มุมมองชาวตะวันตกต่อการขับรถในอาเซียน

ประสบการณ์ใช้รถ | 18 มิ.ย 2561
แชร์ 0

Chobrod มาแบ่งปันมุมมองและคำแนะนำในการเที่ยวอาเซียนโดยเฉพาะ "การใช้ถนน"

แยกนางเลิ้ง

chobrod เชื่อว่าถ้ารถมากกว่านี้ แยกนางเลิ้งก็ไม่ต่างจากการแข่งม้า cr. สวพ. FM91

การขับรถในเอเชียอาจเป็นประสบการณ์ขนลุกสำหรับนักท่องเที่ยวที่เรียนการขับรถจากฝั่งโลกตะวันตก ในเมืองใหญ่ๆ จักรยานกับรถเข็นจนถึงรถเมล์กับรถบรรทุกแย่งพื้นที่กันในถนนอุดตัน ถนนยุคกลางหลายสายไม่ได้ถูกออกแบบสำหรับรถสมัยนี้ มอเตอร์ไซค์ต้องหาช่องทางเหมือนอยู่สนามม้านางเลิ้ง ลองคิดดูเมื่อการจราจรล่มเมื่อไร มีวัวย่างเข้ามากลางสี่แยกแล้วเกิดความสับสนเต็มไปหมด ชั่วโมงเร่งด่วนไม่เคยหมดสิ้นในเมืองอย่างกรุงเทพฯ การจราจรไหลไปอย่างเร็วและพุ่งพล่าน รถแท็กซี่กับตุ๊กตุ๊กไม่ตัดช่องน้อยให้คนขับต่างชาติเลย เหมือนกับว่ามีความแค้นส่วนตัวแต่ชาติปางก่อนกับบรรพบุรุษยังไงยังงั้น!

แต่อย่าคิดมากเลย กฎบนถนนต่างจากในเอเชียจากที่ชาวตะวันตกเรียนรู้มาในบ้านตัวเอง แม้จะมีปัญหามากมาย การมีรถของตัวเอบเพิ่มความยืดหยุ่นและขยายการมองเห็นขอบเขตให้กว้างขึ้น ซึ่งอาจเข้าไม่ถึงเมื่อใช้รถประเภทอื่น ข้อดีของการขับรถในเอเชียนั้นชัดเจน แค่คิดว่าผู้อ่านนั้นมั่นใจและมีประสบการณ์ที่จะสอดแทรกบนถนนได้! ถ้าผู้อ่านไม่เหมาะการขับที่นี่ มีตัวเลือกการขนส่งมากเกินพอ ระบบการขนส่งมวลชนที่กว้างขวางในเมืองอย่าง KL กับสิงคโปร์นั้นใช้งานได้อย่างกล้วยๆ (และ chobrod เองก็ยืนยันได้ว่าที่ SG นั้นมันชิลจริงๆ แต่ระวังสถานีที่คนเที่ยวเยอะด้วยล่ะ)

IDP

ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ cr. เอ็ม พาบิน

ดูเพิ่มเติม
>> 
มาทายใจนิสัยการขับรถตาม 12 ราศี
>> เตรียมรถก่อนเดินทางไกล “เที่ยวปีใหม่ มั่นใจ ถึงจุดหมายปลายทาง”

ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศคืออะไร?

ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ (IDP) คือพาสปอร์ตประเภทหนึ่งและเป็นที่ยอมรับกันหลายประเทศทั่โลก ต้องใช้ร่วมกับใบขับขี่ในประเทศของตนจึงจะถูกกฎหมาย ผู้อ่านต้องพกใบขับขี่ตัวเองไว้ในกระเป๋าเงินจากบ้านไปทั่วโลกอยู่ดี ข่าวดีคือ ขอ IDP แค่จ่ายค่าธรรมเนียมแล้วปรินท์ออกมา ข่าวร้ายล่ะ ตำรวจหลายประเทศยังอ้างว่าผิดกฎหมายและพร้อม “ปรับ” เงินจากกระเป๋า (คงไม่ต้องบอกนะว่าเพราะอะไร)

