พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรม"
ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

อีกด้านหนึ่ง ปตท.ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อสร้างศูนย์อบรมการวิจัยและพัฒนาของบริษัทเป็นเวลาสามปี ภายใต้ความร่วมมือกับ NIA ปตท. วางแผนริเริ่มนวัตกรรมผลิตแก๊สชีวภาพจากขยะชุมชน ซึ่งจะใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า โครงการกำลังพัฒนาโดยบริษัทในเครือคือบริษัท Global Power Synergy จำกัด (มหาชน) (GPSC) ที่อยู่ในจ.ระยอง โดยสามารถปั่นไฟได้ 9.9 เมกาวัตต์

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม กล่าวว่าห่วงโซ่คุณค่าด้านไฟฟ้าและพลังงานสะอาดมีคุณภาพเป็นเป้าหมายสำคัญสองข้อของภาคส่วนพลังงานที่จะขับเคลื่อนปตท. สู่การค้นหาเทคโนโลยีใหม่ๆ

เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ของปตท. มุ่งไปที่นวัตกรรมใหม่ๆ ประกอบด้วย Internet of Things, โดรน, ระบบ AI, การออกแบบหุ่นยนต์, การทำงานด้วยตัวเอง, เทคโนโลยีชีวภาพ (เคมี เภสัช และเครื่องสำอาง), กริดอัจฉริยะ, มิเตอร์อัจฉริยะ, และเศรษฐกิจหมุนเวียน (รีไซเคิลขยะ) ปตท. กำลังรับรองการพิสูจน์แนวคิดเทคโนโลยีเซนเซอร์ ที่ใช้ในโรงแยกแก๊สธรรมชาติเพื่อการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เช่นเดียวกับการออกแบบหุ่นยนต์ในพื้นที่อันตรายและใช้โดรนเป็นตัวสำรวจตามพื้นที่ “เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกใช้เชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2019-20” คุณชาญศิลป์กล่าว

ดูเพิ่มเติม:
>> 
รัฐสั่งลุย! จัดซื้อรถยนต์พลังไฟฟ้า ทั้งราชการ-รัฐวิสหกิจร่วมสร้างตลาดรอบด้าน
>> ค่ายรถชั้นนำ เตรียมลงทุนแห่ผลิตแบตเตอรี่ EV ในไทย

ศูนย์วิจัยแห่งนวัตกรรมที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) อยู่ในวังจันทร์ วัลลีย์ จ.ระยอง

ศูนย์วิจัยแห่งนวัตกรรมที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) อยู่ในวังจันทร์ วัลลีย์ จ.ระยอง

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปตท.วางงบ 10 พันล้านบาทเพื่อลงทุนช่วงแรกกับศูนย์วิจัยแห่งนวัตกรรมที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกในอ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งตั้งใจจะใช้เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปีโตรเคมีชีวะ เงินส่วนใหญ่ในก้อนนั้นนำไปพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่ 800 ไร่ของช่วงแรก ขณะทั้งโครงการมีพื้นที่ 3,140 ไร่

กระแสของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกำลังเข้ามาเรื่อยๆ ถ้าไม่รีบปรับตัว อาจต้องตามหลังนะครับ Chobrod จะตามดูความเคลื่อนไหวนวัตกรรมในอนาคตต่อไปที่นี่ครับ