Jazz ใหม่ ใส่ไฟฟ้า! Honda จับมือผู้ผลิตแบตเตอรีจีน

ตลาดรถยนต์ต่างประเทศ | 25 พ.ค 2561
แชร์ 1

Honda ได้บริษัทผลิตแบตเตอรีแดนมังกรร่วมทำงานไม่ใช่แค่ผลิตแบต แต่รวมเทคโนโลยีและการทดสอบด้วย

Honda Fit EV 2013

Honda Fit EV รุ่นแรกในปี 2013

Honda Motor จะร่วมมือกับ Contemporary Amperex Technology (CATL) ผู้ผลิตแบตเตอรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อพัฒนารถพลังไฟฟ้าที่มองว่าเป็นกุญแจสำคัญในกลยุทธ์ระดับโลก โครงการนี้จะพัฒนาแบตเตอรีและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในรถ EV รุ่นใหม่เป็นหลัก ซึ่งจะเปิดตัวในจีนและประเทศอื่นภายในครึ่งปีแรกของ 2020 ความพยายามนี้สะท้อนเทรนด์ที่เติบโตโดยการใช้ suppliers จากจีนสำหรับส่วนประกอบที่สำคัญ เพื่อการก้าวสู่ระดับโลกของรถ EV

ทั้งสองบริษัทจะผลิตรถยนต์บนตัวถัง Honda Fit/Jazz เป้าหมายคือสร้างรถ EV ราคาจับต้องได้เกิน 2 ล้านเยนนิดๆ (มากกกว่า 5.8 แสนบาท) พร้อมแบตก้อนเล็กและมีระยะเดินทาง 300 กม. หลังชาร์จแบตครั้งเดียว Honda ตั้งเป้าขายรถให้ได้มากกว่าปีละ 100,000 คัน เพื่อเป็นรถ EV ที่ขายดีที่สุดของบริษัท

Sylphy Zero Emission รถ EV ที่ Nissan Motor จะเปิดตัวที่จีนใช้แบตเตอรีของ CATL เช่นกัน ซึ่งได้ประโยชน์จากดีลที่น่าจะนำไปสู่ออร์เดอร์อีกมากเมื่อรถ EV วิ่งตามท้องถนนมากขึ้น

ดูเพิ่มเติม:
>> 
Honda Jade Compact MPV น่าขับที่คนไทยได้แต่มอง
>> 7 ปีที่หายไป! Honda Civic ซาลูนรีเทิร์นแดนผู้ดี

CATL

Contemporary Amperex Technology (CATL)

Honda วางแผนทำงานร่วมกับ CATL ในด้านอื่นด้วย อย่างการทดสอบสมรรถนะรถ เทคโนโลยีการผลิต และสเปคแบตเตอรี ตัวผู้ผลิตหวังว่าจะทำงานร่วมกับบริษัทจีนเรื่องรถ EV ในอนาคต

รถมินิและมินิแวนของ Honda มีรถไฮบริดใช้น้ำมันจากบริษัทร่วมทุนกับ Panasonic และ GS Yuasa ผู้ผลิตแบตเตอรีในญี่ปุ่น Honda กล่าวว่าตั้งใจจะรักษาความสัมพันธ์นี้ต่อไป

Honda ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งของรถ EV และไฮบริดรวมกันได้ประมาณ 65% ของยอดขายรวมภายในปี 2030

ดูเพิ่มเติม:
>> 
Honda แดนโรตีรอคิวขายจริง All New Amaze 2018 แล้วกลางเดือนนี้
>> ยักษ์วงการรถ Toyota-Honda-Nissan จับมือภาครัฐ ผลิตแบต Solid-State

Honda Jazz 2015

Honda Jazz 2015 รุ่นที่ขายในจีน

การรณรงค์ให้ใช้รถ EV ในกรุงเป่ยจิงช่วยเร่งการเติบโตของ CATL ตัวบริษัทพยากรณ์ว่าจะมีส่วนแบ่งในตลาดแบตเตอรีรถทั่วโลกมากที่สุดในปี 2018 โดยการส่งออกที่ 19% มากกว่า Panasonic ที่มีอยู่ 15.5% จากการอ้างอิงของสถาบันวิจัย Techno Systems Research ในกรุงโตเกียว CATL วางแผนขยายความสามารถในการผลิตเท่าตัวเป็นชั่วโมงละ 50 กิ๊กกะวัตต์ภายในปี 2020

Panasonic, LG Chem และ Samsung SDI จากเกาหลีใต้เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีแบตเตอรีในรถแต่เข้าสู่จีนทีหลัง ตลาดรถ EV ที่ใหญ่สุดในโลก ผู้ผลิตต่างประเทศโดนขัดขวางโดยนโยบายของรัฐบาลจีน ซึ่งสงเคราะห์รถ EV ที่ใช้แบตเตอรีของผู้ผลิตในประเทศ ทำให้บริษัทอย่าง CATL กับรถ BYD ได้เปรียบในตลาด

ผู้ผลิตรถของจีนทั้งสองอย่าง Beijing Automotive Group กับ Zhejiang Geely Holding Group และผู้ผลิตจากต่างประเทศ เช่น BMW ของเยอรมัน กำลังใช้แบตเตอรีจีน บังคับให้คู่แข่งจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต้องสู้เพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาด

ใครเป็นแฟน Honda Jazz ก็รอติดตามข่าวคราวกันต่อไปทาง chobrod ครับ เผื่อในอนาคตอาจได้ใช้รถตัวเล็กแต่ไม่ง้อน้ำมันก็เป็นได้