รถเครื่องดีเซลก่อมลพิษ “มากกว่า” รถเครื่องเบนซิน จริงหรือ ?

ประสบการณ์ใช้รถ | 5 ก.พ 2562
แชร์ 3

เมื่อวิทยาศาสตร์ได้บอกให้เราได้รู้ว่า รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลนั้นก่อให้เกิดมลพิษมากกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินถึง “สี่เท่า” และไม่ใช่ว่าสารพิษที่ออกมาจากเครื่องยนต์เบนซินจะไม่น่ากลัว แต่ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า ! คือสารพิษที่ทำอันตรายได้เฉียบพันซึ่งออกมาจากรถเครื่องยนต์ดีเซลนี่แหละ

รถเครื่องดีเซลก่อมลพิษ “มากกว่า” รถเครื่องเบนซิน จริงหรือ

รถเครื่องดีเซลก่อมลพิษ “มากกว่า” รถเครื่องเบนซิน จริงหรือ ?

ตื่นตัวกันทั่วโลกถึงอันตรายจากเครื่องยนต์ดีเซล 
เครื่องยนต์ดีเซลถูกกล่าวถึงในด้านลบเป็นอย่างมากทั่วโลก กับข้อหาการปล่อยมลพิษที่ผ่านการเผาไหม้ เป็นจำนวนมาก จนทำให้ภาครัฐฯ ในหลายประเทศถึงขนาดเริ่มแบนรถประเภทนี้กันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดในวงของการใช้งานหรือจำกัดเขตไม่ให้รถประเภทนี้ขับขี่ผ่านเข้าตัวเมือง ไปจนถึงวางแผนที่จะ “ห้าม” โดยเด็ดขาดในการผลิตหรือใช้งานรถประเภทนี้ ยกตัวอย่าง 4 เมืองใหญ่ของโลกที่ยุติการใช้รถยนต์หรือรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลภายในปี 2021 ได้แก่ กรุงปารีส มาดริด เอเธนส์ และ เม็กซิโกซิตี้  ไปจนถึงบางประเทศที่ “เล่นใหญ่” จัดหนักอย่างจริงจัง ด้วยการวางแผนห้ามการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ใช้น้ำมัน แล้วให้หันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทดแทนไปเลย ได้แก่ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, นอร์เวย์, สหรัฐอเมริกา และจีน ภายในปี 2040 

รถเครื่องดีเซลก่อมลพิษ “มากกว่า” รถเครื่องเบนซิน จริงหรือ
ทั่วโลกตื่นตัวสักระยะแล้ว แต่ไทยต้องรอให้สถานการณ์เป็นอย่างทุกวันนี้ถึงจะเริ่มหาทางแก้

ดีเซลที่ว่าดี แต่ตอนนี้มันไม่ใช่
การตื่นตัวในหลาย ๆ ประเทศแสดงให้เห็นว่า เครื่องยนต์ดีเซลนั้นเป็นอันตราย ถึงขนาดต้องเลิกใช้เลิกผลิตกันแบบหักดิบ ซึ่งข้อนี้อาจจะทำให้บางคนที่ใช้รถดีเซลอยู่มี “หัวเสีย” กันบ้าง จากที่ก่อนหน้า ก็เคยมีการรณรงค์ถึงใช้รถเครื่องยนต์ดีเซลเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่หรือ แล้วทำตอนนี้เกมส์มันเปลี่ยนไป ?

ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงกลางทศวรรษที่ 90 เครื่องยนต์ดีเซลถูกส่งเสริมให้ใช้งานด้วยความหวังที่ว่าเครื่องยนต์ประเภทนี้นั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ดีเซลเผาไหม้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์แบบเบนซิน ซึ่งมาจากที่ว่าเครื่องยนต์ประเภทนี้ใช้เชื้อเพลิงน้อยในการเผาไหม้ และใช้อากาศในการช่วยเผาไหม้มากกว่า  

โดยปรากฎว่าขณะที่เครื่องยนต์ดีเซลเผาไหม้นั้น ได้ปล่อยควันที่ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนอยู่ที่ 2.68 กิโลกรัม CO₂ ต่อลิตร หนาแน่นกว่าเครื่องยนต์เบนซินที่ปล่อยสารประกอบคาร์บอนอยู่ที่ 2.31 กิโลกรัม CO₂ ต่อลิตร แต่ปริมาณ CO₂ ที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ดีเซลมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าเมื่อถึงเวลาใช้งานจริง เพราะเฉลี่ยเครื่องยนต์เบนซินจะสูงถึง 200 กรัม CO₂ ต่อกิโลกรัม แต่เครื่องยนต์ดีเซลอยู่แค่ 120 กรัม CO₂ ต่อกิโลกรัมเท่านั้น

>> รวมโปรโมชั่นดีๆ จากค่ายรถยนต์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์นี้

