รถไฟฟ้า EV คืออะไร? พร้อมข้อดี และข้อเสียที่ต้องรู้!!

ประสบการณ์ใช้รถ | 2 ก.พ 2562
แชร์ 13

รถไฟฟ้า หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อรถ EV ที่ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี รวมถึงยังมีส่วนช่วยในเรื่องของฝุ่นพิษอีกด้วย วันนี้ Chobrod เลยจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกับรถ EV รวมถึงข้อดี และข้อเสียที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถ EV กันค่ะ

รถยนต์ไฟฟ้า EV คืออะไร

รถยนต์ไฟฟ้า EV คืออะไร

รถยนต์ไฟฟ้า ev car คืออะไร

รถยนต์ไฟฟ้า EV คืออะไร ?

รถ EV มีชื่อเรียกแบบเต็มๆ ว่า Electric Vehicle แปลได้อย่างตรงตัวว่ารถไฟฟ้า ค่ายรถยนต์หลายค่ายไม่ว่าจะค่ายเล็กหรือค่ายใหญ่ต่างก็เริ่มปรับตัวจากการใช้เครื่องยนต์ดีเซล หรือเครื่องยนต์เบนซินเพียงอย่างเดียว มาพัฒนาเครื่องยนต์ และแบตเตอรี่ไฟฟ้าให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะยังมีการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และเบนซินอยู่ แต่ทิศทางของรถ EV ก็เติบโตมากขึ้นเช่นกัน

รถยนต์ไฟฟ้า EV คือ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป

รถยนต์ไฟฟ้า EV คือ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป

ทำความรู้จักกับรถยนต์ EV

รถ EV คือ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป โดยรถยนต์ EV จะใช้พลังจากไฟฟ้าแทนการใช้มันน้ำหรือพลังงานอื่นๆ โดยระบบรถไฟฟ้าจะเก็บพลังงานเอาไว้ในแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้ และแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อนรถ อนึ่งรถยนต์ EV ไม่ต้องมีกลไกลอะไรที่มากเหมือนขับเคลื่อนอย่างเช่นรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ซึ่งต้องใช้การจุดระเบิดเผาไหม้ในการขับเคลื่อน ทำให้เครื่องยนต์เงียบ และไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงาน

ดูเพิ่มเติม
>>
 รถไฮบริดคืออะไร?
>>
 รถยนต์ ‘Mild Hybrid’ในไทย ความฝันที่กำลังจะเป็นจริง

รถยนต์ EV แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท จากภาพเป็นคอนเซ็ปต์คาร์รถไฟฟ้าจากค่าย Honda

รถยนต์ EV แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท จากภาพเป็นคอนเซ็ปต์คาร์รถไฟฟ้าจากค่าย Honda

รถยนต์ไฟฟ้าสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามชื่อเรียก และกลุ่มของการใช้พลังงานในการขับเคลื่อน ตั้งแต่การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว จนถึงการใช้ระบบไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวในการขับเคลื่อน และยังมีรถยนต์ชนิด Fuel Cell Vehicles (FCV) ซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน และคาดว่าจะเข้ามาถึงตลาดได้ภายในเร็ววัน ในปัจจุบันรถยนต์ EVสามารถแบ่งตามเทคโนโลยีออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV) เป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานผสมผสานระหว่าง เชื้อเพลิงทั่วไป และพลังงานไฟฟ้าจากการแบตเตอรี่ รถยนต์ประเภทนี้จะมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่าแบบใช้เครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเมื่อมีการเหยียบเบรกรถ บางส่วนของพลังงานจะถูกจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และพลังงานที่เก็บไว้สามารถใช้ในภายหลังเพื่อการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมกับการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้

2. รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) รถยนต์ประเภทนี้มีระบบ น้ำมันเชื้อเพลิง และระบบไฟฟ้าเช่นเดียวกับรถยนต์ไฮบริด แต่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้จากภายนอก หรือ Plug-in ทำให้เมื่อเสียบชาร์จพลังงานแล้วรถก็สามารถวิ่งไปได้ในระยะทางที่มากกว่าระบบไฮบริดแบบเดิม และแบตเตอรี่ที่ใช้ ยังสามารถชาร์จไฟเพิ่มเพื่อกักเก็บประจุได้ตามต้องการ และเมื่อแบตเตอรี่หมดลงรถจะทำงานคล้ายกับระบบแบบไฮบริด (HEV )

รถไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนในระยะทางไม่ไกล

รถไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนในระยะทางไม่ไกล

แบบจำลองแบตเตอรี่และเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้า EV

แบบจำลองแบตเตอรี่และเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้า EV

3. รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวในการขับเคลื่อน (Plug-in Electric Vehicles : PEVs) รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้จะคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) เพียงแต่จะมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักเพียงอย่างเดียว เมื่อแบตเตอรี่หมดลงจะต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จประจุใหม่ สามารถแยกตามการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ ได้ดังนี้

3.1 รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้วิ่งในระยะสั้น หรือในละแวกใกล้เคียง มีช่วงการขับขี่ต่ำและทำงานที่ความเร็วต่ำ ตัวอย่างเช่น GEM Electric Motorcar

3.2 รถยนต์ไฟฟ้าประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) รถยนต์ประเภทนี้ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงาน ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 100% จึงต้องมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ และสามารถวิ่งได้ระยะทางไกลต่อการชาร์จต่อหนึ่งครั้ง ทั้งนี้รถยนต์(Plug-in Electric Vehicles : PEVs) จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในจึงไม่ทำให้เกิดสารก่อมลพิษในขณะขับเคลื่อนหรือที่เรียกว่า Zero Emission แต่มีข้อเสียอยู่ที่มีระยะทางการวิ่งจำกัด โดยระยะทางในการขับขี่จะขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในการใช้งาน และเส้นทางวิ่ง

3.3 รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle – FCEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อน และใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) โดยเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากการเติมเชื้อเพลิงภายนอก โดยไม่มีการปล่อยมลพิษ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์โดยตรง จะมีเพียงการปลดปล่อยน้ำเท่านั้น ในปัจจุบันรถยนต์แบบ FCEV มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าจะมีการเติบโต รวมถึงเข้าสู่ตลาดได้กันในเร็ววัน

รถยนต์ไฟฟ้าจาก Mecedes-Benz EQ/ eMobility

รถยนต์ไฟฟ้าจาก Mecedes-Benz EQ/ eMobility

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับรถยนต์ EV กันไปแล้ว ต่อมา Chobrod จะพามาดูข้อดี และข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้า EV กันบ้างค่ะ

ข้อดีของรถยนต์ EV

1. ค่าเชื้อเพลิงมีราคาไม่แพง แม้ว่ารถไฟฟ้า EV ที่อยู่ในตลาดปัจจุบันนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร แต่เมื่อเทียบกับรถที่ใช้น้ำมัน จะเห็นว่าแนวโน้มราคาของรถไฟฟ้า EV เริ่มจะถูกลงเรื่อยๆ และเนื่องจากพลังงานของรถไฟฟ้า EV มาจากการชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าไปที่ตัวแบตเตอรี่ ทำให้อัตราค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิงของรถไฟฟ้าก็ถูกกว่าเชื้อเพลิงน้ำมันเช่นกัน 2. เครื่องยนต์ทำงานเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน เนื่องจากกลไกในการขับเคลื่อนไม่มาเท่ารถที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการขับเคลื่อน ซึ่งต้องใช้การจุดระเบิดเพื่อเผาไหม้จึงจะสามารถขับเคลื่อนได้ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้า EV มีเสียงที่เงียบกว่ารถที่ใช้น้ำมันเป็นพลังงานเชื้อเพลิง

3. รักษาสิ่งแวดล้อม สืบเนื่องมาจากข้อ 2 ด้วยการที่ไม่ต้องจุดระเบิดเพื่อขับเคลื่อน ทำให้รถยนต์แบบ EV ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เพราะไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงานอย่างเช่นเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป

ค่ายรถซุปเปอร์คาร์เองก็เริ่มหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้เชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน

ค่ายรถซุปเปอร์คาร์เองก็เริ่มหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้เชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน

ข้อเสียรถยนต์ EV 

1. ตัวรถยนต์มีราคาสูง แม้ว่าจะมีอัตราค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิงที่ต่ำ แต่กระบวนการผลิตจนถึงการวางจำหน่ายจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง ทำให้ตัวรถมีราคาสูงตามไปด้วย ในขณะที่เมื่อมีราคาสูงทำให้จำนวนผู้ใช้งานน้อยลงไปด้วย ดังนั้นราคาของรถยนต์ EV จึงเป็นไปตามกลไกการตลาดที่เมื่อความต้องการจากผู้ใช้น้อย การผลิตจึงน้อยตาม ทำให้ราคาของรถยนต์ EV สูงไปด้วย

