รู้หมือไร่? Eco Car ในไทยต้องมีลักษณะอะไรบ้าง

ประสบการณ์ใช้รถ | 1 ธ.ค 2561
แชร์ 1

chobrod ขนทุกรายละเอียดจากภาครัฐว่าอีโคคาร์ในไทยมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร



ข้อเสนอมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายยานยนต์แห่งอนาคต โดย กระทรวงอุตสาหกรรม

Eco Car

Eco Car ไม่ใช่เรื่องใหม่บนท้องถนนไทยเท่าไรนัก แม้ว่าการส่งเสริมอย่างจริงจังจะยังไม่เป็นรูปธรรมเลยทีเดียว กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศตั้งแต่ปี 2556 แล้วว่าครม.เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามหลักสากล และ BOI ได้ออกประกาศรับรองการส่งเสริมในเวลาต่อมา แล้ว Eco Car มีคุณสมบัติกำหนดไว้อย่างไรบ้าง กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศไว้ดังนี้

1. Eco Car หรือ รถยนต์ประหยัดพลังงานตามหลักสากล สำหรับในรุ่นที่ 2 ต้อง "สะอาด ประหยัด ปลอดภัย" สอดคล้องกับทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์โลก สามารถเป็นได้ทั้งรถไฮบริด EV หรือรถที่ใช้พลังงานทดแทนก็ได้ และต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนทำการผลิต

  • รถยนต์ที่มีคุณสมบัติสะอาด คือรถยนต์ที่มีการปล่อยสารมลพิษไอเสียในระดับต่ำโดยผู้ซื้อรถยนต์สามารถทราบได้ว่า รถยนต์คันนั้นมีความสะอาดในระดับใด ได้จากการดูดาวในช่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมบน ECO Sticker ประกอบด้วย

  1. ดาว มอก.: รถยนต์ทุกคันที่วิ่งบนท้องถนนในประเทศไทย จะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานมลพิษของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดปริมาณสารมลพิษตามแนวทางของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เทียบเท่าได้กับ Euro 4 ดังนั้น รถยนต์ทุกคันต้องได้ดาว มอก. เป็นพื้นฐาน

  2. ดาว Euro 4, 5 และ 6: เป็นมาตรฐานมลพิษของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยมี Euro 6 เป็นมาตรฐานมลพิษที่มีเกณฑ์เข้มงวดที่สุด การจะได้ดาว Euro 4, 5 หรือ 6 นั้น ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสามารถนำเอกสารรับรองตามข้อกำหนดทางเทคนิคของ UN R83 มาแสดง

    ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R83 คือ การทดสอบมาตรฐานมลพิษของรถยนต์สำหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก และรถยนต์นั่งที่ดัดแปลงมาจากรถยนต์บรรทุก ซึ่งทางสหประชาชาติ (UN) ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงข้อกำหนดมาตรฐานมลพิษให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ล่าสุด เป็นระดับ Euro 6 (ดีที่สุด)) โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดให้รถยนต์ทุกคันจะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานมลพิษตาม มอก. (มาตรฐานบังคับ) ซึ่งเทียบได้กับมาตรฐาน Euro 4 ของสหประชาชาติ (UN)

    การทดสอบมาตรฐานมลพิษของรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินและรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินตาม UN R83 จะมีความแตกต่างกัน โดยในส่วนของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินนั้น จะประกอบด้วยการทดสอบ 7 ลักษณะ ดังนี้

    ลักษณะที่ 1 : ปริมาณสารมลพิษภายหลังการติดเครื่องขณะเย็น
    ลักษณะที่ 2 : ปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในขณะเครื่องยนต์เดินเบา
    ลักษณะที่ 3 : ปริมาณสารมลพิษจากห้องข้อเหวี่ยง
    ลักษณะที่ 4 : ปริมาณสารมลพิษไอระเหย มีค่ามาตรฐานของการทดสอบรับรองเฉพาะแบบการ
    ลักษณะที่ 5 : ความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ
    ลักษณะที่ 6 : การทดสอบปริมาณสารมลพิษจากรถยนต์ที่อุณหภูมิต่ำ (-7 °C)
    ลักษณะที่ 7 : การทดสอบระบบวินิจฉัยอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ

>>> ดูเพิ่มเติม: ราคา BMW-X1

  • รถยนต์ที่มีคุณสมบัติประหยัด: น้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมในรถยนต์ จะประกอบด้วยสารคาร์บอนเป็นหลัก โดยน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้ในเครื่องยนต์เพื่อเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์ หากการเผาไหม้ของน้ำมันเป็นไปอย่างสมบูรณ์ รถยนต์จะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมาทางท่อไอเสีย ในขณะที่หากเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์ แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) จะออกมาแทน เมื่อคำนึงถึงหลักการ “Carbon Balance” สามารถสรุปได้ว่า หากปริมาณคาร์บอนของมลพิษไอเสียมาก ก็หมายความว่า รถยนต์คันนั้น บริโภคน้ำมันมาก ในทำนองเดียวกัน หากปริมาณคาร์บอนของมลพิษไอเสียน้อย ย่อมหมายถึง รถยนต์คันนั้นบริโภคน้ำมันน้อยด้วยเช่นกัน

    ในส่วนของขั้นตอนการทดสอบอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องนำรถยนต์ทดสอบมาวิ่งบนลูกกลิ้งหรือแชสซีส์ไดนาโมมิเตอร์ในห้องปฏิบัติการ ณ ระดับความเร็วต่างๆ ตามช่วงเวลาที่กำหนด การวิ่งทดสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะในเมือง จำนวน 4 วัฏจักร ระยะเวลา 780 วินาที ส่วนช่วงที่สอง เป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะนอกเมือง จำนวน 1 วัฏจักร ระยะเวลา 400 วินาที การวิ่งรถยนต์ในสองสภาวะดังกล่าว จะมีการวัดปริมาณก๊าซ CO2 ของสภาวะในเมือง และนอกเมือง เมื่อได้ปริมาณก๊าซ CO2 แล้ว ระบบจะทำการวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำมันอ้างอิงของรถยนต์จากสูตรนี้

    น้ำมันเบนซิน

    FC = (0.118/D)[(0.848*HC) + (0.429*CO) + (0.273*CO2)]

    FC = อัตราการใช้เชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ชนิด “Positive Ignition Engine” ที่ใช้น้ำมันเบนซิน หน่วย:ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร

    HC = ปริมาณการปล่อยไฮโดรคาร์บอน หน่วย : กรัมต่อกิโลเมตร

    CO  = ปริมาณการปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ หน่วย : กรัมต่อกิโลเมตร

    CO= ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หน่วย : กรัมต่อกิโลเมตร

    D = ความหนาแน่น (Density) ของเชื้อเพลิงทดสอบ

    ข้อมูลอัตราการใช้น้ำมัน (หน่วย ลิตร/100 กิโลเมตร หรือ กิโลเมตรต่อลิตร) ซึ่งผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ UN R101 ในห้องปฏิบัติการ จะต้องประกอบด้วย 3 สภาวะ ได้แก่ สภาวะรวม (Combined) สภาวะในเมือง (Urban) และสภาวะนอกเมือง (Extra-Urban) โดยอัตราการใช้น้ำมัน

  • ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R101 คือ การทดสอบหาอัตราใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้ Gas Analyzer ซึ่งเป็น Flow Meter ที่มีความเที่ยงตรงที่สุด โดยการทดสอบจะกระทำในห้องปฏิบัติการที่ได้ควบคุมจะกระทำโดยการนำรถยนต์ทดสอบ มาวิ่งบนแชสซีส์ไดนาโมมิเตอร์ในห้องปฏิบัติการ ณ ระดับความเร็วต่างๆ ตามช่วงเวลาที่กำหนดในรูป