>> FORD ส่ง RANGER ควงแขน EVEREST ช่วงชิงตลาดรถพันธุ์ดุเมืองไทย

เครื่องยนต์ดีเซลนี่แหละ ตัวดี ! ปล่อยก๊าซพิษอันตรายเฉียบพัน  
อย่างก็ตามถึงแม้ว่าดีเซลจะดูดีที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาน้อยกว่าก็ตาม แต่เมื่อมองลึกไปกว่านั้นที่สารเป็นอันตรายต่อมนุษย์ทันทีซึ่งไม่ใช่ CO₂ แต่เป็นสารที่เกิดมาจากความร้อนของเครื่องยนต์ที่เรียกว่า ไนโตรเจนออกไซด์ (NOₓ) ส่วนที่เป็นพิษนั่นคือ โตรเจนไดออกไซด์ที่เป็นพิษ (NO₂), ไนตรัสออกไซด์ (N₂O) และไนตริกออกไซด์ (NO) ในรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินสามารถจะ “เผาไหม้ได้สะอาดกว่า” ด้วยเครื่องช่วยฟอกไอเสียแบบสามทาง แล้วกรองมลพิษที่ปล่อยออกมาโดยเฉลี่ยน้อยกว่ารถเครื่องยนต์ดีเซลถึง 30% เลยทีเดียว ! อีกทั้งส่วนประกอบของไนตริกออกไซด์ (NO) ที่ว่านี้แหละ ในระยะยาวยังเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาระบบทางเดินหายใจของคนที่สูดดมเข้าไปอย่างมีนัยสำคัญ จากอนุภาคของฝุ่นละเอียด (PM 2.5) ถ้าเกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลไม่สามารถยับยั้ง (กรอง) ได้ ก็เป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดมะเร็ง รวมไปถึงมีผลต่อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันอีกด้วย 

รถเครื่องดีเซลก่อมลพิษ “มากกว่า” รถเครื่องเบนซิน จริงหรือ
ควันพิษดีเซลอันตรายต่อคนเฉียบพลันกว่า

ถึงแม้อุปกรณ์ที่มากับรถเพื่อช่วยกรองที่ส่วนของไอเสีย จะช่วยทำหน้าที่ในการกรองฝุ่งละอองไอเสีย PM ได้กว่า 90% แต่กระนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพตัวรถด้วย เมื่อรถทุกคันผ่านเวลาและการใช้งานไปเรื่อย ๆ ความสามารถในการกรองฝุ่นเหล่านั้นก็จะลดหลั่นลงไป แต่ในขณะเดียวกันการเผาไหม้และก๊าซพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ยังคงเหมือนเดิม จึงทำให้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นสาเหตุสำคัญในการผลิตก๊าซพิษ ไนตริกออกไซด์ (NO) 

ระดับมาตรฐานไอเสียที่ดีขึ้น แต่มลพิษต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น 
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เตรียมเร่งรัดให้การผลิตรถยนต์ใหม่ในประเทศต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน Euro 5 ภายใน 2 ปี ซึ่งในปัจจุบันเป็น Euro 4 แต่ที่น่าวิตกนอกจากที่คนไทยจะต้องรอถึง 2 ปีกับการปรับมาตรฐานไอเสียบทนี้แล้วนั้น เมื่อมองละเอียดจะพบว่ามาตรฐานของ Euro 4 กับ Euro 5 แทบจะไม่แตกต่างกันเท่าไรเลย ต่อให้รอมาตรการสัมฤทธิ์ผลขึ้นมา รถใหม่ที่วิ่งบนถนนเป็น Euro 5 กันหมด ก็ไม่มีอะไรมาการันตีว่าหมอกฝุ่นควันในเมืองไทยจะดีขึ้นแค่ไหน อีกทั้งปัญหาจริง ๆ นั้นเกิดมาจากรถยนต์เก่าที่วิ่งกันเป็นส่วนใหญ่บนถนนมากกว่า รถแต่ละคันยังอยู่ในระดับมาตรฐาน Euro ที่ปล่อยมลพิษสูงมากอยู่ดี เล่นเอาเวลาที่ว่าไปจริงจังกับการณรงค์ให้คนเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าที่มลพิษเป็นศูนย์ไปเลยจะดีกว่าไหม ? 

รถเครื่องดีเซลก่อมลพิษ “มากกว่า” รถเครื่องเบนซิน จริงหรือ
เปรียบเทียบมาตรฐานไอเสีย Euro 4, 5 หรือ 6 ค่าแทบไม่กันเลย 

แต่ถ้ายังต้องการให้เครื่องยนต์ดีเซลสามารถใช้งานได้ตามมาตรฐานไอเสียที่ว่าเหล่านี้ ก็เป็นหน้าที่ที่ทางผู้ผลิตที่ต้องหันไปใช้อุปกรณ์สำหรับการกรองฝุ่นจิ๋ว แต่นั่นก็อาจเกิดปัญหาอีกได้เพราะเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ มักจะอุดตันได้ง่ายเมื่อใช้รถถูกใช้งานเป็นประจำ 

