ไม่ว่าจะเป็นกลางเมืองกรุงเทพ หรือชานเมืองรอบๆ กรุงเทพ เราจะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศนั้นเต็มไปหมด ตื่นเช้าขึ้นมาเราจะพบหมอขาวๆ บรรยากาศอย่างกับอยู่บนดอย! แต่แท้จริงแล้วนั้นคือฝุ่น หรือมลพิษทางอากาศ นั่นเองค่ะ ซึ่งเพื่อนๆ รู้ไหมว่าหากเราสูด และได้รับฝุ่นเหล่านี้มากๆ นั้นมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ด้วย สำหรับที่มาของมลพิษเหล่านี้เกิดได้จากสาเหตุหลายอย่างเลยค่ะ วันนี้ Chobrod จึงได้รวบรวมความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับมลพิษที่เกิดจากรถยนต์ของพวกเรา มาให้เพื่อนๆ ได้ดูกันค่ะ
ค่าฝุ่นละอองในอากาศ จากกรมควบคุมมลพิษ ประจำวันที่ 26 มกราคม 2562
ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ร้อยละ 51% ของโลก ถูกผลิตโดยรถยนต์
หลายคนคิดไม่ถึงเลยใช่ไหมค่ะว่าพวกเราเองนั้นก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศในวันนี้ ลองคิดดูว่าถ้าหากรถยนต์รวมกันหลายๆคัน รวมกันทั่วโลกแล้ว จะมีก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์จำนวนมากที่มาจากรถยนต์จะถูกผลิตขึ้น โดยจะมีอากาศที่มีมลพิษคาร์บอนมอนอกไซด์มากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 51 เปอเซนต์ มาจากรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบอีกด้วยค่ะว่า หากก๊าซเหล่านี้ได้ออกมาในอากาศช่วงเริ่มต้น จะยังไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยตรง แต่ถ้าหากเมื่อเราสูดดม มีการสะสมในร่างกายมากขึ้น รวมไปถึงในกระแสเลือดของร่างกายมนุษย์มากขึ้น ก็จะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกันค่ะ
ดูเพิ่มเติม
>> สนช.เตรียมจำกัดความเร็วถนนหลวงมากขึ้น จ่อเอาผิดรถขับช้าแช่ขวา
>> ข่าวดี! เพื่ออากาศที่ดี ผู้ผลิตรถยนต์เร่งผลิต รถลดมลพิษมากขึ้น
ถึงแม้ว่าประเทศไทยเราหันมาใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วก็ยังมีอันตรายอยู่ดี
ใช่แล้วค่ะ เพื่อนๆ อ่านไม่ผิดแน่นอน เพราะพบว่าน้ำมันสารตะกั่วในรถยนต์เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถสร้างมลพิษทางอากาศได้มากเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าประเทศไทยของเรานั้น จะมีการบังคับใช้รถยนต์มือสอง มือหนึ่งที่ไม่ใช้สารตะกั่ว หรือเพื่อนๆ น่าจะเคยได้ยินคำว่า “เบนซิลไร้สารตะกั่ว” มาบ้าง ตั้งแต่ปี 2527 ก็ทำให้มลพิษทางอากาศลดลง แต่ทว่าในส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวนั้น ก็ยังมีสารพิษชนิดอื่นอีกมาก ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศได้อยู่ดีค่ะ
มลพิษจากรถยนต์ไม่ได้ออกมาจากท่อไอเสียเท่านั้น ยังออกมาจากส่วนอื่นๆ ของรถยนต์อีกด้วย
แปลกใจเลยใช่ไหมค่ะ ขนาดคนเขียนเองยังเชื่อเลยว่ารถยนต์ที่เรานั่งทุกวันไปทำงานนั้น ยังเชื่อเลยว่า ท่อไอเสียนี่แหละ เป็นตัวปล่อยมลพิษ แต่บอกเลยว่าคิดผิดค่ะ เพราะมลพิษจากรถยนต์ไม่ได้ออกจากท่อไอเสียเพียงอย่างเดียว ซึ่งความจริงที่ถูกต้องนั้นคือ ในรถยนต์หนึ่งคัน สามาถปล่อยไอเสียจากตัวรถยนต์ได้ทุกทิศทาง! ไม่ว่าจะเป็นไอระเหยที่ถูกปล่อยออกมาพร้อมไอน้ำมันจากบริเวณห้องเครื่อง ยังมีไอความร้อนจากเครื่องยนต์ และรวมไปถึงผงฝุ่นคาร์บอนที่เกิดจากการเบรกที่ออกมาทางล้อทั้ง 4 ล้อ ที่สามารถสร้างมลพิษทางอากาศได้เหมือนกันค่ะ
ช่วงที่รถเราหยุดจอด และเครื่องยนต์ยังไม่ดับเครื่อง จะเป็นช่วงเวลาที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์มากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่กำลังติดไฟแดง หรือจอดรอรับใครสักคน แล้วไม่ได้ดับเครื่องยนต์ช่วงที่จอด รถยนต์เบนซิลเหล่านี้ ก็จะปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ในช่วงเวลานี้มากที่สุด ซึ่งผลเสียของก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์นั้น ถ้าหากเราสูดเข้าไปทุกวันๆ ก็จะทำให้รู้สึกปวดศีรษะ ไม่สบาย เกิดอาการอ่อนเพลีย มีอารมณ์ฉุนเฉียว และโกรธง่ายตามาอีกด้วยค่ะ
หากเราสูดมลพิษเข้าไปสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ก็จะมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกายตามมา
เป็นอย่างไรบ้างค่ะ กับมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากรถยนต์ของเรา ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ตอนนี้หลายฝ่ายกำลังหาวิธีแก้ปัญหากับฝุ่นที่เกิดขึ้น เพื่อลดปริมาณมลพิษทางอากาศให้น้อยลงที่สุดให้ได้ ซึ่งดูเหมือนว่ามลพิษทางอากาศจากรถยนต์บนท้องถนนนั้นจะเป็นสิ่งที่แก้ไขยากที่สุด เพราะต่อให้ทางรัฐบาลนั้นขึ้นภาษีรถยนต์ ปริมาณรถยนต์ก็ยังคงมีเพิ่มมากขึ้นในทุกปี และต่อให้มีเทคโนโลยีไฮบริด เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า รถยนต์พลังงานทางเลือกเข้ามามากกว่าเมื่อก่อน แต่ปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และดีเซล ก็ยังคงเป็นส่วนใหญ่ของจำนวนรถยนต์ในโลกอยู่ดีค่ะ
กการหมั่นตรวจสอบสมรถนะของรถยนต์ของเราให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ ก็สามารถช่วยลดมลพิษในอากาศได้
แต่พวกเราก็ยังไม่หมดหวังนะคะ เพราะมลพิษทางอากาศเหล่านี้ก็สามารถลดลงได้อยู่ถ้าหากว่าเราร่วมมือช่วยกัน ซึ่งวิธีง่ายๆ ที่ Chobrod อยากแนะนำเพื่อนๆ มาลดมลพิษทางอากาศด้วยกันก็คือ การหันมาใช้รถยนต์เทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น หรือเริ่มต้นจากการหมั่นตรวจสอบสมรถนะของรถยนต์ของเราให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยการไปเช็คระยะ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนั่นเองค่ะ เพราะวิธีนี้นอกจากจะเป็นการช่วยเรื่องอากาศในประเทศไทยของเราแล้ว ก็ยังช่วยประหยัดเงินค่าซ่อมในระยะยาวให้กับรถยนต์ของเพื่อนๆ ได้อีกด้วยนะคะ
ดูเพิ่มเติม
>> ฝุ่นพิษอาจส่งผล ดัน“ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า” สดใส
>> มลพิษฝุ่นควันใน กทม. เกิดจากเครื่องยนต์ดีเซล มาตรการแก้ไขควรเป็นแบบใด
วันนี้ทาง Chobrod คงต้องลาไปก่อน ครั้งหน้ายังมีความรู้ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์แบบนี้มาให้เพื่อนๆ ได้มาติดตามกันอีก กเพื่อนๆ ติดตามทางตลาดรถยนต์ ที่นี่ด้วยนะคะ
ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่