R101

การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะในเมือง (Urban Condition) จำนวน 4 วัฎจักร รวมระยะเวลา 780 วินาที ส่วนช่วงที่สอง เป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะนอกเมือง (Extra-Urban Condition) จำนวน 1 วัฎจักร รวมระยะเวลา 400 วินาที รวมเวลาที่ใช้ทั้งสิ้นเป็น 1,180 วินาที โดยความเร็วจริงของการขับเคลื่อนสามารถจะคลาดเคลื่อนจากความเร็วที่กำหนดไม่เกิน ±2 กม./ชม. ในระหว่างการขับเคลื่อนรถยนต์ทดสอบ จะมีการเก็บตัวอย่างการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ทดสอบซึ่งประกอบด้วย ไฮโดรคาร์บอน (HC), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อนำปริมาณการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ และความหนาแน่นของเชื้อเพลิงทดสอบ (Reference Fuel) มาใช้ คำนวณหาอัตราการใช้เชื้อเพลิงในแต่ละสภาวะต่อไป

เมื่อคำนวณหาอัตราใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของสภาวะในเมืองและนอกเมืองได้แล้ว ก็จะนำ ค่าอัตราการใช้เชื้อเพลิงทั้งสองสภาวะ พร้อมกับระยะทางเทียบเท่าของแต่ละสภาวะ ไปคำนวณอัตราใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม (Combined Condition) ต่อไป อัตราการใช้น้ำมันอ้างอิงที่ได้จากการทดสอบตามมาตรฐาน UN R101 มีลักษณะสำคัญดังนี้

  1. เป็นการทดสอบรถยนต์ภายในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025

  2. ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอ้างอิงในการทดสอบ (Reference Fuel)

  3. มีวิศวกรของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ/หรือ หน่วยงานความคุมทางเทคนิค (Technical Service) ที่ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิก UN WP29 กำกับดูแลตลอดการทดสอบ

  4. ได้รับการตรวจรับรองผลการทดสอบจาก สมอ. และ/หรือ ประเทศสมาชิก UN และมี Emark รับรองผล

2. Eco Car ที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนทำการผลิตต้องสร้างจากโครงรถที่นัยสำคัญต่างจากประเภทอื่น โครงรถในที่นี้หมายถึงตัวถังรถในโครงสร้างหลัก ไม่รวมกับส่วนประกอบเพิ่มเติมอย่างกันชน, โคมไฟ ในการพิจารณาความแตกต่างจะดูจาก Profile Shape ของรถที่ต้องแตกต่างอย่างชัดเจน

3. Eco Car ที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนทำการผลิตต้องมีข้อกำหนดทางเทคนิคดังนี้

  • อัตราการใช้เชื้อเพลิงไม่เกิน 4.3 ลิตร/100 กม. ตาม Combine Mode ที่ระบุไว้ในกฏระเบียบข้อ 101 ฉบับปรับปรุง 2 ของ UNECE (คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ) หรือสูงกว่า (Eco Car รุ่น 1 ไม่เกิน 5 ลิตร)
  • ผ่านมาตรฐานมลพิษ Euro 5 (จาก Euro 4 สำหรับ Eco Car รุ่น 1) ตามข้อกำหนดในกฏระเบียบข้อ 83(06) ฉบับปรับปรุง 4 ของ UNECE หรือสูงกว่า
  • มีปริมาณแก๊ส CO2 จากท่อไอเสียไม่เกิน 100 กรัม/1 กม. (ลดลงจาก 120 กรัม สำหรับ Eco Car รุ่น 1) ที่วัดตามหลักเกณฑ์ในกฏระเบียบข้อ 101 ฉบับปรับปรุง 2 ของ UNECE หรือสูงกว่า
  • มีคุณสมบัติป้องกันผู้โดยสาร กรณีเกิดอุบัติเหตุการชนด้านหน้ารถ ตามข้อกำหนดเทคนิคในกฏระเบียบข้อ 94 ฉบับปรับปรุง 1 ของ UNECE หรือสูงกว่า
  • มีคุณสมบัติป้องกันผู้โดยสาร กรณีเกิดอุบัติเหตุการชนด้านข้างรถ ตามข้อกำหนดเทคนิคในกฏระเบียบข้อ 95 ฉบับปรับปรุง 1 ของ UNECE หรือสูงกว่า
  • มีคุณสมบัติ Active Safety โดยอย่างน้อยต้องมีเบรค ABS ซึ่งได้ติดตั้งระบบคุมเสถียรรถด้วยไฟฟ้า (ESC) และต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเทคนิคในกฏระเบียบข้อ 13H ฉบับปรับปรุง 2 ของ UNECE หรือสูงกว่า

