ถนนไร้สัญญาณไฟจราจร ไม่ชนกันเละเหรอ

ประสบการณ์ใช้รถ | 13 ต.ค 2561
แชร์ 0

สัญญาณไฟจราจรเราเกิดมาก็เห็นและใช้กันอยู่ทุกวัน แต่ก็ยังมีบางเมืองบนโลกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร แล้วแบบนี้รถรากับคนเดินถนนไม่ชนกันเละเหรอ

ไม่รู้ว่าเป็นความผิดของ โทมัส เอดิสันหรือไม่ ที่เป็นคนแรกซึ่งประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าได้ตั้งแต่ปี 1879 หรือความผิดใครกันแน่ที่นำพื้นฐานของหลอดไฟฟ้ามาสร้างสรรและแต่งเติมสี3สีลงไปจนเกิดเป็นสัญญาณไฟจราจร ด้วยสัญญาณไฟจราจรนี้เองที่ทำให้เกิดสภาวะการจราจรติดขัดขึ้น จนมีการพูดกันเป็นเรื่องขำขันว่า ถ้าจะไม่ให้รถติดก็เอาสัญญาณไฟจราจรออกเสียเลย จะได้ไม่ต้องมีไฟแดง รถจะได้ไม่ติด เห็นพูดกันเล่นๆแบบนั้น แต่ก็มีประเทศที่ลองขบคิดแล้วนำมาใช้จริงเกิดเป็นเมืองที่ไร้สัญญาณไฟจราจรขึ้นมาจนได้

หลอดไฟดวงแรกของโลกในปี 1879

หลอดไฟดวงแรกของโลกในปี 1879

Portishead เป็นเมืองๆหนึ่งในประเทศอังกฤษที่อยู่ห่างไปทางตะวันตกของลอนดอนประมาณ 190 km. เมืองนี้มีประชากรประมาณ22,000คน และยกเลิกการใช้สัญญาณไฟจราจรไปตั้งแต่ปี 2009 ทั้งๆที่การจราจรยังคงมีอย่างคับคั่งแต่กลายเป็นว่าไม่มีสัญญาณไฟก็ยังดูปลอดภัยดี

นโยบายการยกเลิกสัญญาณไฟจราจรในเมือง Portishead เมืองที่เติบโตเร็วมากใช่ช่วงสิบปีหลังมานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่อง "การแก้ปัญหาจราจรที่หนาแน่นบริเวณแยกต่างๆ" ซึ่งเป็นผลพวงมาจากรประชาชนที่เดือดร้อนจากเรื่องรถติดทั้งๆที่จำนวนของประชากรและจำนวนรถยนต์ในเมืองนี้ก็เพิ่มขึ้นมาก และมีความหนาแน่ประมาณกว่า 2,000 คัน และคนเดินถนนกว่า 300 คนต่อชั่วโมง แต่ในแต่ละแยกของถนนกลับไม่มีอุบัติเหตุของรถยนต์หรือคนเดินถนน จากบทความบางช่วงบางตอนของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีการกล่าวถึงระบบการจราจรที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรว่า มีความพยายามที่จะให้ผู้ขับขี่ทั้งหลายหันมาใช้มารยาทและสามัญสำนึกเป็นหลักในการระแวดระวังพฤติกรรมการขับรถของตัวเองโดยเฉพาะตามแยกต่างๆ ว่าจะให้ทางผู้อื่นหรือจะเหยียบคันเร่งต่อไปเอง ในช่วงถนน Wyndam Way และ The Cabstand  นอกจากนั้นก็ยังมีแนวความคิดจากปากของผู้ขับเองเกี่ยวกับเรื่องไร้สัญญาณไฟจราจรว่า ระบบการคิดเรื่องไร้สัญญาณไฟจราจรมีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิดของผู้ขับที่ต้องการแข่งกับสัญญาณไฟว่าจะต้องผ่านแยกนั้นๆไปให้ได้ก่อนที่ไฟแดงจะเกิดขึ้น ระบบความคิดแบบนี้ทำให้ผู้ขับทุกคนถูกหล่อหลอมทางจิตวิทยาให้ละเลยเรื่องความปลอดภัยไปโดยอัตโนมัติและไม่ได้คำนึงถึงผลของอันตรายที่อาจจะตามมา

