มลพิษฝุ่นควันใน กทม. เกิดจากเครื่องยนต์ดีเซล มาตรการแก้ไขควรเป็นแบบใด

ประสบการณ์ใช้รถ | 24 ม.ค 2562
แชร์ 3

ฝุ่นละออง pm2.5 ที่สร้างปัญหาให้กับบ้านเราในขณะนี้ เครื่องยนต์ดีเซลนับเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่ง วันนี้เรามาดูกันว่า ทำไมมันถึงเป็นสาเหตุและมาตรการแก้ไขปัญหานี้ควรจะเป็นอย่างไร

ถ้าจะพูดถึงปัญหาที่เป็นปัญหาระดับชาติ ลงหนังสือพิมพ์หน้า1กันมาก็หลายต่อหลายฉบับ ตั้งแต่ปลายปี 2018 จนมาถึงต้นปี 2019 ปัญหานั้นก็คงหนีไม่พ้นเรื่องมลพิษทางอากาศของประเทศไทย กับอนุภาคฝุ่นพิษที่มีขนาดเล็ก ที่เรียกกันว่า pm2.5 ที่อนุภาคของมันเล็กระดับ 2.5ไมครอน เป็นขนาดที่เล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมเราเสียอีก และด้วยขนาดที่เล็กมากๆของมันนี้เอง เวลามันเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจแล้วแม้แต่ขนจมูกก็ไม่สามารถกรองฝุ่นตัวนี้ มันจึงสามารถเดินทางลงไปถึงปอดของเราได้โดยง่าย กลายเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด้วย

ตัวการทำอากาศเสีย

ฝุ่น pm2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาในตอนนี้ เกิดจากหลายสาเหตุ ในความจริงไม่ใช่ว่าฝุ่น หรือนุภาคตัวนี้เพิ่งจะเกิดขึ้น มันมีมานานมาก และอยู่คู่สังคมโลกมานานแล้ว เพียงแต่ความหนาแน่และปริมาณยังไม่อยู่ในระดับที่จะทำอันตรายมนุษย์ได้ แต่ในช่วงหลังมานี้ ด้วยฤดูกาล ด้วยแรงลม ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาต่างๆ ที่ทำให้อนุภาค pm2.5นี้ไม่ลอยไปไหน ได้แต่วนเวียนอยู่ในสังคมและประเทศของเรา โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหานครที่ติดอันดับคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับที่8ของโลก ส่วนสาเหตุที่คนส่วนใหญ่กำลังพูดถึงกันมาในตอนนี้ก็คาดการณ์กันว่ามาจากอุตสาหกรรมก่อสร้างบ้าง มาจากอุตสาหกรรมรถยนต์บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องยนต์ดีเซลเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อากาศที่เคยบริสุทธิ์ต้องปนเปื้อนอนุภาค pm2.5 จนกลายเป็นวิกฤตของอากาศในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

PM2.5ทำให้สภาพของเมืองเหมือนมีหมอกลง แต่ร้ายกาจกว่าหมอกมากนัก

PM2.5ทำให้สภาพของเมืองเหมือนมีหมอกลง แต่ร้ายกาจกว่าหมอกมากนัก

PM2.5ทำให้สภาพของเมืองเหมือนมีหมอกลง แต่ร้ายกาจกว่าหมอกมากนัก

สาเหตุสำคัญของการเกิดขึ้นของอนุภาค pm2.5

สาเหตุของการเกิดฝุ่นแบบที่เรากำลังเผชิญปัญหาอยู่นี้ในแต่ละประเทศทั่วโลกก็มีสาเหตุแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นจากการเผาป่า ไฟป่า โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง รวมไปถึงการปล่อยไอเสียจากท่อไอเสียรถยนต์ ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาด pm2.5ได้ทั้งสิ้น สำหรับในบ้านเราโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครนั้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฝุ่นละออง pm2.5 มีมากมายขนาดนี้เป็นเพราะการปล่อยไอเสียของรถยนต์ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ส่วนการก่อสร้างตึก หรือรถไฟฟ้าที่มีมากมายในถนนแทบทุกเส้นของกรุงเทพมหานครนั้นไม่ใช่สาเหตุหลักในการเกิดฝุ่น pm2.5 แต่การก่อสร้างเหล่านั้นทำให้เกิดฝุ่น pm10 ที่มีขนาดอนุภาคที่ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นอันตรายเช่นกัน