เมื่อปัญหามักท้าทายไปกับการแก้ไข ต้องค่อย ๆ แก้กันไปตามสถานการณ์ แต่ที่น่าเป็นห่วงแทนคนเมืองก็คือ ดูเหมือนว่าภาครัฐฯ จะยังคง “หลงทาง” ในการแก้ปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เอาแค่เรื่องมลพิษจากรถยนต์ก็ยังดูเหมือนไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันพอให้เห็นภาพ ซึ่งหลายคนต่างรู้และใฝ่ฝันที่จะเห็นเมืองไทยกลับมามี “อากาศสะอาด” อีกครั้ง จากการวางแผนอะไรที่ดีกว่าแค่ “ฉีดน้ำขึ้นฟ้า” ไปวัน ๆ จริงจังและเด็ดขาดเหมือนเหล่าประเทศที่กล่าวมาข้างต้น 

รถเครื่องดีเซลก่อมลพิษ “มากกว่า” รถเครื่องเบนซิน จริงหรือ
การแก้ไขปัญหามลพิษน่าจะมีอะไรที่ดีกว่าแค่ ฉีดน้ำขึ้นฟ้า

ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เพราะนิยมกระบะดีเซล 
แต่หนึ่งเรื่องที่ต้องทำใจยอมรับนั่นก็คือ ประเทศเราเป็นเพียงแค่ประเทศกำลังพัฒนา อาจจะต้องค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป เริ่มตอนนี้ก่อนที่ง่ายที่สุดก็คือการ จำกัดการใช้รถเครื่องยนต์ดีเซล อาจจะดูย้อนแย้งกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสักหน่อย และยังเป็นอุตสาหกรรมหลักของเมืองไทยอีกด้วยในเรื่องการผลิตรถยนต์ดีเซลเพื่อส่งออก อีกทั้งตลาดรถในบ้านเรา คนไทยส่วนมากใช้รถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลซึ่งอยู่ในรถกระบะ ประเภทรถที่ได้รับความนิยมสูงสุดของคนไทย เอาง่าย ๆแค่ลองมองที่ค่ายรถขายดีสูงสุดเป็นอันดับสองของประเทศอย่างค่ายกระบะอย่าง Isuzu ที่ขายได้ปี ๆ หนึ่งเป็นแสนคัน และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ค่ายนี้ก็มีแต่รถเครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้น ! ส่วนอันดับหนึ่งอย่าง Toyota ก็เช่นกัน ในประเภทรถกระบะที่ขายได้เป็นส่วนใหญ่ของค่าย ก็เป็นกระบะดีเซลด้วยเช่นกัน นั่นยังไม่นับค่าย Ford, Mitsubishi หรือว่า Nissan ที่เมื่อรวมจำนวนของรถกระบะดีเซลที่ขายได้ปี ๆ แล้ว ก็ไม่ใช่จำนวนน้อย ๆ เลย 

สรุปก็คือ ใช่ ! ที่เครื่องยนต์ดีเซลอาจปล่อยมลพิษโดยรวมน้อยกว่า แต่มลพิษที่เป็นอันตรายต่อคนหรือเรา ๆ ท่าน ๆ แบบเฉียบพันนั้นกลับมีมากกว่า และเป็นถึงแม้รถจะผ่านมาตรฐานไอเสียดีแค่ไหนผ่านการใช้งานรถไปมลพิษก็พุ่งสูงได้อยู่ดี “กั้นหรือกรองได้ไม่หมด” แต่จะให้บอกว่าทุกคนเปลี่ยนจากดีเซลมาเป็นเบนซินมันก็ดูแก้ไขที่ก้าวเกินไป กว่าจะได้อากาศที่ปลอดภัยกลับมาสูดได้เต็มปอดอาจไม่ใช่เวลาอันใกล้ น่าจะถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ที่ทุกคนจะมองหารถที่สะอาด “มากกว่า” ไม่ใช่แค่เครื่องยนต์เบนซิน จะเป็นไฮบริดหรือรถไฟฟ้า EV ไปเลยได้ก็ยิ่งดี และเมื่อเกิดปัญหาแบบนี้ค่ายรถต่าง ๆ เชื่อว่าตอนนี้ ต้องกำลังง่วนอยู่กับการวางแผนเพื่อเตรียมปล่อยรถรุ่นใหม่ ๆ มารองรับความต้องการของคนที่จะซื้อรถที่ปล่อยมลพิษน้อยกว่า ยิ่งปัญหาฝุ่นควันมากเท่าไร ความเปลี่ยนแปลงในตลาดรถในเมืองไทยน่าจะเริ่มชัดเจนขึ้น ก่อนที่ประเทศไทยกว่าจะกลับมาสูดอากาศได้เต็มปอดอีกครั้ง คุณหรือลูกหลานจะไม่มีวันได้เห็น  

ดูเพิ่มเติม

>> ปัญหา “ฝุ่น PM 2.5” ทั่วกรุงเทพฯ แปลกใจทำไมคนไทยไม่รณรงค์ใช้รถโดยสารแทนรถส่วนตัว ?!

>> ก.อุตฯเร่งบังคับมาตรฐานรถยนต์ Euro5 หวังแก้ปัญหาฝุ่น