คำถามน่ารู้เกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์ สาระดี ๆ ที่อยากให้อ่าน

ประสบการณ์ใช้รถ | 14 มิ.ย 2562
แชร์ 2

รวบรวมคำถามน่าสนใจเกี่ยวกับข้อสงสัยในเรื่องของสินเชื่อรถยนต์จากกระทู้ในเว็บไซต์ชื่อดัง ทุกคำถามที่น่าสนใจ มีคำตอบให้อย่างชัดเจน

เรื่องของสินเชื่อรถยนต์ เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะแยะมากมาย หลายคนอาจมีคำถามด้วยความที่ไม่มีประสบการณ์ หรือตั้งข้อสงสัยกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่แปลกไปจากความจริง หลากหลายเรื่องถูกตั้งกระทู้ถามขึ้นมาเพื่อขอคำแนะนำหรือถามหาคำตอบจากผู้ที่มีประสบการณ์ เพื่อหาแนวทางไปแก้ไขปัญหาต่อไป

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์ สาระดี ๆ ที่อยากให้อ่าน

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์ สาระดี ๆ ที่อยากให้อ่าน

ทาง Chobrod ได้รวบรวมคำถามน่าสนใจเกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์พร้อมคำตอบที่เป็นประโยชน์เพื่อเป็นสาระดี ๆ ให้แก่คนชอบรถของเรามาฝาก ไว้เป็นแนวทางหากใครที่กำลังมีข้อสงสัยหรือกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เช่นกัน จะมีอะไรบ้าง ลองมาดูไปพร้อม ๆ กัน

คำถาม : เงินเดือน 12,000 ผ่อนรถเดือนละ7-8 พัน ได้ไหม?

เงินเดือนน้อยแต่อยากผ่อนรถราคาสูง

เงินเดือนน้อยแต่อยากผ่อนรถราคาสูง

เป็นคำถามของชายคนหนึ่ง ที่มีความต้องการจะผ่อนรถในราคา 350k-450k โดยมีรายละเอียดที่เป็นข้อมูลเพื่อใช้ยื่นกู้ดังนี้

  • ทำงานประจำรับเงินเดือน 12,000 บาท เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
  • เพิ่งทำงานได้เพียงเดือนเดียว
  • มีรายรับที่ได้จากผู้เป็นแม่ต่อเดือน 3-4 หมื่นบาท ส่งมาให้ในธนาคารกรุงไทย
  • เงินที่ได้จากแม่นำไปใช้จ่ายส่วนตัว เหลือคงในบัญชีเดือนละประมาณ 12,000 บาท

โดยเจ้าของกระทู้มีความประสงค์ที่จะผ่อนรถมอเตอร์ไซต์ในราคาที่กล่าวไว้ข้างต้น วางแผนไว้ว่าจะวางเงินดาวน์อยู่ที่ 8-9 หมื่นบาท แต่ด้วยความที่ไม่มั่นใจในหลักฐานการเดินบัญชี จึงเกิดความกังวลว่าจะสามารถทำเรื่องกู้เงินเพื่อซื้อรถที่ต้องการได้หรือไม่ จำเป็นต้องใช้คนค้ำหรือเปล่า?

คำตอบ / คำแนะนำ: เงินเดือน 12,000 ยังไม่ควรผ่อนรถเดือนละ 7-8 พันตอนนี้

อดทนเก็บเงินสะสมซื้อเงินสดจะปลอดภัยกว่า

อดทนเก็บเงินสะสมซื้อเงินสดจะปลอดภัยกว่า

มีคำแนะนำที่ให้ความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป โดยแจกแจงออกมาได้ดังนี้

  • รายการเดินบัญชีรายรับที่ได้จากแม่ถ้ามีระยะเวลาเกิน 6 เดือน สามารถแจ้งเป็นรายรับคู่ไปกับบัญชีเงินเดือน มีโอกาสที่จะทำเรื่องกู้ผ่านโดยไม่ต้องใช้คนค้ำ
  • ควรเพิ่มวงดาวน์เพื่อให้ยอดผ่อนไม่เกิน 1/3 ของเงินเดือน เพราะไฟแนนซ์จะประเมินกำลังส่งโดนพิจารณาจากฐานเงินเดือน
  • อดทนและใช้เวลาเก็บเงินซื้อสด ดูจากรายรับที่มีต่อเนื่องทุกเดือน ให้ใจเย็นแบ่งค่าใช้จ่ายส่วนนั้นมาเป็นเงินก้อนสำหรับซื้อราคาเต็ม