รถยนต์ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาด pm2.5

รถยนต์ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาด pm2.5

การก่อสร้างทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาด pm10

การก่อสร้างทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาด pm10

การเผาไหม้เชื้อเพลิงในห้องเครื่องที่ไม่สมบูรณ์

ฝุ่น pm2.5 ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ นักวิชาการต่างๆได้สรุปกันออกมาแล้วว่าในกรุงเทพมหานคร สาเหตุหลักมาจากการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ เนื่องจากส่วนใหญ่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่การมีอายุเครื่องยนต์ที่ยาวนานนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาจริงๆเกิดจากการไม่บำรุงรักษาทำให้เครื่องยนต์เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์นั้นสาเหตุมาจากความเสื่อมลงของอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่างๆภายในเครื่องยนต์ เช่นการฉีดพ่นละอองน้ำมันผสมกับออกซิเจนในอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เกิดเป็นฝุ่น pm2.5 และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซินหรือเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ในตลาดรถตอนนี้ก็ทำให้เกิดฝุ่น pm2.5 ได้ทั้งนั้นถ้าเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

เมื่อเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ไอเสียจากท่อที่ได้ก็จะมีสีดำ

เมื่อเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ไอเสียจากท่อที่ได้ก็จะมีสีดำ

เพิ่มเติม
>>
เขตไอเสียต่ำในลอนดอนคืออะไร
>> ‘ตามให้ทันโลก’ เรื่องรถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

มาตรฐานเครื่องยนต์ในประเทศไทย

มาตรฐานเครื่องยนต์ยูโร แรกเริ่มเดิมทีมีการอนุมัติกันมาอย่างเป็นทางการตั้งแต่เครื่องยนต์ยูโร1 เกิดขึ้นในช่วง 1 กรกฎาคม 1992 สำหรับในประเทศไทยนั้น ถ้าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้มาตรฐานยูโร3 และในเครื่องยนต์เบนซินนั้นเป็นมาตรฐานยูโร4 แต่มาตรฐานของเครื่องยนต์ในปัจจุบันนั้นโลกเราไปกันถึงมาตรฐานยูโร6แล้ว แล้วมาตรฐานที่แตกต่างกันนี้มันมีเนื้อหาแตกต่างกันอย่างไร

มาตรฐานเครื่องยนต์ยูโร3ในเครื่องยนต์ดีเซลคือ เครื่องยนต์ที่ปลดปล่อยไอเสียที่มีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ไม่เกิน 2.3กรัมต่อกิโลเมตร ไฮโดรคาร์บอนไม่เกิน 0.2กรัมต่อกิโลเมตร และไนโตรเจนออกไซด์ไม่เกิน 0.15 กรัมต่อกิโลเมตร เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี2001

มาตรฐานเครื่อยนต์ยูโร4ในเครื่องยนต์เบนซินคือ เครื่องยนต์ที่ปลดปล่อยไอเสียที่มีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ไม่เกิน 1.0กรัมต่อกิโลเมตร ไฮโดรคาร์บอนไม่เกิน 0.1กรัมต่อกิโลเมตร และไนโตรเจนออกไซด์ไม่เกิน 0.08 กรัมต่อกิโลเมตร เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี2005

เครื่องยนต์สันดาบภายใน แหล่งกำเนิดอากาศเสียถ้าเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

เครื่องยนต์สันดาบภายใน แหล่งกำเนิดอากาศเสียถ้าเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

นั่นหมายความว่าในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานของเครื่องยนต์อยู่ในเกณฑ์นี้ ทำให้ในแต่ละปีมีการปล่อยไอเสียของประเทศไทยเราอย่างเดียวหลายหมื่นถึงแสนตันต่อปี จากรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมทั้งหมดในราชอาณาจักรไทยร่วมๆ40ล้านคัน เห็นตัวเลขแล้วก็แทบจะไม่แปลกใจเลยว่าทำไมอากาศในบ้านเราตอนนี้ถึงเป็นปัญหาขึ้นมาได้

แนวทางแก้ไขปัญหามลพิษ

แนวทางแก้ไขตอนนี้ รัฐบาลก็ออกมาตรการต่างๆมาหลายข้อ ทั้งการแก้ไขในระยะสั้นและระยะกลาง แต่การแก้ไขในระยะยาวนั้นยังไม่ค่อยเห็นเป็นรูปธรรมเท่าใดนัก สำหรับมาตรการระยะสั้นที่ประกาศออกมาก็อย่างเช่น ฉีดพ่นน้ำลดฝุ่นละออง รณรงค์ไม่ให้ติดเครื่องยนต์ไว้ขณะจอดรถ แจกหน้ากากอนามัยในพื้นที่เสี่ยง เข้มงวดกับการตรวจรถยนต์ควันดำ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นที่สามารถดำเนินการได้ทันที แต่เพื่อความยั่งยืน มาตรการการแก้ปัญหาระยะยาวก็จำเป็นเช่นกัน