ถนนในเมือง Portishead ที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรผู้ขับรถต้องระวังรถเองจากทุกทาง

ถนนในเมือง Portishead ที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรผู้ขับรถต้องระวังรถเองจากทุกทาง

ถนนในเมือง Portishead ที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรผู้ขับรถต้องระวังรถเองจากทุกทาง

แม้คนข้ามถนนก็ไม่มีสัญญาณไฟ ทำให้ทั้งผู้ข้ามและคนขับต้องเคารพซึ่งกันและกัน

ในช่วงแรกเริ่มที่เอาสัญญาณไฟจราจรออกเป็นอย่างไร

ในช่วงเริ่มทดลอง เพื่อให้สามารถใช้ระบบไร้สัญญาณไฟได้อย่างยั่งยืนมีการใช้กล้องวงจรปิดตรวจสอบตามแยกต่างๆเพื่อดูผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของการไม่มีสัญญาณไฟจราจร จากการสัมภาษณ์ประชาชนที่ใช้ท้องถนนได้ความว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือผู้ขับรถยนต์ให้ความใส่ใจกับถนนและคนเดินถนนมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับตอนที่มีสัญญาณไฟจราจร และนอกจากนี้ยังทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณมากขึ้นด้วยเพราะสัญญาณไฟจราจรแต่ละอันมีค่าบำรุงรักษาประมาณ 1-2ล้านบาท

เพิ่มเติม

ใส่ใจจึงสงบ

สำหรับแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Naked Streets ที่สื่อความหมายว่าถนนหนทาง โดยปกติก็มีสัญญาณไฟจราจรเป็นของคู่กัน เมื่อไม่มีสัญญาณไฟจราจรแล้วมันก็เลยเหมือนคนที่ไม่ใส่เสื้อผ้า ต่อมาโครงการไร้สัญญาณไฟจราจรได้เกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆอีกของอังกฤษและยุโรป นอกจากเมือง Portishead แล้วรัฐบาลอังกฤษได้เริ่มโครงการนี้ในเมืองอืนๆด้วยโดสามารถลดจำนวนสัญญาณจราจรลงได้ 20% ของสัญญาณไฟที่มีอยู่ในขณะนั้น

ในเนเธอร์แลนด์ก็มีเช่นกัน

โครงการนี้เกิดขึ้นในเมือง Drachten ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีประชากรอาศัยอยู่ราว 50,000 คน และตอนนี้ก็ไม่มีสัญญาณไฟจราจรแล้ว แม้ว่าในเขตเมืองหรือตามแยกต่างๆจะมีความหนาแน่นของรถยนต์ประมาณ 22,000 คันต่อวันก็ตาม โดยส่วนใหญ่สัญญาณไฟจราจรจะถูกแทนที่ด้วยวงเวียนและการพัฒนาระบบทางเดินเท้า มีการเก็บสถิติของอุบัติเหตุในกรณีนี้ที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรในช่วง4ปี พบอุบัติเหตุทั้งหมด36ครั้ง และพบเพียง2ครั้งในช่วง2ปีท้าย(ใน4ปีนั้น) ตั้งแต่มีการนำสัญญาณไฟจราจรออกในปี 2006

