ถือเป็นคำถามยอดฮิตที่ว่า "รถยนต์ยังผ่อนชำระค่างวดไม่หมด" เราเอาไปขายต่อได้มั้ย หลายคนว่าได้ไม่ผิด แต่หลายคนว่าถ้าทำนี่จะซวยต้องถูกฟ้องร้อง แล้วความจริงคืออะไร วันนี้ Chobrod จะเปิดตำรากฎหมายไปหาคำตอบมาให้เลย
เชื่อได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ "สภาพคล่อง" มันขาดมือ หรือเรียกง่ายๆ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายแบบสถานการณ์หนักข้อเข้าแล้ว หลายคนคงจะนึกถึง "รถยนต์" คู่ใจเป็นอันดับแรก
ทั้งนี้ ก็เพื่อแปรเปลี่ยนมันจาก "รถ" ให้กลายเป็น "เงิน" เพื่อมาต่อยอดลมหายใจและใช้หนี้สินหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ กันได้ต่อ แต่หลายคนรู้หรือเปล่า รวมถึงมักจะมีคำถามอยู่บ่อยๆ เช่นกันว่า หากรถที่เราครอบครองอยู่ มันยังติดอยู่กับไฟแนนซ์ หรืออยู่ระหว่างผ่อนรายเดือนกันแบบตามปกติอยู่ล่ะ หากเราอยากจะขาย มันทำได้หรือเปล่า
คำถามนี้ถือว่าคาใจผู้ใช้รถยนต์ที่ต้องการเปลี่ยนรถเป็นเงินอย่างมาก ซึ่งวันนี้ Chobrod ไปหาคำตอบมาให้ว่ามันทำได้หรือไม่ เพราะหลายคนก็คิดว่าการที่รถของเรายังคงติดไฟแนนซ์อยู่กับสถาบันการเงินแห่งต่างๆ ตามกรรมสิทธิ์แล้วมันยังไม่ใช่ "ของเรา" แบบร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม หากไปขายก่อนก็กลัวว่าจะมีปัญหาฟ้องร้องกัน ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันอีก เพราะผ่อนค่างวดยังไม่หมด ก็ดันเอารถไปขาย
ขายรถยนต์ติดไฟแนนซ์ จะว่าไปมันก็ผิด แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีทำให้ถูกต้อง
กฎหมายเรื่องนี้ระบุเอาไว้ในประมวลกฎหมาย "อาญา" ทีเดียวนะครับ เพราะแน่นอนว่าหากเอาไปขายขณะที่รถของเรายังผ่อนไม่หมดนั้น คุณคิดถูกแล้วครับว่ามันเป็น "ความผิด" แน่นอน ซึ่งผิดในข้อหาฐานยักยอกทรัพย์ มาตรา 352 ของประมวลกฎหมายอาญาทีเดียว
ซึ่งกฎหมายในมาตรานี้ ระบุเอาไว้ว่า "ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นมาเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ความหมายแบบภาษาบ้านๆ ก็คือว่า หากรถยนต์ของเรายังติดอยู่กับไฟแนนซ์ ยังผ่อนไม่หมดครบสิ้นตามกำหนด กรรมสิทธิ์ของรถยนต์ยังไม่ใช่ของ "คนขับ" หรือ "คนที่ใช้รถคันนี้อยู่" แต่สิทธิ์การครอบครองนี้ยังคงเป็นของไฟแนนซ์ หรือของสถาบันการเงินต่างๆ ที่เราไปผ่อนให้นั่นเอง ซึ่งเขาแค่ให้เราเอามาใช้ก่อนเท่านั้น และแน่นอนว่า "ไม่มีสิทธิ์เอาไปขายต่อ" นั่นเอง
ดูเพิ่มเติม
>> 7 คำถามยอดฮิตกับ "รถบ้านเจ้าของขายเอง" ที่ก่อนซื้อก่อนขายก็ต้องรู้
>> 5 เหตุผลที่คนอยากปลี่ยนประกันรถยนต์สิ้นปี
แต่แน่นอนว่าเมื่อขายไปแล้ว และไม่ไปเคลียร์กับไฟแนนซ์รับรองเรื่องยาว
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสียทีเดียว และทางออกนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดกฏหมายด้วย หากแต่ยังทำได้แต่ต้องทำให้ถูกต้องนะครับ เพราะหากเราอยากจะขายรถยนต์ที่ติดไฟแนนซ์ ก็ต้องมั่นใจว่าเมื่อตกลงราคากับผู้ซื้อได้แล้ว เมื่อได้เงินก้อนนั้นมา ก็ต้องนำเงินก้อนนี้ไปปิด "ยอด" ทั้งหมดที่มีอยู่กับไฟแนนซ์ซะ และยังมีโอกาสได้ต่อรองขอลดดอกเบี้ยกับทางไฟแนนซ์ได้อีกด้วย
เมื่อเป็นไปตามขั้นตอนนี้ หลังจากชำระหนี้สินกับไฟแนนซ์หมดแล้ว ทางไฟแนนซ์ก็จะนำสมุดเล่มทะเบียนตัวจริง พร้อมกับการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเจ้าของรถยนต์ที่ชำระหนี้สินหมดแล้ว จากนั้นเราก็เอาเล่มนี้ไปโอนต่อให้กับผู้ที่มาซื้อรถยนต์ของเรา
เพราะกฎหมายอาญาระบุชัดว่าหากนำรถยนต์ที่ติดไฟแนนซ์ไปขาย อาจเข้าข่ายความผิดยักยอกทรัพย์
แต่ก็ยังมีอีกวิธี คือ ทำข้อตกลงให้ผู้ซื้อต่อรถยนต์ของเราไปทำการผ่อนต่อชำระค่างวดกับไฟแนนซ์ต่อไป แต่ก็ต้องทำเรื่องกับไฟแนนซ์เพื่อขอโอนกรรมสิทธิ์ผู้ซื้อ ซึ่งก็ตกลงราคากันกับผู้ซื้อจะบวกเงินดาวน์ที่เคยจ่ายนเอาไว้ และค่างวดที่เคยชำระไปบ้างแล้วก็ตกลงกันกับผู้ซื้อให้ดีๆ รูปแบบนี้เราเรียกกันติดปากว่า "ขายดาวน์" นั่นเอง
พอเป็นวิธีตามข้อกฎหมายที่เราๆ คนใช้รถยนต์จะต้องรู้เอาไว้บ้างนะครับ ทางที่ดีที่สุดคือทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากขายรถที่ติดไฟแนนซ์ต่อกับผู้อื่นก็ต้องนำเงินไปชำระกับไฟแนนซ์ให้เรียบร้อย อย่าเชิด! หรือหอบเงินหนีหาย หรือไปฟังใครว่าทำได้ และโยนความซวยให้กับคนที่มาซื้อรถต่อไป เพราะแบบนี้จะติดคุกติดตะรางเอาได้ง่ายๆ แถมยังต้องมานั่งปวดหัวใช้ชีวิตไม่มีความสุขอีก เพราะต้องไม่ลืมว่าความผิดนี้มันคือกฎหมายอาญา ที่ยอมความกันไม่ได้นะครับ อย่าลืม
เรียนรู้กฎหมาย "รถติดไฟแนนซ์" ขายต่อจะมีความผิดมั้ย?
ดูเพิ่มเติม
>> เทคนิคขายรถมือสอง ที่คุณอาจไม่เคยรู้
>> เตรียมขายรถบ้าน เรื่องอะไรบ้างที่ควรนึกถึง
ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้