สรุป : ยังไม่ควรใจร้อนซื้อรถราคาสูงในเวลานี้ หากมีรายรับประจำที่มั่นคงให้เก็บเงินเพื่อซื้อเงินสดจะดีกว่า อีกอย่างความเสี่ยงที่จะกู้ไม่ผ่านมีมากกว่า เพราะไฟแนนซ์ส่วนมากพิจารณาจากฐานเงินเดือน อีกทั้งเพิ่งจะทำงานได้เพียงเดือนเดียว ไม่มีอะไรมาการันตีได้ว่ารายได้ส่วนนี้จะไหลได้ต่อเนื่อง ควรรอสักหกเดือนขึ้นไปเพื่อเก็บเงินเพิ่งวงดาวน์หรือสร้างฐานให้ดูน่าเชื่อเสียก่อน

ดูเพิ่มเติม
>> เงินเดือนหมื่นต้นๆก็ผ่อนได้ กับรถเก๋งราคาเบา ๆ ผ่อนสบายจ่ายสะดวก

>> ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงซื้อรถได้? มาดูวิธีเตรียมความพร้อมหากคิดจะผ่อนรถสักคัน

คำถาม : ค้างค่างวดรถ บริษัทจะมายึดรถ แต่ไม่มีรถให้เขายึด ทำไงด?

ไฟแนนซ์จะมายึดรถ แต่ไม่มีรถให้ยึด ต้องทำอย่างไร?

ไฟแนนซ์จะมายึดรถ แต่ไม่มีรถให้ยึด ต้องทำอย่างไร?

เรื่องของครอบครัวหนึ่งที่บอกเล่าผ่านหญิงสาวผู้เป็นญาติที่เกี่ยวข้อง ถึงเรื่องที่ผู้เป็นน้าสาวได้ทำการผ่อนซื้อรถให้ลูกสาวและลูกเขย โดยทั้งคู่บอกว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง แต่ต่อมาถูกไฟแนนซ์แจ้งมาว่ารถขาดส่งค่างวดถึง 7 งวด และต้องการยึดรถ รายละเอียดเพิ่มเติมมีดังนี้

  • ผู้เป็นแม่ชื่อรถในชื่อตนโดยให้ลูกสาวและลูกเขยลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน
  • ลูกทั้งสองนำรถไปใช้และบอกว่าจะรับผิดชอบส่งค่างวดเอง
  • ผ่านไปสองปี มีบริษัทแจ้งมาว่าจะเข้ามายึกรถเพราะค้างส่งค่างวดมา 7 งวดแล้ว
  • ติดต่อไปยังลูกสาว ลูกเขย ได้คำตอบว่ารถชนกันตอนนี้อยู่ที่อู่ซ่อม แต่คิดว่าน่าจะโกหก เพราะไม่สามารถบอกข้อมูลอู่ที่อ้างได้เลย
  • ทั้งสองขาดการติดต่อโดยไร้ความรับผิดชอบใด ๆ ทิ้งภาระไว้ที่คนเป็นแม่
  • มีหมายศาลแจ้งมายังผู้เป็นแม่ว่าว่าต้องชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดร่วม 4 แสนภายใน 1 เดือน

อยากทราบว่าตอนนี้ผู้เป็นแม่สามารถรับมืออย่างไรได้บ้าง ในฐานะผู้ซื้อ และไม่สามารถติดต่อคนเจ้าปัญหาได้เลย ทำให้ไม่รู้จะต้องไปตามหารถที่ไหน เพื่อมาชดใช้ให้กับบริษัทได้

คำตอบ / คำแนะนำ : ให้ขึ้นศาลเพื่อรับสารภาพและเล่าเรื่องราวทั้งหมดเพื่อขอการผ่อนปรนจากศาล

กรณีนี้ปฏิเสธที่จะรับผิดชอบยาก ให้ทำการต่อสู้ในใช้ศาลไปก่อน โดยแต่ละคนให้คำแนะนำดังนี้

เบื้องต้นให้ขึ้นศาลรับสารภาพแลละเจรจาเล่าความจริงพร้อมแสดงหลักฐาน

เบื้องต้นให้ขึ้นศาลรับสารภาพแลละเจรจาเล่าความจริงพร้อมแสดงหลักฐาน

  • ถ้ายังไม่สามารถระบุหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถได้ ให้ไปทำการแจ้งความไว้ว่ารถหายไว้ก่อน กรณีที่รถยังผ่อนไม่หมดและมีประกัน ก็จะตรวจสอบและทำเรื่องเคลมต่อไป มีโอกาสที่ประกันจะทำหน้าที่ตามรถจนเจอได้
  • เล่าทุกอย่างให้ศาลฟัง ขอความเมตตาและทำเรื่องประนอมหนี้
  • แสดงหลักฐานให้เห็นว่าได้ทำการติดตามทวงหนี้แล้วแต่ไม่เป็นผล เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล
  • เมื่อแจ้งไปว่าไม่สามารถชำระหนี้ต่อศาลได้ ศาลจะไปไล่บี้กับผู้ค้ำประกันเอง

