เชื่อว่าทุกคนคงทราบว่าหน้าที่ของแตรคือการให้สัญญาณด้วยเสียง ทราบดีว่ารูปแบบการบีบแตรนั้นมีความหมายที่จะสื่อสารอยู่ แต่นั่นใช่ความเข้าใจที่ถูกหรือเปล่า?
แตรรถ เป็นอุปกรณ์ประจำรถที่ไม่ต้องอธิบายหน้าที่ของมัน คนใช้รถทุกคนก็น่าจะเข้าใจ ว่ามันเอาไว้ใช้ทำอะไร แต่เรื่องของแตรนั้น มีเนื้อหาที่ดูจะมีรายละเอียดเล็กน้อย ที่ถ้าหากคุณไม่ใช่คนที่ขับรถเป็น อาจจะไม่เข้าใจถึงการบีบแตรในลักษณะที่แตกต่างกัน และวันนี้ Chobrod จะพาไปชำแหละถึงเรื่องที่น่าสนใจเรื่องนี้ กับวัฒนธรรมของการบีบแตร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แตรรถยนต์ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 โดย Oliver Lucas แห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งถูกสร้างขึ้นาเพื่อใช้เป็นสัญญาณในการของทาง เป็นตัวช่วยที่จะเพิ่มการขับขี่ปลอดภัยที่มากขึ้น ช่วยป้องกันและลดการอุบัติเหตุได้ และสร้างระเบียบในการใช้ถนนที่มากขึ้น
แตร เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในรถยนต์
ผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยในรถยนต์มองว่าแตรรถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เสริมสร้างความปลอดภัยได้อย่างดีเยี่ยม และยอมรับว่าการใช้แตรอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้จริง และมันคือข้อเท็จจริงที่ต่อเนื่องมาอย่างถูกต้องจนถึงปัจจุบัน
แต่ส่วนหนึ่งหลายคนมองว่าวัฒนธรรมการบีบแตรนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน พวกเขามองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมารยาทในการขับรถ และก็มีเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นพอให้เห็นกันบ้าง ว่าการบีบแตรก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทได้ และนั่นเป็นเพราะพวกเขา ไม่เข้าใจหลักและวิธีใช้แตรที่เหมาะสมหรือเปล่า?
เสียงของแตรจะดังในรูปแบบไหน ก็อยู่ที่คนเลือกกดเลือกใช้ มาลองดู 5 จังหวะของเสียงแตรที่นิยมใช้กันในทุกวันนี้ แล้วเช็กดูสิว่า คุณเข้าใจความหมายของแตรรถตรงกันกับที่เราบรรยายหรือไม่?
ลักษณะของเสียงแตรจะเป็นการบีบแบบเบา ๆ สั้น ๆ ต่อเนื่อง “ปี๊ด ปี๊ด ปี๊ด” ซึ่งเป็นการกดเพื่อทักทาย สวัสดี แบบที่เราอาจจะเคยคุ้นเคยเมื่อรถประจำทางสองคันที่วิ่งสวนกัน หรือวิ่งแซงกันแบบแตรแบบนี้ใส่กัน
เจอคนรู้จัก บีบแตรทักทายสักหน่อย
เช่นเดียวกันที่เราสามารถใช้เวลาขับรถเจอกับคนรู้จัก การบีบแตรแบบนี้จะเป็นการทักทาย และอีกฝ่ายมักจะบีบตอบกลับมาในลักษณะเดียวกัน
เป็นจังหวะแตรที่จะพบได้บ่อยบนท้องถนน ด้วยการบีบแตรไปแบบสั้น ๆ “ปี๊ด” ซึ่งเป็นการบีบเพื่อเตือนให้คนรอบข้างหรือรถคันอื่นระวัง เช่น บีบใส่คนที่กำลังจะข้ามถนนโดยที่ไม่ได้ดูทาง หรือบีบใส่จักรยานที่ขับกินเลนถนนออกมา การบีบเช่นนี้เป็นการส่งสัญญาณเบา ๆ ให้อีกฝ่ายได้รู้ถึงการมีอยู่ของรถ ไม่ได้มีเจตนาเชิงตำหนิแต่อย่างใด
เป็นอีกรูปแบบที่เรามักจะได้ยินเวลาขับรถติดไฟแดง แล้วรถคันข้างหน้าก็จอดแช่ทั้ง ๆ ที่ไฟเขียวแล้ว “ปี๊ดดดดดดดด”การบีบแตรเป็นลักษณะของการส่งเสียงแบบยาวและดัง
ทำไมรถข้างหน้าไม่ขยับสักที บีบแตรเตือนสักหน่อย
ซึ่งการบีบแบบนี้จะมีอาการหงุดหงิดและสงสัย พร้อมกับใส่อารมณ์เร่งรัด และให้สัญญาณคนข้างหน้าที่อาจจะเหม่อลอยหรือลืมดูสัญญาณไฟ ประมาณว่า “ไฟเขียวแล้ว เห็นหรือยัง ทำไมไม่ไปสักทีล่ะ เดี๋ยวไฟแดงก็มาอีกหรอก”
ดูเพิ่มเติม
>> ขับรถกลางคืน! มีเรื่องอะไรบางที่มือใหม่หัดขับควรรู้