2. ระยะทางจำกัด และมีสถานีให้บริการชาร์จไฟน้อย เนื่องจากรถไฟฟ้า EV จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากแบตเตอรี และแบตเตอรี่ก็ มีข้อจำกัดในการใช้งานในเรื่องของประจุไฟฟ้า ซึ่งส่งผลต่อระยะทางในการขับขี่ที่ถูกจำกัดลงไปด้วย แน่นอนว่ารถไฟฟ้า EV เป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่ ทำให้ยังมีสถานบริการชาร์จไฟก็มีน้อยตามไปด้วย ทั้งในประเทศไทย และหลายๆ ประเทศ ก็ยังมีสถานบริการชาร์จไฟที่อาจจะไม่พียงพอต่อการใช้งาน

ในปัจจุบันแท่นชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV ในบ้านเริ่มมีความหลากหลาย และมีจำนวนมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันแท่นชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV ในบ้านเริ่มมีความหลากหลาย และมีจำนวนมากยิ่งขึ้น

3. ระยะเวลาในการชาร์จไฟที่ถี่ และใช้เวลาในการชาร์จนาน ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาเรื่องของแบตเตอรี่ และการชาร์จประจุอยู่ตลอด แต่ปัญหาของรถไฟฟ้า ก็ยังคงเป็นเรื่องของระยะเวลาในการชาร์จอยู่ดี เพราะการชาร์จไฟฟ้าไม่เหมือนการเติมน้ำมันที่เติมเพียง 2-3 นาที ก็ได้น้ำมันเต็มถัง ในขณะที่รถไฟฟ้าต้องใช้เวลาชาร์จนานกว่า 30 นาที หรือในบางรุ่นอาจใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว โดยประจุจะเต็มเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่อัดประจุ ขนาด และประเภทของแบตเตอรี่อีกด้วย

4. ตัวเลือกยังน้อย อย่างที่บอกไปว่ารถไฟฟ้ายังเป็นยานพาหนะที่ใหม่อยู่ จึงมีค่ายรถยนต์เพียงไม่กี่ค่ายเท่านั้นที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV ออกสู่ตลาด รวมถึงมีพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นต่อค่ายรถแต่ละค่าย แม้ว่าในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไปเราจะเห็นค่ายรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV เพิ่มมากขึ้น จากที่แต่แต่เดิมมีเพียง Mitsubishi, Nissan, Chevrolet, Tesla, BMW, BYD และ Renault ที่ผลิตรถไฟฟ้า โดยจะเน้นเป็นรถยนต์ City Car และรถ SUV เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงเน้นการขับขี่ในเมืองมากกว่าการขับที่ทางไกล ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าในปี 2562 จะมีรถยนต์ไฟฟ้า EV จากค่ายไหนเพิ่มเติมหรือไม่ แล้วทิศทางของตลาดรถไฟฟ้า EV จะเป็นอย่างไร

ดูเพิ่มเติม
>> ส่องนอร์เวย์ ความเป็นไปได้รถยนต์ไฟฟ้า 100% ใน 6 ปีข้างหน้า
>> ฝุ่นพิษอาจส่งผล ดัน“ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า” สดใส

 

Brand รถยนต์ไฟฟ้า EV ทั่วไป

ถึงตอนนี้ ค่ายรถยนต์ต่างๆ เริ่มเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ากันมากมาย ไปสำรวจสถานการณ์ของพาหนะแห่งอนาคตกัน...

Tesla ปัจจุบันแบรนด์ Tesla คือรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุด รวมทั้งมีรถยนต์รุ่น Tesla
Model S P100D ที่สร้างสถิติวิ่งได้ไกลสุด 900 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
Nissan Leaf 2018 หากถามถึงแบรนด์รถยนต์เอเชียที่โดดเด่นที่สุด ต้องยกให้ Nissan Leaf ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีรองจาก Tesla เท่านั้น
FOMM one แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติญี่ปุ่น-ไทย เปิดตัวอย่างจริงจังในปีนี้ โดยตั้งเป้าการผลิตในระดับ 50,000 คัน ภายใน 5 ปี
MINEรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทย ผลิตรถรุ่นต้นแบบออกมา 3 รุ่น คือ MPV EV,City EV และ Sport EV โดยจะขึ้นไลน์ผลิตจริง และพร้อมจัดจำหน่ายในปี 2562
Europe Cars แบรนด์รถยนต์ฝั่งยุโรปทยอยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองเช่นกัน อาทิ BMW i3, Mercedes-Benz รุ่น EQC, Jaguar I-Pace, Audy e-tron หรือแม้แต่ซูเปอร์คาร์อย่าง Porche ก็เตรียมเผยโฉมรถยนต์ไฟฟ้า Porche Taycan ในปีหน้าเช่นกัน

รถยนต์ไฟฟ้า EV คืออะไร

รถไฟฟ้า EV เป็นอีก 1 ทางเลือกสำหรับยานพาหนะรักษ์โลกอีกด้วย

รถไฟฟ้า EV เป็นอีก 1 ทางเลือกสำหรับยานพาหนะรักษ์โลกอีกด้วย

Support  รถยนต์ไฟฟ้า EV ทั่วไป


ถือเป็นของใหม่ และยังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน หลายประเทศจึงมีแผนส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเชิงรูปธรรมที่แตกต่างกันไป

  • ที่เยอรมันมีการงดเก็บภาษีรถยนต์รายปีเป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะเพิ่มเป็น 10 ปีในเวลาต่อมา พร้อมทั้งช่วยชดเชยเงินในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับใช้ส่วนตัวไว้สูงสุดถึง 5,000 ยูโร (หรือราว 188,600 บาท) แต่จะลดลงปีละ 500 ยูโรทุกปีจนกว่าจะหมด
  • ที่นอร์เวย์ไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 25% ของราคารถ และหากใครที่ใช้รถไฟฟ้าจะไม่เก็บค่าทางพิเศษ ไม่เก็บค่าจอดรถในที่จอดของรัฐ รวมทั้งใช้งานบัสเลนได้ในชั่วโมงเร่งด่วน และนำรถขึ้นเรือเฟอร์รี่ได้ฟรี
  • เจ้าหน้าที่ตำรวจในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เลือกที่จะเปลี่ยนพาหนะล็อตใหม่เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับประชาชน
  • ลดภาษีการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 14 ล้านวอน (หรือราวๆ 416,000 บาท) พร้อมมีส่วนลดค่าที่จอดรถและทางด่วน นอกจากนี้ทางรัฐยังมีแผนเพิ่มสถานีชาร์จแบบเร็วให้มีทุกๆ 2 กิโลเมตรในกรุงโซล และอีก 30,000 สถานีชาร์จแบบช้าเพื่อนำไปติดตั้งบริเวณอพาร์ตเม้นต์กว่า 4,000 แห่งทั่วประเทศ
  • ทางการจีนมีเงินอุดหนุนสำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเงินชดเชยสำหรับผู้ที่จะเปลี่ยนจากรถยนต์ส่วนบุคคลไว้ราว 9,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ(หรือราว 350,000 บาท) พร้อมทั้งตั้งเป้าที่จะสร้างจุดชาร์จไฟฟ้าให้ได้ 5ล้านจุดภายในปี 2020
     

Application รถยนต์ไฟฟ้า EV ทั่วไป

Application รถยนต์ไฟฟ้า EV ทั่วไป

Application รถยนต์ไฟฟ้า EV ทั่วไป

ที่เมืองไทยเราเอง มีตัวช่วยสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทยเช่นกัน เมื่อการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA จัดทำแอปพลิเคชั่นที่ชื่อ MEA EV คอยอำนวยความสะดวกให้กับคนขับรถยนต์ไฟฟ้า มีความสามารถดังนี้

1. แสดงตำแหน่งสถานีชาร์จไฟจากหลายหน่วยงาน อาทิ การไฟฟ้านครหลวง, สถานีชาร์จของ EA Anywhere และสถานีชาร์จในโครงการสนับสนุนของ EVAT หรือสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดยครอบคลุมสถานีทั้งประเทศไทย

2. ค้นหาและนำทางไปยังสถานีชาร์จไฟต่างๆ

3.สามารถจองหัวชาร์จไฟในสถานีก่อนได้

4.สั่งเริ่มและหยุดชาร์จผ่านทางแอปพลิเคชันได้

5.แสดงรายการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเจ้าของ

6. วิเคราะห์ค่าการใช้งานไฟฟ้าของแต่ละสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเจ้าของ

เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่เริ่มมีคนตื่นตัวในเรื่องการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น และสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า EV เรื่องอื่นๆ สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Chobrod.com นะคะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้