รถยนต์ที่มีคุณสมบัติปลอดภัย: อุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้ อันนำมาซึ่งความเสียหายต่อร่างกาย ทรัพย์สิน และระบบเศรษฐกิจ เพื่อลดความเสียหายดังกล่าว ภาครัฐจึงส่งเสริมให้รถยนต์มีการติดตั้งระบบที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารมีความปลอดภัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ได้แก่ มาตรฐานระบบเบรก (R13 หรือ R 13H) และระบบความปลอดภัยเชิงปกป้องเมื่อเกิดเหตุ (Passive Safety) ได้แก่ มาตรฐานปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าของตัวรถ (R94) และมาตรฐานปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านข้างของตัวรถ (R95)

ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R13H (The approval of passenger cars with regard to braking) ประกอบด้วยการทดสอบ 7 ลักษณะ ดังนี้

  1. การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ ขณะระบบเบรกเย็น (Type O) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดค่าความหน่วงและระยะทางในการหยุดรถ ในแต่ละสภาวะ ดังนี้
  • 1.1 สภาวะปกติที่ระบบเบรกทำงานอย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย การทดสอบรถยนต์ที่ 2 ระดับความเร็ว ได้แก่ ระดับความเร็วปกติ คือ 100 กม./ชม. และระดับความเร็วสูง (80% ของความเร็วสูงสุด แต่ไม่เกิน 160 กม./ชม.)
  • 1.2 สภาวะระบบเบรกวงจรซ้ายหรือขวา ไม่ทำงาน
  • 1.3 สภาวะหม้อลมช่วยเบรกไม่ทำงาน
  • 1.4 สภาวะระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS) ไม่ทำงาน
  • 1.5 สภาวะระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS)/ ระบบกระจายแรงเบรก (EBD : Electronic Brake Force Distribution) ไม่ทำงาน

ทั้งนี้ การทดสอบข้างต้น จะกระทำทั้งกรณีมวลบรรทุกสูงสุด (Laden) และมวลรถเปล่า (Unladen) รวมทั้ง การทดสอบในกรณีเครื่องยนต์ดับ

  1. การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ ขณะระบบเบรกร้อน (Type I) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบเบรกในสภาวะที่มีความร้อนสะสม ทั้งในกรณีความร้อนสะสมสูงและความร้อนสะสมไม่สูง โดยการจำลองสถานการณ์การเบรก จำนวนหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้เบรกร้อนขึ้น หลังจากนั้น จึงทดสอบการทำงานของระบบเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดค่าความหน่วงแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
  2. การทดสอบเบรกมือ เป็นการทดสอบความสามารถในการจอดรถบนพื้นเอียง ที่มีระดับความชันร้อยละ 20 (กรณีมวลบรรทุกสูงสุด) และระดับความชันร้อยละ 12 (กรณีมวลบรรทุกสูงสุด+Trailer) เพื่อวัดค่าแรงที่ใช้ในการเบรกจากมือและเท้า รวมทั้งความสามารถในการหยุดรถ ที่ระดับความเร็ว 30 กม./ชม. โดยใช้เบรกมือ
  3. การทดสอบระบบช่วยเหลือการเบรก (BAS : Brake Assist System) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบช่วยเหลือการเบรก (ระบบควบคุมแรงเบรก)
  4. การทดสอบระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ABS ซึ่งโดยหลักการแล้ว ประสิทธิภาพในการเบรกเมื่อ ระบบ ABS ทำงาน (ด้วยการจับ-ปล่อยเบรกเป็นบางช่วง) จะต้องไม่ส่งผลให้ความสามารถในการเบรกลดต่ำกว่าค่าที่กำหนด (ไม่ต่ำกว่า 75% ของแรงเบรกสูงสุด) ทั้งนี้ จะมีการทดสอบสมรรถนะของ ABS ในการหยุดรถบนพื้นผิวที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะ ดังนี้ 
  • 5.1 การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง (Hi-µ/ไฮ-มิว)
  • 5.2 การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำ (Low-µ/โลว์-มิว)
  • 5.3 การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูงไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำ
  • 5.4 การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง
  • 5.5 การหยุดรถในกรณี ล้อของรถด้านหนึ่งอยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง และล้อของรถอีกด้านหนึ่งอยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการทดสอบการทำงานของระบบไฟเตือน และสภาพการวิ่งของรถยนต์ในขณะเบรกในกรณีที่ระบบ ABS ไม่ทำงาน รวมทั้ง การทดสอบการทำงานของระบบ ABS ภายใต้การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility) อีกด้วย