สรุป : ให้ทำการยอมรับสารภาพและขึ้นอธิบายความจริงกับศาล ในกรณีนี้ผู้ค้ำเองก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบ ถ้าแจ้งไปว่าไม่สามารถทำการจ่ายได้ จะเป็นหน้าที่ของศาลและบริษัทที่จะไปติดตามทวงหนี้เอาจากผู้ค้ำประกันเอง ลองเจรจาและแสดงความบริสุทธิ์กับศาลก่อน อาจได้รับการผ่อนปรนและต่อรองกับบริษัทไฟแนนซ์ได้

คำถาม : เจ้าหน้าที่ยึดรถ สามารถเรียกเก็บค่าน้ำมันจากเราได้มั้ย?

แจ้งให้ไฟแนนซ์มายึดรถ ต้องจ่ายค่าน้ำมันหรือไม่?

แจ้งให้ไฟแนนซ์มายึดรถ ต้องจ่ายค่าน้ำมันหรือไม่?

เรื่องราวของครอบครัวหนึ่ง ที่ทำการซื้อผ่อนรถมาใช้ แต่สุดท้ายกลับตกงานจึงอยากจะลดภาระด้วยการปล่อยไฟแนนซ์มายึดรถแทน แต่เจ้าหน้าที่แจ้งเอาไว้ว่าถ้าให้มายึดรถต้องจ่ายค่าน้ำมันในการดำเนินการจำนวน 3,000 บาท แต่เจ้าของรถไม่มีเงินเพียงพอที่จะต้องจ่ายในส่วนี้ จึงอยากทราบว่าปกติแล้ว เจ้าหน้าที่จำสามารถเรียกเก็บค่าน้ำมันรถเพื่อมายึดรถได้หรือไม่

คำตอบ / คำแนะนำ : เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเก็บได้ หากเป็นความประสงค์ที่เราอยากให้มายึดคืนเอง กรณีที่เป็นข้อตกลงที่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา

  • กรณีผู้เช่าซื้อขอให้ไฟแนนซ์มายึดรถ และมาตามเอารถกลับไปเอง ถ้ามีค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับการตกลง
  • มาตรา 573 ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของ โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง การนำทรัพย์ที่เช่าไปคืนเอง สัญญาจะยกเลิก แต่ต้องควักกระเป๋าเอง  ผู้ให้เช่า ไม่ยอมจ่ายให้เด็ดขาด
  • ให้ขับรถไปคืนที่ไฟแนนซ์เองถ้าไม่อยากเสียเงินค่าดำเนินการ

สรุป : ถึงแม้ในกฎหมายจะระบุเอาไว้ว่าไฟแแนนซ์ไม่มีสิทธิ์คิดค่าทวงถามใด ๆ ก็จริง แต่ให้พิจารณากรณีให้ดีจะพบว่าเป็นความประสงค์ของผู้เช่าเองที่จะให้ไฟแนนซ์เข้ามารับรถไป ดังนั้นหากเกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้ว ไฟแนนซ์สามารถเรียกเก็บค่าดำเนินการที่ร้องขอได้

การที่ผู้เช่าซื้อเอารถไปคืนถือว่าสัญญายกเลิก มีผลให้ทางไฟแนนซ์สามารถเรียกเก็บค่าส่วนต่างได้

การที่ผู้เช่าซื้อเอารถไปคืนถือว่าสัญญายกเลิก มีผลให้ทางไฟแนนซ์สามารถเรียกเก็บค่าส่วนต่างได้

แต่! มีเรื่องที่น่ากังวลกว่านั้น เพราะการใช้วิธีแบบนี้เพื่อเป็นการลดภาระนั้นไมได้เป็นอย่างที่คิด เพราะการที่ผู้เช่าซื้อเอารถไปคืนถือว่าสัญญายกเลิก มีผลให้ทางไฟแนนซ์สามารถเรียกเก็บค่าส่วนต่างได้ ต้องตกลงและทำสัญญาให้ดี ๆ