ข้อดีหลักของ IDP คือสามารถแปลได้มากกว่า 10 ภาษา โดยการให้แบบฟอร์มประจำตัวประชาชนที่ตำรวจที่ไหนก็ได้ในโลกสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ถ้าผู้อ่านต้องแลกพาสปอร์ตเพื่อเช่ารถ (ปฏิบัติเหมือนกันทั้งโลก) และตอนที่ประสบอุบัติเหตุ ตำรวจไม่อาจอ่าน หรือไม่สนใจมันเลย ใบขับขี่จากประเทศของคนนั้น โชคร้ายที่ว่า การบังคับใช้กฎหมายมันเหลวแหลกและไม่คงที่สุดๆ ในประเทศแถบเอเชีย แย่กว่านั้น ธรรมเนียมของ IDP ก็ได้เปลี่ยนแปลงครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้บางประเทศเทรูปแบบการบังคับใช้ใหม่มันซะเลย

ต้องใช้ IDP ในเอเชียหรือไม่?

ในเอเชีย นักเดินทางหลายคนเช่าและขี่สกู๊ตเตอร์โดยไม่ใช้ใบขับขี่ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ตำรวจจะขอตรวจค้นตามอำเภอใจ (และหาส่วยด้วย) เพื่อเช่ารถนั้น ผู้อ่านจะถูกขอใบขับขี่แน่นอน แต่ บางครั้งใบขับขี่ของประเทศตัวเองก็พอแล้ว ถ้าเลือกขอ IDP ต้องยื่นคำร้องล่วงหน้าอย่างน้อยหกสัปดาห์ โชคดีหน่อย ค่าธรรมเนียมไม่แพงและไม่ต้องสอบด้วย แค่มีใบขับขี่ของประเทศที่ระบุไว้พร้อมรูปถ่ายขนาดพาสปอร์ตสองรูป แต่โชคร้ายที่ ต้องไปต่อใบใหม่บ่อยๆ นะ อายุขั้นต่ำในประเทศเอเชียส่วนใหญ่คือ 18 ปีถึงจะขับรถได้ มีแค่ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ตั้งขั้นต่ำไว้ที่ 17 ปี

highway trafiic

สิ่งน่ารำคาญบนถนนเอเชียคือรถบรรทุกตามทางด่วนมอเตอร์เวย์/โทลล์เวย์นี่ล่ะ

กฎการใช้ถนนในเอเชีย

การขับรถในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา (ฟังแล้วเจ็บบ้างมั้ย) สอดคล้องกับชนชั้นสิทธิผ่านทางไม่เป็นทางการต่างจากที่นักท่องเที่ยวธรรมดาคิดมากๆ ปกติแล้ว การเข้าใจผิดของ “กฎการใช้ถนน” ในเอเชียคือสาเหตุของอุบัติเหตุกับนักท่องเที่ยว

โมเดลในตะวันตกตรงข้ามกับวรรณะบนถนนในเอเชียส่วนใหญ่ อย่างที่คนเดินถนนต้องถูกเกรงใจที่สุดในฝั่งฝรั่งเพราะพวกเข้าอ่อนน้อมและอ่อนแอไม่เหมือนกับยานพาหนะ วรรณะการอยู่รอดบนถนนในเอเชียมีกฎพื้นฐานข้อเดียว ยิ่งรถใหญ่ คนต้องใหญ่ อย่าคิดว่ารถขนาดใหญ่กว่าจะให้ทางหรือสิทธิพิเศษเพราะผู้อ่านขี่จักรยานหรือสกู๊ตเตอร์! ตรงข้ามคือความจริงในจริง (ที่โคตรเจ็บ) รถบรรทุกจะรอรถเล็กแบบเราๆ ให้ทางมันไปแทน