  1. การทดสอบสัญญาณไฟฉุกเฉิน (Emergency Stop Signal) เป็นการทดสอบการให้สัญญาณไฟฉุกเฉินซึ่งจะต้องทำงาน หากมีการเบรกอย่างแรง (กรณีฉุกเฉิน)
  2. การทดสอบระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Stability Control System-ESC System) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ESC โดยการสร้างสถานการณ์การหลบหลีกกะทันหันในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 80 กม./ชม. ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติควบคุมการหักเลี้ยวรถยนต์ไปกลับอย่างกะทันหัน (องศาการเลี้ยวสูงสุดที่ 270 องศา) ทั้งนี้ รถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานจะต้องไม่เสียหลักและยังคงรักษาทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือ มีการเบี่ยงเบนได้ไม่เกินค่าที่กำหนด

ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R94 (Protection of the occupants in the event of a frontal collision) คือ การทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้องผู้ขับขี่ และผู้โดยสารจากการชนด้านหน้า จะเป็นการทดสอบโดยรถยนต์ทดสอบ ซึ่งมีหุ่นจำลอง (Dummy) ของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เคลื่อนที่โดยใช้เครื่องมือฉุดลาก ด้วยความเร็วระหว่าง 56–57 กม./ชม. พุ่งเข้าชนแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้แบบเยื้องศูนย์ด้านหน้า 40% ของรถยนต์ (พื้นที่ปะทะด้านคนขับคิดเป็นร้อยละ 40 ของความกว้างรถยนต์)

สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่คอ, โมเมนต์ดัดที่คอ, การรับแรงที่หน้าอก, Viscous Criterion, แรงกดที่หน้าแข้ง, การเคลื่อนตัวของข้อต่อหัวเข่า และการรับแรงที่ขา ดังนี้

ECO10

  • การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
  • การเคลื่อนที่ของพวงมาลัย (Steering Movement) ต้องไม่สูงเกินกว่า 80 มิลลิเมตรในแนวดิ่ง และต้องไม่เคลื่อนตัวไปในข้างหลังในแนวระดับ 100 มิลลิเมตร)
  • ต้องเปิดประตูได้อย่างน้อยหนึ่งประตูและสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
  • ต้องปลดล๊อกระบบ Restraint โดยใช้แรงไม่เกิน 60 นิวตัน

ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 (Protection of the Occupants in the event of a Lateral Collision) คือการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้อง ผู้ขับขี่จากการชนด้านข้าง จะเป็นการทดสอบโดยนาแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ (Deformable Barrier) เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่ง ในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กม./ชม. ภายหลังการชน จะมีการตรวจสอบดังนี้

สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่หน้าอก, Soft Tissue Criterion, แรงกดหน้าท้อง และแรงกดที่หัวหน่าว ดังนี้

