ความหวังที่เมืองไทยจะแพร่หลายไปด้วยรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเริ่มเห็นภาพ เมื่อสำนักงบประมาณไฟเขียวให้หน่วยงานราชการ และวิสาหกิจจัดซื้อเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่อีอีซี อีกทั้ง 8 ค่ายรถยนต์ยื่นขอส่งเสริมการลงทุน อนุมัติแล้ว 2 หวังเพิ่มการผลิตรถประเภทนี้เป็น 25% ของรถที่ประกอบในไทยใน 2 ปี
รถไฟฟ้าเต็มรูปแบบจาก Fomm
ซึ่งหลังจากวันที่ 28 มีนาคม 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และมอบหมายหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ เพื่อให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายใต้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ล่าสุดคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งมีปลัดกระทรงอุตสาหกรรมเป็นประธานก็ได้รายงานความคืบหน้าจากผลดำเนินงานทั้งหมดแก่ ครม. ภายในเดือนพฤษภาคม
>>>> ดูเพิ่มเติม fomm one ตารางผ่อน
นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยว่าหลังจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่อีอีซี ออกไปอีก 2 ปี และผู้ประกอบการต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปี 2562 พบว่าตอนนี้ยังไม่มีค่ายรถใดมาขอรับการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการน่าจะยังอยู่ในช่วงเตรียมการรายละเอียดของโครงการอยู่
ส่วนทางด้านรถไฟฟ้าแบบไฮบริดหรือ HEV และรถแบบปลั๊กอินไฮบริดหรือ PHEV ทาง BOI ได้ปิดการรับยื่นขอการส่งเสริมไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา ปรากฎว่ามีผู้มายื่นรับคำขอส่งเสริมการลงทุนแล้วจำนวน 8 ราย อนุมัติแล้ว 2 ราย ได้แก่ Toyota ผลิตรถยนต์ไฮบริด และ Mercedes-Benz ยื่นขอผลิตรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ขณะที่ อีก 6 ราย จะยื่นผลิตรถยนต์ไฮบริด 4 ราย และปลั๊กอิน-ไฮบริด 2 ราย ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ BOI
รถปลั๊กอินไฮบริดจาก Mercedes-Benz
>> ไทยส่งเสริมตลาดรถยนต์ Plug-In Hybrid เร่งขยาย ChargeNow สถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ
>> ‘ตามให้ทันโลก’ เรื่องรถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
นอกจากนี้การดำเนินเพื่อผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าที่มาจากภาครัฐ ปีนี้แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้นด้วยมาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ ภายใต้แนวทางการดำเนินงานของสำนักงบประมาณได้อนุมัติให้หน่วยงานราชการและวิสาหกิจจัดซื้อรถรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะดำเนินการกำหนดบัญชีคุณสมบัติเฉพาะและบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า วางเป้าให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าถึง 20% ของรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจัดซื้อ นอกจากนี้ความร่วมมือหลายๆ ฝ่ายของภาครัฐและวิสาหกิจ เริ่มเห็นชัดว่ามุ่งเน้นเพื่อการปูพื้นฐานให้รถพลังงานไฟฟ้าแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ก็กำลังพิจารณาจัดทำแผนเช่ารถยนต์โดยเพิ่มในเรื่องการเลือกนำรถที่เป็นพลังงานไฟฟ้ามาให้บริการเป็นรถยนต์สนามบินให้มีสัดส่วนมากกว่าเดิม, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV มาใช้งานในพื้นที่ปลอดมลพิษภายในโครงการพัฒนาอีอีซี, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถยนต์สี่ล้อรับจ้างหรือ Taxi มาปรับเปลี่ยนเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า, กรมศิลปากรพิจารณานำรถยนต์ไฟฟ้ามาให้บริการในเขตอุทยานประวัติศสตร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น
การสนับสนุนยังครอบคลุมรอบด้านด้วยกระทรวงการคลังยังได้ออกประกาศการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรให้ในอัตราพิเศษ สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนไฟฟ้าทั้งไฮบริด และปลั๊กอิน-ไฮบริด โดยอัตราภาษีจะลดให้กึ่งหนึ่ง และรถแบบ BEV จะลดอัตราภาษีให้เหลือเพียง 2% ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าต้องผ่านการอนุมัติจาก BOI ก่อน และตัวรถยนต์ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ซึ่งจากการช่วยกันดำเนินงาน และแรงสนับสนุนของหน่วยงานจากภาครัฐเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อด้วยไฟฟ้าทำให้ปีนี้เริ่มเห็นภาพความเป็นไปได้ของตลาดรถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ในแถบพื้นที่ อีอีซี ที่มีเป้าหมายที่จะผลิตให้ได้มากถึง 25% ของจำนวนรถที่ประกอบในประเทศทั้งหมดภายในระยะเวลา 2 ปี
เมื่อภาพเริ่มชัด ตลาดเริ่มมี ความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะนิยมในเรื่องของรถพลังงานทางเลือกอย่างรถยนต์ไฟฟ้าก็มีมากขึ้น แม้เริ่มต้นจะค่อยๆ เริ่มจากรถที่ใช้พลังงานร่วมอย่าง น้ำมันกับไฟฟ้า อย่างรถไฮบริดหรือรถปลั๊กอินไฮบริด แต่เมื่อความเชื่อมั่นในรถยนต์ไฟฟ้ามีเพิ่มมากขึ้นจากประชาชนผู้ใช้รถ อนาคตที่จะมีแต่รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าล้วนๆ จากแบตเตอรี่หรือ BEV บนท้องถนนเมืองไทยก็ไม่ใช่เรื่องมโนเพ้อฝันเกินไปแต่อย่างใด
ดูเพิ่มเติม