ทำความรู้จักกับโอนลอย มีเอกสารและวิธีดำเนินการอย่างไร พร้อมข้อควรระวังสำหรับผู้ซื้อขายรถมือสอง คุณจะไว้ใจได้แค่ไหนที่จะยอมเซ็นสัญญาโอนรถที่คุณยังถือกรรมสิทธิ์อยู่ให้กับผู้อื่น
สำหรับการ ซื้อขายรถมือสอง การทำโอนลอยอาจเป็นเรื่องที่หลายคนเคยคุ้นเคยและเข้าใจว่าเป็นวิธีที่สะดวก แต่รู้หรือไม่? ว่ามันต้องแลกมากับความเสี่ยง ที่จะส่งผลด้านกฎหมายกับผู้ลงนามเอกสารสัญญาหรือเจ้าของรถนั่นเอง มาทำความเข้าใจกับการโอนลอยให้แน่ชัด ก่อนจะตัดสินใจจรดปากกาเซ็นเอกสารใด ๆ ลงไป เพราะกรณีตัวอย่างมีให้เห็นมาแล้ว
การโอนลอย มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินการเหมือนกับการโอนรถปกติ นั่นคือคนขายรถจะส่งต่อรถยนต์ให้กับผู้ซื้อไปพร้อม ๆ กับใบคำขอโอนรถยนต์และใบรับโอนรถยนต์ที่ต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนด้วย แนบไปพร้อมกับเอกสารสำคัญที่กำหนด เพียงแต่จะไม่ไปจดทะเบียนการโอนที่สำนักงานขนส่ง ส่วนนี้จะเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อรถยนต์ที่จะต้องไปทำเรื่องทั้งหมดเองที่สำนักงานขนส่งเพื่อให้การมอบโอนกรรมสิทธิ์สมบูรณ์
ส่วนมากการโอนลอยจะนิยมในการซื้อขายผ่านเต็นท์รถที่จะรับการโอนมาเมื่อมีการนำรถมาขายแต่ยังไม่มีผู้มาซื้อต่อ เต็นท์รถเองก็ไม่อยากทำเรื่องให้ยุ่งยากที่ต้องไปโอนรถที่ขนส่ง เพราะแต่ละวันมีการรับซื้อเป็นจำนวนมาก วิธีการโอนลอยจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เมื่อเวลาที่มีคนมาซื้อรถต่อเมื่อนั้นก็ค่อยไปจัดการโอนกรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้ออย่างสมบูรณ์
ในการโอนลอยมีเอกสารที่ใช้ดำเนินการเช่นเดียวกับการโอนรถทั่วไปประกอบไปด้วย
|
แตกต่างกันตรงที่การโอนลอยยังไม่ต้องเซ็นชื่อ ผู้ซื้อหรือผู้รับโอน จนกว่าจะมีผู้ซื้อไปครอบครองสิทธิ์อย่างเด็ดขาด และเป็นการเซ็นเอกสารที่ไม่ได้ไปดำเนินการที่กรมการขนส่งเหมือนกับการรับโอนจริง ซึ่งเอกสารทั้งหมดจะถูกเก็บครอบครองเอาไว้ที่เต็นท์รถหรือผู้ซื้อที่จะรับหน้าที่เป็นผู้ไปดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์เอง ดังนั้นรถที่ทำการซื้อขายตอนนี้จึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของเดิมอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะทำการรับเงินจากผู้ซื้อมาแล้วก็ตาม
ดูเพิ่มเติม
>> เช็คให้ชัวร์! ก่อนจะซื้อรถยนต์ 5 ข้อควรระวังเมื่อทำสัญญาซื้อขายรถยนต์
>> ออกรถใหม่ต้องรู้! ขั้นตอนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ละเอียดแต่ต้นจนจบ
เป็นเรื่องที่ผู้ทำการโอนลอยต้องควรทราบ และลองพิจารณาดูว่า ข้อดีที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นนั้น มันคุ้มดีแล้วหรือไม่กับข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่ทางผู้ซื้อรถไป ไม่ได้ไปทำการโอนรถเป็นชื่อของตนเองอย่างสมบูรณ์ถูกต้อง เจ้าของเดิมที่ยังปรากฏชื่อเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์อยู่จึงมีความเสี่ยงมากมายในเรื่องต่อไปนี้
ไม่เพียงแต่ผู้ขายเท่านั้นที่จะต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการโอนลอย ผู้ซื้อเองหากไม่ได้นำรถไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์เป็นของตนให้เรียบร้อย มีสิทธิ์เสียผลประโยชน์และมีความเสี่ยงที่จะเจอกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นดังนี้
ทั้งนี้หากไม่อยากให้มีเรื่องยุ่งยากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายในภายหลัง จำเป็นต้องมีสัญญาที่ระบุไว้ในการทำโอนลอยด้วยข้อความที่ชัดเจน และจงเก็บไว้เพื่อให้เป็นหลักฐานที่สำคัญเพื่อยื่นแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่อาจเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาในภายหลัง แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัยหรือรัดกุมร้อยเปอร์เซ็นต์ แนะนำว่าเมื่อมีการซื้อขายรถให้ดำเนินการที่ถูกต้องตามกระบวนการเป็นวิธีที่ดีที่สุด
กรมขนส่งออกมาเตือนให้หลีกเลี่ยงการโอนลอย
ทางกรมการขนส่งเองได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าให้หลีกเลี่ยงการโอนลอย ให้ไปจัดการทุกอย่างให้แล้วเสร็จที่กรมการขนส่ง เพราะนอกจากจะได้เอกสารและการมอบกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็นแล้ว ยังสามารถตรวจสอบรถที่ทำการซื้อขายได้ด้วยว่าเป็นรถที่ถูกกฎหมายหรือไม่? ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีแก่ทั้งสองฝ่ายและเป็นมาตรฐานที่ดีในกระบวนการซื้อขายรถ
ดูเพิ่มเติม
>> หากคิดจะโอนรถ สิ่งที่ต้องรู้คืออะไรบ้าง? มาดูกัน!
>> ไฟแนนซ์ไม่มีสิทธิ์! อย่าหลงเชื่อคำขู่ ทำความเข้าใจใหม่กับสิทธิของผู้เช่าซื้อรถยนต์ตามกฎหมาย
ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อ รถมือสอง สภาพดี เชิญเข้าดูที่ chobrod.com