ต่อเวลา ลดค่าทางด่วน อาจณรงค์ 1 - บางนา เหลือ 25 บาท ถึงสิ้นปี 2564

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 22 มิ.ย 2564
แชร์ 2

โดยเป็นการร่วมปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานฯ โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 โดยการลดค่าผ่านทางพิเศษ ที่ด่านอาจณรงค์ 1 จากทางพิเศษฉลองรัช เข้าทางด่วนขั้นที่ 1 ไปบางนา ในอัตรา 25 บาท ต่อเที่ยว สำหรับรถทุกประเภท

ต่อเวลา ลดค่าทางด่วน อาจณรงค์ 1 - บางนา เหลือ 25 บาท ถึงสิ้นปี 2564

ด่านอาจณรงค์ 1 จากทางพิเศษฉลองรัช เข้าทางด่วนขั้นที่ 1 ไปบางนา เกี่ยวข้องกันถึง 3 ฝ่ายได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เดิมทีเคยประกาศปรับลดค่าทาง 25 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งใกล้ครบกำหนด ได้ประกาศต่ออายุลดราคาทางด่วนถึง 31 ธันวาคม 2564

อ่านเพิ่มเติม
ลดค่าทางด่วน ด่านอาจรณรงค์ 1 เพื่อไปบางนา เหลือ 25 บาท นาน 1 ปี

ต่ออายุลดราคาทางด่วน ถึง 31 ธันวาคม 2564​

  • รถ 4 ล้อ อัตราค่าผ่านทางพิเศษปกติ 50 บาท ปรับลดเหลือ 25 บาท
  • รถ 6 - 10 ล้อ อัตราค่าผ่านทางพิเศษปกติ 75 บาท ปรับลดเหลือ 50 บาท
  • มากกว่า 10 ล้อ อัตราค่าผ่านทางพิเศษปกติ 110 บาท ปรับลดเหลือ 85 บาท

ลดราคาทางด่วน ขาออกอย่างเดียวนะ

ขาออกผ่าน 2 ด่าน ลงบางนาเหลือ 25 บาท รวมทั้งเส้น 40+25 บาท โดยรถยนต์ส่วนบุคคล
ขาออกผ่าน 2 ด่าน ลงบางนาเหลือ 25 บาท รวมทั้งเส้น 40+25 บาท โดยรถยนต์ส่วนบุคคล 

จากประสบการณ์ตรง ทางด่วนเส้นนี้คือฉลองรัชที่เชื่อมต่อมาตั้งแต่วงแหวนรอบนอกฝั่งปทุมธานี จุดลงสุดท้ายที่ไม่เสียเงินค่าผ่านทางคือสุขุมวิท 50 หากไปต่อ ต้องเสียเงินลงแยกบางนาที่ปรับราคาเป็น 25 บาท รวมเส้นทาง 65 บาท หรือเชื่อมต่อไปเส้นทางบูรพาวิถี 

ขาเข้าผ่าน 2 ด่านขึ้นจากบางนา เสียเงิน 90 บาท โดยรถยนต์ส่วนบุคคล
ขาเข้าผ่าน 2 ด่านขึ้นจากบางนา เสียเงิน 90 บาท โดยรถยนต์ส่วนบุคคล
ขาเข้าผ่าน 2 ด่านขึ้นจากบางนา เสียเงิน 90 บาท โดยรถยนต์ส่วนบุคคล
ขาเข้าผ่าน 2 ด่านขึ้นจากบางนา เสียเงิน 90 บาท โดยรถยนต์ส่วนบุคคล 

สำหรับขาเข้า หากใครวิ่งขึ้นทางด่วนจากแยกบางนา เสียค่าผ่านทางแรก 50 บาท จากนั้นเลี้ยวซ้าย เพื่อขึ้นทางด่วน ฉลองรัช ยังต้องจ่ายค่าผ่านทาง 40 บาท รวมเป็น 90 บาท

ข้อมูลของทางด่วน ฉลองรัช

ชื่อเดิมคือ รามอินทรา - อาจณรงค์ ระยะทาง 18.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2539 ก่อสร้างโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางและแบ่งเบาการจราจรบนถนนรามอินทราและย่านใจกลางเมือง โดยไม่ผ่านถนนที่มีปัญหาการจราจรติดขัด ได้แก่ ถนนลาดพร้าว ถนนพระราม 9 ถนนเพชรบุรี และช่วยระบายการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร สำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าหรือออกจากเมือง

และในเส้นทาง รามอินทรา - อาจณรงค์ เริ่มจากถนนรามอินทรา บริเวณกิโลเมตรที่ 5.5 ลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว ถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม 9 แล้วเบนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับทางพิเศษศรีรัช ส่วน D ข้ามถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการ เลียบแนวคลองตัน ข้ามถนนสุขุมวิททางด้านตะวันออกของสะพานพระโขนง ไปบรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายบางนา - ท่าเรือที่บริเวณอาจณรงค์ (ปลายซอยสุขุมวิท 50) ทางพิเศษฉลองรัช แบ่งช่วงการเปิดให้บริการ ดังนี้

  1. ช่วงถนนรามอินทรา - ถนนลาดพร้าว เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2539
  2. ช่วงถนนลาดพร้าว - ถนนพระราม 9 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2539
  3. ช่วงถนนพระราม 9 - อาจณรงค์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2539
  4. ทางแยกต่างระดับพระราม - (เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช ส่วน D) เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2543

ส่วนต่อขยาย รามอินทรา - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552 เริ่มจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก บริเวณจตุโชติ ทิศใต้ของทางแยกต่างระดับลำลูกกา มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยกระดับข้ามถนนสุขาภิบาล 5 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนถึงถนนรามอินทราบริเวณกิโลเมตรที่ 5.5 เชื่อมต่อกัน

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2552 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทางพิเศษสายนี้ใช้ชื่อทางการว่า "ทางพิเศษฉลองรัช"

ตลาดรถมือสอง มีรถมากมายให้เลือกในราคาที่ถูกใจ

ningkung