ลำดับสิทธิผ่านทางที่มีอำนาจจากมากไปน้อยที่สุดเรียงดังต่อไปนี้:

  1. รถบรรทุก
  2. รถเมล์
  3. รถตู้
  4. SUV
  5. แท็กซี่และรถใช้ทำมาหากิน
  6. รถยนต์
  7. มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์
  8. สกู๊ตเตอร์
  9. จักรยาน
  10. คนเดินถนน

yangon street food

ร้านอาหารริมทางที่นครย่างกุ้ง

จะเจออะไรบ้างขณะขับรถในเอเชีย

ถนนสุดคลั่งสายต่างๆ ในเอเชียสามารถขู่คนขับเก๋าๆ จากเมืองใหญ่ฝั่งตะวันตกได้ อันตรายต่างๆ บนถนนในประเทศกำลังพัฒนามีตั้งแต่ไก่ตัวเป็นๆ จนถึงรถขายอาหารกับลูกค้านั่งโซ้ยข้าวบนเก้าอี้พลาสติก (ใช่ เอเชียมีเยอะเลย) ไฟจราจรกับเลนถนนเป็นแค่สุญญากาศไปหมด และระวังพวกตุ๊กตุ๊กหัวดื้อด้วย!

  • ถ้าเปิดช่องว่างมากกว่าฟุตสองฟุตจากรถคันข้างหน้า ระวังตัวสอด! ทุกอย่างว่างจะโดนเสียบ แล้วต้องเบรคเอี๊ยดอย่างไว
  • หลายประเทศ DON’T CARE ไฟและป้ายจราจร อย่าคิดว่าข้ามสี่แยกแล้วจะรอดเพราะไฟมันเขียวตลอด
  • บางประเทศ (รวมไทยด้วย) ไฟจราจรมีเลขนับถอยหลัง ยิ่งเวลาใกล้หมด รถจะยิ่งเร่งเครื่องกันใหญ่เพื่อฝ่าให้ทันวินาทีสุดท้าย (สาบานว่าคนไทยที่อ่านอยู่ไม่เคยทำ!)
  • วงเวียนขนาดใหญ่เป็นมาตรฐานในประเทศต่างๆ อย่างเวียดนาม เลนถนนไม่ค่อยมีใครมอง และมอเตอร์ไซค์แห่กันเต็มวงล่ะทีนี้ โปรดจ่อหลังด้วยความระมัดระวังด้วย
  • กฎการไว้หน้าบ้างใช้กับการขับรถในเอเชียด้วย
  • ค่าปรับการฝ่าฝืน ไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือไม่ ต้องจ่ายกับเจ้าหน้าที่ตรงนั้นเลย (มันเลยเกิดส่วยไงล่ะ)
  • แท็กซี่และนักขับที่ต้องทำมาหากินบนถนนมักหิวโหยที่สุด โดยทั่วไปให้สิทธิผ่านทางไปเถอะถ้าไม่โดนมันบังคับซะก่อน! (เรื่องนี้ก็คงไม่ต้องบอกนะ ว่าผลที่ตามมาคืออะไร)

horn

เอเชียมีแต่คนบีบแตร

การใช้แตร

เสียงแตรประสานดังให้ soundtrack ขณะที่ผู้อ่านเที่ยวตามเอเชีย แม้สำหรับชาวตะวันตก บีบแตรมากไปคือหยาบคายหรือตัวอย่างประจำของพวกหัวร้อนบนถนน แตรเป็นเครื่องมือสื่อสารขณะขับรถในเอเชีย ควรใช้ให้ถูกวิธีด้วย เหมือนการขับรถ