>> 5 คำถาม เมื่ออยากเปลี่ยนเกียร์ธรรมดาเป็นออโต้
จังหวะการบีบจะเป็นการกดแตรเสียงดังและลากยาวซ้ำ ๆ ซึ่งลักษณะแบบนี้ต้องการที่จะสื่อสารออกมาว่า เห้ย! วันนี้เรารีบ นายมัวทำอะไรอยู่เนี่ย มักพบเห็นคนใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความเร่งด่วน และต้องการเร่งรถหรือสภาพแวดล้อมข้าง ๆ ช่วยเปิดทางให้รถของตนได้เคลื่อนที่ไปเสียที อาจเพราะรถข้างหน้าเกิดปัญหาอะไรสักอย่าง ทำให้รถข้างหลังไปไม่ได้ ซึ่งไม่แนะนำให้บีบแตรลักษณะนี้ เพราะเสี่ยงต่อการวิวาทได้
ข้างบนแค่ระบาย แต่แบบนี้เป็นการท้าทายพร้อมปะทะ กับรูปแบบการบีบแตรที่ลากยาวเสียงดัง พร้อมเรียกความสนใจจากรถทุกคันบนถนนในบริเวณเดียวกันให้ชะโงกหาที่มาของเสียง แม้กระทั่งเด็กขายพวงมาลัยหรือแม้ค้ากล้วยแขกยังต้องชะเง้อหาว่าไอรถคันไหนที่มันกำลังจะเปิดศึก
ลากยาวแบบนี้ โมโหหรือว่าเป็นลม
หรือชวนให้คิดอีกแง่ว่ามีใครเป็นลมล้มทับพวงมาลัยไปหรือเปล่า? และนี่เป็นจังหวะของเสียงที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาได้มากที่สุดเลยทีเดียว ดังนั้น เลี่ยงได้ควรเลี่ยง ความใจร้อนอาจสร้างความเดือดร้อนมาสู่ตัวเองได้
อีกจังหวะหนึ่งที่คนถูกบีบใส่อาจจะรู้สึกถูกยียวน ชวนมีเรื่อง กับการบีบแตรเป็นจังหวะเพลงสามช่า หรือจังหวะดนตรีต่าง ๆ คนบีบอาจจะสนุก แต่คนฟังไม่ได้สนุกด้วยนะ เพราะมันดูน่ารำคาญมากกว่าจะดูเท่ดูคูลนะเออ เผลอ ๆ ถูกด่า เสี่ยงมีเรื่องให้วิวาทกันได้อีกด้วย
ลักษณะการบีบแตรทั้ง 6 จังหวะที่กล่าวไว้ข้างต้น มีผลทางข้อกฎหมายด้วยสำหรับการบีบในลักษณะที่สร้างความเดือดร้อนและอาจก่อให้เกิดเหตุทะเลาะวิวาท โดยในมาตรา 14 ระบุเอาไว้ว่า การบีบแตรจะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น โดยจะต้องกดเป็นจังหวะสั้น ๆ และจะกดยาวหรือกดย้ำแบบถี่ ๆ ต่อเนื่องเกินไปไม่ได้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
บีบแตรหาเรื่อง ระวังโทษปรับนะ
แต่ทั้งนี้การบีบแตรในจังหวะที่บีบแบบลากยาวนั้น สามารถกดได้เมื่อพบเห็นอันตรายหรือเหตุฉุกเฉินได้ เพื่อส่งสัญญาณเตือนให้คนรอบข้างตระหนักรู้ เช่น เมื่อพบว่ารถที่ขับอยู่นั้นหลุดการควบคุม การบีบแตรบอกเป็นการเตือนให้คนที่อยู่ในวิถีรถระวังและออกห่าง เป็นต้น
นอกจากเรื่องของจังหวะการบีบแตรแล้ว กฎหมายยังกำหนดลักษณะของการติดตั้งแตรเอาไว้ด้วย โดยในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ว่ารถยนต์ต้องมีแตรสัญญาณ โดยกำหนดให้เป็นเสียงเดียว ดังไม่น้อยกว่า 90-155 เดซิเบลเอ จากด้านหน้ารถ 2 เมตร มีระยะได้ยินไม่น้อยกว่า 60 เมตร และอนุญาตให้ติดตั้งเพียง 1 ชุดเท่านั้น หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ไม่อนุญาตให้ติดตั้งเสียงแตรแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นแตรสองเสียง แตรเสียงแตกพร่า หรือดัดแปลงเสียงเป็นรูปแบบสัญญาณแบบอื่น และไม่อนุญาตให้ติดตั้งแต่ลม หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับ 1,000-2,000 บาท
เห็นไหมว่า รูปแบบการกดแตรในจังหวะที่ไม่เหมือนกัน อาจสร้างสถานการณ์ให้ดีหรือร้ายก็ได้ ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจตรงกันถึงมารยาทการบีบแตรที่เหมาะสม และทำความเข้าใจของเสียงแตรแต่ละจังหวะ เพื่อลดการเกิดปัญหาบนท้องถนน และสร้างการขับขี่ที่ปลอดภัยสำหรับคุณเอง
ดูเพิ่มเติม
>> เช็กป้ายทะเบียนรถ ว่าเป็นของใคร ทำได้หรือเปล่า?
>> ประวัติศาสตร์ รถยนต์ไฟฟ้า กับที่มากว่า 140 ปี
เข้าดู ราคารถยนต์มือสอง ได้ที่นี่