แยกหนึ่งในเมือง Drachten ที่ไม่มีสัญญาณไฟแดง

แยกหนึ่งในเมือง Drachten ที่ไม่มีสัญญาณไฟแดง

ภาพจากมุมสูงของแยกในเมือง Drachten ที่ไม่มีสัญญาณไฟแดงแต่ก็มีรถวิ่งอย่างขวักไขว่

ภาพจากมุมสูงของแยกในเมือง Drachten ที่ไม่มีสัญญาณไฟแดงแต่ก็มีรถวิ่งอย่างขวักไขว่

แปลกที่ว่ายิ่งมีป้ายจราจรมากกลับยิ่งอันตราย

จากการตรวจสอบเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องพบความจริงที่ว่าถนนที่ไร้สัญญาณจราจรทำให้ผู้ขับรถยนต์ขับช้าลงและระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้นเพราะว่ากฎจราจรในบางจุดจะไม่ชัดเจน(เพราะไม่มีสัญญาณไฟ แดง เหลือง เขียว ที่บอกว่าให้ทำอะไร)แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุเมื่อไรจะยิ่งเสียเวลาในการหาว่าใครผิด กลายเป็นว่ายิ่งมีป้ายสัญญาณต่างๆหรือรวมถึงสัญญาณไฟจราจรกลับทำให้การเกิดอุบัติเหตุมีมากขึ้น จนมีคนบางกลุ่มนำไปเขียนล้อเลียนเป็นตลกฝรั่งว่า การอธิบายพฤติกรรมการขับขี่ของมนุษย์บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจเพราะว่าความตั้งใจของผู้รักษากฎจราจรหรือรัฐบาลต้องการให้การเดินทางบนท้องถนนเป็นไปอย่างปกติสุขจึงสร้างกฎขึ้นมา บางกฎเพื่อให้เข้าใจง่ายจึงสร้างเป็นป้ายขึ้นมาให้ผู้ขับขี่เห็น รวมไปถึงสัญญาณไฟจราจรด้วย แต่ยิ่งมีป้ายสัญญาณต่างๆมากเท่าไร ก็เหมือนราวกับคำสั่งหรือคำแนะนำที่บ่งชี้ว่า "ตรงไปได้เลย"(เหยียบได้ไม่ยั้งเลยนะ เพราะป้ายบอกให้ตรงไปได้ คนอื่นเส้นทางอื่นสิที่ต้องระวัง) หรือ "ไม่ต้องห่วงเลี้ยวขวาได้เลย" (ไม่ต้องระวังอะไรนะ ก็เพราะป้ายบอกให้เลี้ยวขวา) จนกลายเป็นว่าทำให้เบื้องลึกของจิตใจผู้ขับขี่ลดความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมรอบข้างลง ทำให้ป้ายสัญญาณเหล่านั้นยิ่งมีเยอะมากเท่าไรกลับยิ่งอันตรายมากเท่านั้น ฟังๆดูแล้วก็น่าจะจริง แต่การจะไม่ให้มีป้ายอะไรเลยก็คงเป็นไปได้ยากจึงจำเป็นต้องมีจุดสมดุลกันระหว่างการมีป้ายต่างๆรวมถึงสัญญาณไฟจราจรในสัดส่วนที่เหมาะสม 

การลดจำนวนสัญญาณไฟจราจรลง ทำให้ผู้ขับขี่ไม่รู้อย่างแน่นอนว่าทางที่กำลังขับอยู่นี้ปลอดภัยแน่รึเปล่า (เพราะถ้ามีไฟเขียวก็ขับตรงไปได้ดื้อๆไม่สนใจเลย) ผู้ขับขี่จึงต้องใช้สายตาและลดความเร็วลงโดยสามัญสำนึก อย่างที่กล่าวมาแล้วในเมือง Drachten และ Portishead  นอกจากจะมีการลดจำนวนสัญญาณไฟจราจรลงแล้วยังลดป้ายจราจรรวมถึงแผงกั้นต่างออกด้วย ความคิดนี้ก็เพื่อมุ่งหวังจะสร้างถนนที่มีทางเดินที่กว้างขึ้นและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป อย่างไรก็ตามก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยดังนั้นจึงต้องมีการปรึกษาหารือและจุดสมดุลของทั้งสองฝ่าย เพราะการทำให้สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งเลยอาจจะนำมาซึ่งอันตรายที่มองข้ามไปก็เป็นได้ พวกเราคนไทยเองและชาวChobrodไม่ว่าจะมีสัญญาณไฟหรือไม่มีสัญญาณไฟเราก็หันมาใช้ความระมัดระวังสิ่งแวดล้อมรอบข้างเท่าที่ทำได้เพื่อสร้างถนนที่น่าสัญจรขึ้นมา หนักนิดเบาหน่อยก็ยอมๆกันไปเพื่อสังคมที่สุขใจกันนะครับ

เพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
อ่านรีวิวรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์  เชิญที่นี่