มีกระบะไว้บรรทุกของ ใช่ว่าจะบรรทุกตามใจฉันแบบไหนก็ได้ ต้องรู้ข้อกำหนดกฎหมายที่ถูกต้องด้วย Chobrod กางตำรา มาดูกฎหมายรถกระบะ บรรทุกของแบบไหน ไม่ผิดระเบียบ
รถกระบะนั้น ถือเป็นรถคู่ใจคนไทยบ้านเรา เพราะนิยมใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้งานด้านการพาณิชย์และงานขนส่งต่าง ๆ ที่จะให้ความสะดวกสบายมากกว่าการเลือกใช้รถเก๋งหรือรถบรรทุก
รถกระบะ ตอบโจทย์การใช้งานด้านการบรรทุก แต่ถ้าหนักไปก็ถือว่าผิดกฎหมาย
แน่นอนว่าเหตุผลหลัก ๆ ของการเลือกใช้รถกระบะสำหรับหลาย ๆ คนนั้นคือการใช้งานบรรทุก แต่รู้ไหมว่าในทางกฎหมายนั้น มีการระบุเงื่อนไขของการบรรทุกของอยู่ และวันนี้ Chobrod จะพาไปดูเกี่ยวกับกฎหมายรถกระบะบรรทุกของ กฎหมายรถกระบะบรรทุก 4 ล้อ ต้องขนอย่างไร ไม่ให้ถูกจับ มาเรียนรู้กันกับ กฎหมาย บรรทุกของเกินตัวรถ
ตามกฎหมายรถกระบะ บรรทุกของ จะต้องคำนึกถึงระยะความกว้าง ยาว สูง จำเป็นที่จะต้องนึกถึงความเสี่ยง ความปลอดภัยเอาไว้ ว่าระยะที่ต้องวางของเหล่านี้ปลอดภัยแค่นี้ โดยระยะที่ควรรู้มีดังนี้
ระยะการบรรทุกของที่ปลอดภัยของรถกระบะ
กฎหมายการบรรทุกสิ่งของ ระบุว่าทุกการบรรทุกของ ต้องมีเชือกหรือสายรัดในการผูกมัดสิ่งของเอาไว้อยู่กับรถ และต้องมั่นใจว่ามีการผูกเอาไว้อย่างแน่นหนา ป้องกันการตกหล่นและรั่วไหลของสิ่งของที่บรรทุก ส่วนเรื่องของน้ำหนักการบรรทุก ตามกฎหมายอนุญาตให้รถกระบะบรรทุกของได้ไม่เกิน 1,100 กิโลกรัม สำหรับผู้ฝ่าฝืนใช้รถกระบะบรรทุกน้ำหนักเกินจะถูกโดนปรับตามกำหนดไม่เกิน 1 พันบาท
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องบรรทุกของโดยไม่ปิดท้ายกระบะในช่วงเวลากลางวัน ให้หาธงสีแดงเรืองแสงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร โดยให้ปักติดเอาไว้ที่ของเพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันหลังระมัดระวังและมองเห็นได้ชัดเจน
รถกระบะที่เปิดท้ายบรรทุกของ ต้องติดธงไว้เตือนรถคันอื่นให้ระวัง
หากเป็นช่วงเวลากลางคืนหรือในช่วงเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ผู้ขับจะต้องติดสัญญาณไฟสีแดงที่มองเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นบนท้องถนนขณะการขนส่งหรือการขับขี่
อย่าคิดว่าการนำรถกระบะมาดัดแปลงหรือต่อเติมเพื่อให้การบรรทุกของมีความสะดวกขึ้นจะไม่มีคำผิด เพราะตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 60 ระบุเอาไว้ว่าในการดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถจากรายการที่จดทะเบียนนั้น มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
กฎหมายรถกระบะเสริมข้าง ต้องแจ้งจดทะเบียนก่อนใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นการติดโครงเหล็กตะแกรงบนหลังคาหรือเสริมรั้วกระบะข้าง หรืออื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากการจดทะเบียนเอาไว้นั้น ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น หากต้องการต่อเติมจะต้องเข้ารับการตรวจสภาพและแจ้งแก้ไขที่สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนเอาไว้ เพื่อตรวจสอบว่ามีความแข็งแรงทนทาน สามารถนำไปใช้งานบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
การบรรทุกเครื่องดื่มมึนเมา หรือสุรา ตามกฎหมาย พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 ในมาตรา 14 และตามมาตรา 15 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดทำการขนส่งสุราในราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ลิตร แต่ไม่ถึง 10 ลิตร เข้าในหรือออกนอกเขตพื้นที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ศุลกากร และต้องพกใบอนุญาตติดรถไว้ด้วย”
สรุปแล้วก็คือไม่สามารถบรรทุกเหล้าเบียร์ขึ้นรถได้เกิน 10 ลิตร ถ้าหากจะขนสุราในปริมาณ 10 ลิตร หรือเกินกว่านั้นจะต้องมีใบอนุญาตนั่นเอง
ไม่ว่าจะติดตั้งตะแกรงเหล็กหรือเสริมรั้วกระบะข้าง หรือที่เรียกว่า “เสริมคอก” รวมถึงการติดโครงเหล็กเสริมบนหลังคา นั้นจะต้องยึดระยะตามกฎข้อห้ามการบรรทุกตามหัวข้อด้านบน คือ ด้านข้างต้องกว้างไม่เกิน 2.30 เมตรหากความสูงไม่เกิน 3.00 เมตร และความสูงไม่เกิน 3.80 เมตร กรณีที่ตัวรถมีความกว้างเกิน 2.30 เมตร
รถแต่ละประเภทก็มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่รถทุกคันต้องปฏิบัติร่วมกันคือการเคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามวินัยของจราจร เพื่อการขับขี่ที่ดีและปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณเองและเพื่อนร่วมทาง
ดูเพิ่มเติม
>> ต้องรู้ กำหนดความเร็วรถ 2564 เริ่มบังคับใช้แล้ว
>> จดทะเบียนรถข้ามจังหวัด ทำได้ไหม? มีเงื่อนไขอย่างไร
เข้าดู รถบ้านมือสอง ได้ที่นี่