การตรวจจับรถยนต์ควันดำก็เป็นมาตรการหนึ่งในการลดปัญหาอากาศเป็นพิษ

การตรวจจับรถยนต์ควันดำก็เป็นมาตรการหนึ่งในการลดปัญหาอากาศเป็นพิษ

ในขณะที่บ้านเราดัชนีคุณภาพอากาศนั้นกำลังพุ่งสูงขึ้นจนเข้าข่ายมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว แต่ในประเทศที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ส่งออกกันเป็นล้านๆคันอย่างญี่ปุ่นนั้น อากาศในบ้านเขามีดัชนีคุณภาพอากาศที่ดีกว่าเราถึง 10เท่า ทั้งที่มีประชากรมากกว่าเกือบ2เท่าของประเทศไทยและพื้นที่ประเทศก็เล็กกว่าเรามาก อัตราความหนาแน่นของประชากรก็มากกว่า แต่ทำไมอากาศบ้านเขาถึงสะอาดกว่า

สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยสำหรับการลดปริมาณอากาศเสียของประเทศญี่ปุ่นก็คือการให้ความสำคัญกับคนเดินถนนและจักรยานเป็นอันดับแรกสำหรับการคมนาคม ในประเทศญี่ปุ่น จักรยานเรียกได้ว่าแทบจะเป็นยานพาหนะคู่กายของคนญี่ปุ่นไปเสียแล้ว ไปที่ไหนก็เห็นจักรยาน แม้แต่สถานีรถไฟต่างๆก็มีที่สำหรับจอดจักรยาน เพื่อให้ผู้คนต่อรถได้ง่าย และด้วยเหตุที่ว่าคนใช้จักรยานกันมากระดับประเทศ จึงทำให้ไอเสียน้อยลงกว่าการที่คนเหล่านั้นใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์มากนัก

รถจักรยานเป็นยานพาหนะคู่กายคนญี่ปุ่น

รถจักรยานเป็นยานพาหนะคู่กายคนญี่ปุ่น

อีกเรื่องหนึ่งคือการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งความเที่ยงตรงต่อเวลา และการเชื่อมต่อไปยังสถานที่ต่างๆ เรียกว่าใต้ดินของประเทศเขานี่เจาะกันจนพรุนไปหมดมีการวิ่งซ้อนไปมาของรถไฟฟ้าหลายๆสาย ซับซ้อนจนบางทีคนญี่ปุ่นเองยังหลงทางกับขบวนรถไฟเลยก็มี แต่เพราะเหตุนี้คนญี่ปุ่นจึงนิยมโดยสารรถไฟฟ้ามากกว่าที่จะขับรถยนต์ไปเอง ทั้งสะดวกกว่า ไม่ต้องหาที่จอดรถยนต์ ไม่ต้องเสียค่าที่จอดอีกด้วย นับเป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลที่ทำให้ประชาชนพอใจ มีระบบการขนส่งสาธารณะทีดี และท้ายที่สุดก็ลดปริมาณการใช้รถยนต์จนทำให้อากาศบริสุทธิ์กว่าบ้านเราได้ถึง10เท่า

แผนที่รถไฟฟ้าที่ซับซ้อนในโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่น

แผนที่รถไฟฟ้าที่ซับซ้อนในโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่น

อีกมาตรการหนึ่งในระยะยาวคือหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้การปล่อยไอเสียเป็นศูนย์แต่นั่นต้องร่วมมือกันในหลายๆฝ่ายไม่เพียงแต่ฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น แม้จะใช้เวลาหน่อยวันนั้นก็คงจะมาถึงในสักวันทำให้เราขับรถยนต์ได้อย่างไร้กังวลปัญหามลพิษ

ถึงวันนี้เราพอจะรู้ที่มาที่ไปของอากาศเป็นพิษในบ้านเรากันแล้วนะครับ ไม่ผิดเลยครับที่เราจะมีรถยนต์ในครอบครอง ขอแค่เราดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้เผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้ตามมาตรฐานก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่จะลดฝุ่นละออง pm2.5ในอากาศได้แล้ว ส่วนมาตรการระยะยาวคงต้องปล่อยให้ระดับมหภาคเป็นผู้เร่งดำเนินการต่อไป

เพิ่มเติม
>>
ฝุ่นพิษ PM2.5 สัญญาณเตือนไทย เร่งหันไปใช้รถไฟฟ้า
>> ว่าด้วยเรื่อง อะไหล่รถบ้าน ส่วนไหนควรเช็ค? อันไหนควรเปลี่ยนดี?

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูตลาดรถตรงนี้