แม้ป้ายภาษีรถยนต์ กับพ.ร.บ.รถยนต์ จะมีการแบ่งแยกประเภทกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว แต่ผู้ใช้รถมือใหม่บางคนอาจจะกำลังสับสนว่า พ.ร.บ. กับ ภาษี อันเดียวกันไหม และต่างกันอย่างไร ? ใครที่กำลังงงอยู่ ตามมาเลย ! Chobrod.com จะขอแก้ไขความสับสนให้เอง ! ป้ายภาษี คืออะไร ? พ.ร.บ. คืออะไร ? มาดูกัน !
พ.ร.บ. กับภาษีอันเดียวกันไหม ?
ตอบกันตรงนี้เลยว่า ไม่ใช่แน่นอน พ.ร.บ. รถยนต์ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ คือประกันภัยภาคบังคับที่กำหนดให้รถยนต์และจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนทุกคันจะต้องทำไว้เป็นหลักประกัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและค่ารักษาพยาบาลหากเกิดอุบัติเหตุ และเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต
- ค่าเสียหายเบื้องต้น
- กรณีบาดเจ็บ จ่ายสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จ่ายเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จ่ายเงินไม่เกิน 30,000 บาท ค่าปลงศพ 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทน (เงินชดเชยที่ฝ่ายถูกได้รับ)
- ค่ารักษาพยาบาล จ่ายสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ ตั้งแต่ข้อมือ / เสียแขน / เท้าตั้งแต่ข้อเท้า / เสียขา / ตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมกัน 2 กรณีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 300,000 บาท
- กรณีสูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ / เสียแขน / เท้าตั้งแต่ข้อเท้า / เสียขา / ตาบอดถาวร / หูหนวก / เสียความสามารถในการพูด / ลิ้นขาด หรือสูญเสียอวัยวะใด ชดเชย 250,000 บาท
- กรณีสูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
- ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)
ป้ายภาษีรถยนต์ คืออะไร ?
ป้ายภาษีรถยนต์ หรือที่เรียกกันว่า ป้ายวงกลม คือสิ่งที่ผู้ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องทำทุกปี หากขาดกันต่อภาษีรถยนต์ หรือจักรยานยนต์นานเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนรถ และต้องนำรถไปจดทะเบียนใหม่ พร้อมจ่ายค่าภาษีย้อนหลังเพิ่มเติมด้วย หากใช้รถโดยไม่ต่อภาษี จะมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท และถ้าไม่ติดใบภาษีรถยนต์รถยนต์ไว้ที่กระจกรถ จะต้องจ่ายค่าปรับตั้งแต่ 400 - 2,000 บาท
ภาษีรถยนต์ประจำปี สามารถต่ออายุได้ล่วงหน้า 3 เดือน หรือ 90 วัน ก่อนหมดอายุ รถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี และมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุ ไม่เกิน 5 ปี สามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ตามช่องทาง ดังนี้
- เว็บไซต์ E-Service ลิงก์
- กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งทางบก
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- บริการรับชำระภาษีแบบเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
- ห้างสรรพสินค้า โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"
- ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา
- ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม
หากรถยนต์ของคุณมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจักรยานยนต์อายุ 5 ปีขึ้นไป จะต้องตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ.ก่อน แล้วค่อยนำเอกสารมายื่นต่ออายุที่กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งทางบก
ต่อป้ายภาษี ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือเล่มทะเบียน
- ใบพ.ร.บ. หรือหลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป มอเตอร์ไซค์ 5 ปีขึ้นไป)
ค่าต่อใบภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไหร่?
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- 600 ซีซี. แรก ราคา 0.50 บาท/ซีซี.
- ตั้งแต่ 601-1,800 ซีซี. ราคา 1 บาท 50 สตางค์/ซีซี.
- เกิน 1,800 ซีซี. ราคา 4 บาท/ซีซี.
รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (รถป้ายทะเบียนขาวตัวหนังสือเขียว)
- ตั้งแต่ 751-1000 กก. ราคา 600 บาท
- ตั้งแต่ 1,001-1,250 กก. ราคา 750 บาท
- ตั้งแต่ 1,251-1,500 กก. ราคา 900 บาท
- ตั้งแต่ 1,501-1,750 กก. ราคา 1,050 บาท
- ตั้งแต่ 1,751-1,800 กก. ราคา 1,350 บาท
- ตั้งแต่ 1,801-2,000 กก. ราคา 1,350 บาท
- ตั้งแต่ 2,001-2,500 กก. ราคา 1,650 บาท
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน)
- ตั้งแต่ 751-1,800 กก. ราคา 1,300 บาท
- ตั้งแต่ 1,801-2,500 กก. ราคา 1,600 บาท
หากรถของคุณมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับการการลดภาษี ดังนี้
- อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
ควรนำรถยนต์หรือจักรยานยนต์ไปต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ.ให้เรียบร้อย ไม่ใช่แค่เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับหรือเสียเวลาต่อทะเบียนเพิ่มเติมเท่านั้น แต่เพื่อผลประโยชน์ของคุณเอง หากเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา
อ่านเพิ่มเติม >>