  • ถ้าเอารถไปคืนตอนนี้ถือว่าสัญญายกเลิก  การยกเลิกสัญญาต้องอ้างตาม ประกาศ เรื่องเช่าซื้อ ฯ  ไม่ได้อ้างตาม กฎหมายแพ่ง ตามประกาศ ฯ  ขายรถแล้ว ต้องชดใช้ส่วนต่าง เรียกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาด ฉะนั้น ถึงนำรถไปคืนเอง เรื่องก็ยังไม่ได้จบแค่นั้น
  • ตามข้อ 4 วงเล็บ 5 ของ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 2561ไม่ว่าจะโดนยึด หรือ เอารถไปคืนเอง  ก็ถือว่าสัญญายกเลิกแล้ว ไฟแนนซ์จะนำรถออกขาย  ผู้เช่าซื้อ ต้องได้ชำระส่วนต่างเหมือนกัน ตามกระทู้นี้  ไฟแนนซ์ไม่ได้มายึดรถเพราะไม่เข้าเงื่อนไข แต่ผู้เช่าซื้อไปขอให้ไฟแนนซ์มาเอารถไป เมื่อมีค่าใช้จ่าย ก็ต้องคุยกันเอง
  • ส่งรถคืนให้ไฟแนนซ์ กรณีนี้ ควรถามไฟแนนซ์ว่า เราต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่อย่างไร ควรตกลงกันให้ดี ถ้าตกลงได้แล้วอย่าลืมทำเป็นสัญญา สัญญาต้องระบุให้เราไม่ต้องรับผิดอะไรอีก สัญญานี้อาจจะเป็นหลักฐานการส่งมอบรถด้วย แต่กรณีนี้ไม่ส่วนใหญ่จะเป็นไปได้ยาก ส่วนมากไฟแนนซ์จะไม่ยอม
  • ขายดาวน์ในราคาถูก หรือยกให้คนอื่นไปผ่อนต่อ ดีกว่าถูกยึดแล้วต้องจ่ายส่วนต่าง เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 14324/2558 พิพากษาว่า ขายดาวน์ให้คนอื่นโดยแจ้งไฟแนนส์แล้ว ไม่ต้องจ่ายค่าส่วนต่างอีก
  • ผู้เช่าซื้อชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใดก็ได้ โดยส่วนมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนให้แก่เจ้าของโดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ดังนั้น หากท่านไม่ประสงค์ที่จะเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต่อไป ก็ชอบที่จะนำรถยนต์ส่งมอบคืนให้แก่ไฟแนนซ์ได้โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง แต่หากไฟแนนซ์ดำเนินการยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนด้วยเหตุที่ท่านผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและมีการบอกเลิกสัญญา ท่านจะต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายยเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อ ค่าทนายความและอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยการที่ท่านผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ไฟแนนซ์ได้ใช้จ่ายไปจริงเพื่อการดังกล่าวตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร

สรุป : การปล่อยให้ไฟแนนซ์มายึดรถ เรื่องไม่ได้จบแค่นั้น ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าส่วนต่างด้วย ถ้าเป็นกรณีที่เป็ นอกจากนี้ เมื่อนำรถไปขายทอดตลาดแล้ว กฎหมายยังกำหนดว่า ทางไฟแนนซ์ต้องมีหนังสือแจ้งไปยังผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันว่า ขายทอดตลาดแล้วได้กำไรหรือขาดทุน กรณีที่ขายได้กำไร ทางไฟแนนซ์จะต้องคืนส่วนต่างให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่ถ้าขายแล้วขาดทุน ให้ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ส่วนต่างที่เหลือภายใน 15 วัน

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์ สาระดี ๆ ที่อยากให้อ่าน

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์ สาระดี ๆ ที่อยากให้อ่าน

บางเรื่องถือว่าเป็นความรู้ใหม่ ๆ ก็ว่าได้ สาระดี ๆ หวังว่าเรื่องราวที่น่าสนใจจากการตั้งคำถามนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน และหากมีข้อสงสัยหรือคำถามใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อรถยนต์ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับรถยนต์ สามารถตั้งประเด็นหรือคำถามกับ Chobrod ของเราได้ แล้วเราจะไปตามหาคำตอบมาให้ทุกท่านเอง

ดูเพิ่มเติม

>> ไฟแนนซ์ไม่มีสิทธิ์! อย่าหลงเชื่อคำขู่ ทำความเข้าใจใหม่กับสิทธิของผู้เช่าซื้อรถยนต์ตามกฎหมาย
>> เรียนรู้กฎหมาย "รถติดไฟแนนซ์" ขายต่อจะมีความผิดมั้ย?

ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้

Knong NTP
Avatar

Knong NTP

บรรณาธิการ
ในตอนเด็ก ที่บ้านของผมเป็นอู่ซ่อมรถ ผมมักจะได้ไปเรียนรู้เรื่องเครื่องยนต์รถและงานเทคนิคช่างต่าง ๆ กับพ่อ และสนใจเรื่องแต่งรถกระบะจากน้า จากนั้นก็ซึมซับมาเรื่อย ๆ จากความชอบก็เป็นความรัก ความผูกพัน เริ่มสะสมนิตยสาร มอเตอร์แทร็ก,...