  • ใช้แตรเพื่อเตือนคนขับคนอื่นๆ เมื่อต้องเข้าโค้งหักศอก
  • บีบแตรเร็วๆ ครั้งเดียวเป็นมารยาท เพื่อบอกว่า กำลังจ่อรอบๆ แล้วนะ อยู่ข้างแล้วแล้ว หรือกำลังแซง
  • บีบแตรเร็วๆ สองครั้งบ่งบอกว่ากำลังแซงหรืออยู่ในจุดอับ
  • บีบแตรสามครั้งชัดเจนว่ามีเรื่องด่วน (เช่น อยู่ในจุดอับของรถคันอื่น และกำลังบอกว่ารถคันนั้นจะเปลี่ยนเลนแล้ว) เป็นวิธีบอกคนอื่นว่า “อยู่ตรงนั้นก่อน”
  • การรัวแตรคือการโวยว่าขับรถห่วยหรือโดนด่าว่า “หลบสิโว้ย! ให้กูขึ้นไปสิวะ!” คนขับที่ทำเป็นอาชีพอาจกดแตรยาวเพื่อบอกทุกคันให้หลีกทางเลย (เช่น กำลังไปสนามบินสายและพาผู้โดยสารไปจำนวนมาก)

เช่ารถดอนเมือง

สองแบรนด์ให้เช่ารถชื่อดังที่น่าไว้วางใจ cr. ไปนอก

การเช่ารถในเอเชีย

การหารถเช่าในเอเชียแทบไม่เป็นปัญหาเลย อย่างน้อยในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ผู้อ่านจะพบร้านให้เช่ารถแบรนด์ที่คุ้นเคยมากมาย บางที่ ร้านเช่ารถอยู่นอกเมืองแถวสนามบิน พยายามเลี่ยงการเช่าจากรายบุคคลที่พยายามให้เช่ารถรายวัน ไม่ใช่แค่ต้องแบกรับปัญหารถเสีย มิจฉาชีพในเวียดนามมาในรูปแบบสะกดรอยแล้วตั้งใจเฉี่ยวชนหรือขโมยคืนด้วยตัวเจ้าของเองที่มีกุญแจสำรอง (เอ้าไอ้นี่!)

bribery

ส่วย ปัญหาน่ารังเกียจบนท้องถนน

ถ้าโดนลากคอในเอเชียต้องทำอย่างไร

ลองคิดว่าไม่มีอุบัติเหตุและผู้บาดเจ็บ การจัดการกับการแจ้งเตือนหรือหมายจับไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม ค่าปรับมักต้องจ่ายเจ้าหน้าที่ด้วยเงินสดตรงนั้นเลย อย่างน้อยจะได้ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลหรือหาโรงพักจ่ายทีหลัง ใจเย็นๆ ดับเครื่องยนต์ และสุภาพกับเจ้าหน้าที่สุดๆ เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้เสียหน้าจากการสื่อสาร ยื่นฟอร์มแสดงตัวประชาชนทันที

การเถียงถึงการถูกจับเป็นวิธีแน่นอนที่จะเปลี่ยนคำเตือนเป็นค่าปรับแน่ๆ หรือแย่กว่านั้น เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบต้องการความเคารพ และมักน่ากลัวในประเทศกำลังพัฒนา (เพราะอย่างนี้ไง) อย่าทำให้เรื่องแย่หนักโดยการกร่างแบบนักท่องเที่ยวไฮโซ ถ้าโดนปรับ แล้วขอใบเสร็จ จะไม่ได้เสมอไป กลุ่มตำรวจทำงานเป็นทีมและจะคอยจับอีกด่านตามถนน ถ้าเอาใบเสร็จมาไม่ได้ นักเดินทางบางคนก็ขอถ่ายรูปกับเจ้าหน้าที่มันซะเลยเพื่อแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่คนอื่นตามถนนเมื่อจำเป็น ตำรวจปลอมขี่สกู๊ตเตอร์สกัดนักท่องเที่ยวหลายคนในบาหลี อย่าให้พาสปอร์ตมัน ไม่งั้นได้เสียเงิน

Ho Chi Minh

วงเวียนในนครโฮจิมินห์ รู้สึกว่ามีรถเครื่องเต็มไปหมดบ้างมั้ย

ข้อควรระวังสำหรับนักบิดในเอเชีย

การเช่าสกู๊ตเตอร์และมอเตอร์ไซค์คันเล็กเป็นวิธีที่ดีมากในการชมวิวรอบๆ พื้นที่ท่องเที่ยวในอาเซียน โชคร้าย นักเดินทางหลายคนเสียผิวหนังตามถนนระหว่างเที่ยว นักท่องเที่ยวหลายคนประสบอุบัติเหตุกับรถสกู๊ตเตอร์ในไทยซึ่งแผลเป็นจากการชนได้ถูกขนานนามว่า “รอยสักจากไทย” ธรรมเนียมการเดินทางของเหล่า backpacker

  • แม้อุบัติเหตุเล็กน้อยจากรถเครื่องตามเกาะอาจทำให้ผู้อ่านลงน้ำไม่ได้ทั้งทริปเพื่อรักษาแผล ร้านให้เช่าก็เอากำไรจากค่าเสียหายอยู่ดี ขับขี่ปลอดภัยล่ะ!
  • ร้านให้เช่ารถเครื่องส่วนใหญ่จะของพาสปอร์ตเหมือนกันหมด ทำสำเนาและให้มัดจำบ่อยๆ แทน
  • ถ้าร้านให้เช่าเก็บพาสปอร์ต เช็คว่าผู้อ่านมีสำเนาติดตัวเพื่อยื่นให้ตำรวจ ณ จุดตรวจ เก็บใบเสร็จค่าเช่าและเอกสารไว้แสดงด้วย
  • การใส่หมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัยเป็นเรื่องถูกแจ่มแจ้ง ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อัตราเสียชีวิตบนถนนสูงที่สุดของโลก แม้แต่ในประเทศที่คนแถวนั้นไม่สนหมวก ก็โดนหยุด แล้วจับปรับได้ เมื่อไม่ใส่
  • สัญญาเช่าหลายฉบับมีข้อจำกัดต่างๆ เพราะลิมิทเรื่องประกันภัย เช่น บางร้านที่เชียงใหม่ไม่ให้เช่ารถไปขี่ที่อ.ปาย (ใครมีรายละเอียดกรุณาคอมเม้นท์มาด้วยนะครับ)
  • ยางแบนเกิดขึ้นแทบบ่อย โดยเฉพาะในอาเซียนที่มีแต่ถนนขรุขระ โชคดีที่ในรถสกู๊ตเตอร์เสียค่าเปลี่ยนยางน้อยกว่า $5/ราวๆ 150 บาท
  • การกำหนดและขายน้ำมันในแต่ละประเทศต่างกัน บางระบบเป็นเลขบ้าง สีบ้าง สอบถามล่วงหน้าว่ารถสกู๊ตเตอร์ที่เช่าใช้น้ำมันอะไร ฉลากน้ำมันอาจใช้ค่าออกเทนและเอธานอล
  • หลายปั๊มน้ำมันในเอเชียให้บริการครบวงจร ไม่ต้องคิดเรื่องทิป
  • ถ้าประสบอุบัติเหตุเล็กน้อยกับรถสกู๊ตเตอร์ หาช่างแล้วจ่ายค่าซ่อมเองดีกว่า (เช่น กระจกแตก เปลี่ยนคันบิด) บริษัทให้เช่าจะคิดค่าซ่อมแล้วชาร์จราคา markup แบบพรีเมียมเข้าไปด้วย (ง่ายๆ คือโคตรแพง)

Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้และอย่าลืมแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ของคุณให้เราด้วยโดยการให้ Comment ด้านล่างนี้ได้เลย 

ดูเพิ่มเติม
>> 
3 เทคโนโลยีหลักที่กำหนดทิศทางยานยนต์ในอนาคต
>> สรุปรวมข่าวรถยนต์เด่นประจำสัปดาห์ วันที่ 9 มิ.ย.-15 มิ.ย. 2018