ECO12

  • การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
  • ต้องสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
  • ต้องสามารถปลดล็อคระบบป้องกัน (Protective System) ได้
  • ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทาให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถจำแนกหรือทราบรายละเอียดการประหยัดพลังงานของรถแต่ละคันได้ง่ายขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันยานยนต์) กระทรวงการคลัง (กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) และสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ไทย และผู้ผลิต/ผู้นำเข้ารถยนต์รายบริษัท ได้ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแสดงค่า CO2 และความต้องการใช้งานระบบป้ายข้อมูลรถยนต์ โดยกระทรวงได้ร่วมมือกับ iNET พัฒนาระบบป้ายข้อมูลรถยนต์ให้เป็น Cloud Based Application อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ผลิตรถยนต์ ตั้งแต่ส่วนของการลงทะเบียนของผู้ประกอบการ การลงทะเบียนรถยนต์ จนถึงการสร้าง ECO Sticker เพื่อติดแสดงบนรถยนต์ทุกคัน ระบบป้ายข้อมูลรถยนต์ “ECO Sticker” จึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558 โดยที่กระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์อย่างยั่งยืน (Sustainable Mobility) ด้วยกลไก ECO Sticker และภาษี CO2 

ดูเพิ่มเติม
>> 
ส่อง 4 รถระดับ “ICON” จาก Honda ในงาน Motor Expo 2018 ที่คุณต้องไม่พลาดชม !
>> ส่อง 3 กระบะ “เบอร์รอง” แต่ความปลอดภัย “ดีที่สุด” บนถนนเมืองไทย​

Nissan

Nissan มี Eco Car ที่ขายดีระดับต้นๆ ของประเทศนับตั้งแต่ผลิตรถตามมาตรฐานรุ่น 1

Eco Car รุ่น 1 ที่ผ่านมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงตามมาตรฐาน (5.0) มีดังนี้ *อ้างอิงจากฐานข้อมูลของกระทรวง*

  • BMW 118i M Sport
  • BMW 520d
  • BMW i8
  • BMW X1
  • Honda Brio
  • Honda Brio Amaze
  • Lexus CT200h
  • Lexus IS300h
  • Mazda CX-3 1.5
  • Nissan Almera
  • Nissan March/Micra
  • Nissan Note
  • Peugeot 308 (อัตราเชื้อเพลิงผ่านรุ่น 2 แต่อัตรา COเกิน 100)
  • Suzuki Celerio
  • Suzuki Ciaz
  • Toyota Yaris
  • Toyota Yaris Ativ
  • Volvo S60 D3 (อัตราเชื้อเพลิงผ่านรุ่น 2 แต่อัตรา COเกิน 100)

Eco Car

Eco Car แพ็คคู่ของ Mitsubishi เพื่อชีวิตคนในเมือง

Eco Car รุ่น 2 ที่ผ่านมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงตามมาตรฐาน (4.3) มีดังนี้ *อ้างอิงจากฐานข้อมูลของกระทรวง*

  • BMW 320d
  • BMW 330e
  • BMW 530e
  • BMW 740Le
  • BMW i3
  • BMW i8
  • BMW Mini Cooper D Hatch
  • Honda Accord Hybrid
  • Lexus ES300h
  • Mazda2/Demio
  • Mercedes C350e
  • Mercedes E350e
  • Mercedes GLE500e
  • Mitsubishi Attrage/Mirage G4
  • Mitsubishi Mirage
  • Porsche Cayenne e-Hybrid
  • Porsche Panamera 4 e-Hybrid
  • Suzuki Swift 2018
  • Toyota Camry 2018 2.5HV
  • Toyota CH-R HV
  • Volvo S90 T8
  • Volvo XC60 T8
  • Volvo XC90 T8

Source: เรียบเรียงข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรม

ดูเพิ่มเติม
>> 
ข้อดีข้อด้อย ก่อนออก “อีโคคาร์”
>> ประเภทของรถยนต์มีแบบไหนบ้างนะ?

ต้องการซื้อรถกระบะมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้

แท็ก eco car