รถบ้านที่เจ้าของขายเอง ตามสภาพที่คนซื้อพอใจ ทั้งราคา คุณภาพ สภาพของรถยนต์ กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราลองมาดูกันหน่อยดีกว่าว่า “รถบ้าน”ที่จะซื้อหากันเนี่ย มันมีข้อดีและข้อเสียกับเรื่องอะไรบ้าง ที่ต้องดูเป็นพิเศษ
อย่างที่ Chobrod เคยบอกเอาไว้อยู่เป็นประจำ เกี่ยวกับความรู้ของการ “ซื้อขายรถยนต์”แต่หากเป็นรถยนต์มือหนึ่งป้ายแดง ออกจากโชว์รูม ปัญหาจุกจิกก็คงจะไม่ค่อยมีให้กวนใจมากนัก จะยากหน่อยก็แค่การตัดสินใจว่า “สวยหรือไม่สวย”หรือ “โดนใจ” หรือไม่เท่านั้นเอง เพราะแน่ล่ะว่าคุณสมบัติของรถยนต์ที่เป็นของใหม่ ปัญหาความวุ่นวายทั้งด้านเอกสาร หรือแม้แต่เรื่องเครื่องยนต์ ก็ไม่ได้จะเป็นปัญหาให้กวนใจ
แต่หากกับการซื้อขายรถยนต์นั้น โดยเฉพาะกับรถยนต์มือสอง คนซื้อก็ต้อง “ละเอียด”ให้มากขึ้น เพราะสุ่มสี่สุ่มห้าไปเลือกซื้อโดยไม่มีความรู้ หรือไม่ได้ศึกษารุ่น ยี่ห้อ รถยนต์คันที่ต้องการเอาไว้ก่อน ก็อาจจะโดนเจ้าของรถยนต์คันนั้น หรือแม้แต่เต๊นท์รถเองก็ตาม โขกสับรีดราคาขึ้นไปสูง แต่กลับได้รถยนต์ที่ไม่มีคุณภาพกลับมาแทน ซ้ำร้ายยังต้องมาปวดหัวต่อเนื่องในการซ่อมแซมเข้าให้อีก
เช็คกันหน่อยว่า "รถบ้าน"มีข้อดีและข้อเสียอะไรกันบ้าง
กระนั้นก็ตาม สำหรับ Chobrod ก็พอสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ต้องการรถยนต์มือสองได้มากไม่น้อย เพราะเป็นการคัดให้แล้วใน “ระดับหนึ่ง” เพื่อให้ผู้ที่ต้องการรถยนต์มือสองได้ตัดสินใจในขั้นต่อไป ว่ารายละเอียดของรถยนต์มือสองคันที่ต้องการ คุณสมบัติเพียงพอกับความต้องการแล้วหรือยัง ทั้งราคา คุณภาพ เป็นต้น
แน่นอนว่านอกจากรถเต๊นท์ที่เป็นรถยนต์มือสองแล้ว ลักษณะของรถยนต์มือสองยังมี “รถบ้าน” มาไว้ให้พิจารณาอีกทางเลือกด้วยสำหรับคนที่เงินในกระเป๋าหรือบัญชีธนาคารอาจมีน้ำหนักไม่พอจะถอยป้ายแดงออกมาขับ ดังนั้น วันนี้เราจะเปิดคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับรถบ้าน เพื่อมาสร้างความกระจ่างให้กับผู้อ่านว่ารถบ้าน มันคืออะไร และข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง จากคำถามบนโลกออนไลน์ต่างๆ นี้เอง ว่าแล้วก็เริ่มเลย
- “รถบ้าน”เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มองหารถยนต์มือสองมาใช้งาน เพราะในความหมายของมันคือ “เจ้าของรถยนต์” มาขายเอง ไร้การปรุงแต่ง หรือดัดแปลง เปลี่ยนอะไหล่ จากเต๊นท์รถยนต์บางแห่งที่อาจจะหัวหมอย้อมแมวให้กับลูกค้า และส่วนใหญ่หากใครซื้อ “รถบ้าน”ก็มักจะได้รถยนต์ตามสภาพที่เห็นจริงๆ และผ่านการใช้งานจริงจากเจ้าของเดิมโดยไม่มีการปรุงแต่งเพิ่มแต่ประการใด
- การซื้อ “รถบ้าน”แม้ว่าจะมีข้อดีอยู่เหมือนกัน คือ ได้รถสภาพเดิม ไม่มีปรุงแต่ง โดยคำว่า “รถบ้าน” ส่วนใหญ่ที่วางขายกันทั้งตามเว็บไซต์รถยนต์ อย่างเช่นที่ Chobrod เป็นต้น หรือแม้แต่การจอดตระหง่านริมถนนแล้วแปะป้ายบอกว่า “ขาย”ส่วนมากแล้วจะเป็นรถบ้านที่สภาพเดิมจริงๆ ไม่มีการดัดแปลงเปลี่ยมโฉมกันก่อนขาย หรือพลิกหน้าตาของรถยนต์ให้ดูเหมือนใหม่กว่าเดิมเพื่อล่อเงินในกระเป๋าของคนที่สนใจ เพื่อโก่งราคาให้สูงขึ้นแล้วฟันกำไรหนักๆ แบบรถเต๊นท์
รถมือสองก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาตามเว็บไซต์ อย่าง Chobrod เป็นต้น
- คำตอบคือมันแล้วแต่จังหวะและโชคชะตาจริงๆ เพราะ “รถบ้านเจ้าของขายเอง”ก็คือรถยนต์ที่เจ้าของเดิมขายเอง แต่หากว่ากันเรื่องของการต่อรองราคาแล้วล่ะก็ จะง่ายกว่ารถเต๊นท์อยู่เหมือนกัน หากจะขอต่อรองพูดคุยกันก็ทำได้ง่ายกว่าเดินเข้าเต๊นท์รถ เหตุผลนี้เองที่ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มนิยม “รถบ้าน” กันมากขึ้น เพราะสามารถคุยได้โดยตรงกับเจ้าของรถยนต์นั่นเอง
- คำถามนี้มักจะถูกถามอยู่บ่อยครั้งทีเดียว ก่อนอื่นเท่าที่ Chobrod ไปหาคำตอบมาได้นั้น พบว่า “รถบ้านเจ้าของขายเอง” ก็คือรถยนต์ที่ขายกันด้วยสภาพจริง ที่ผ่านการใช้งานมาจริงๆ จากเจ้าของคนเดิม ซึ่งการใช้งานมันก็ “แล้วแต่คน”จริงๆ บางคนรักรถก็ทะนุถนอม ดูแลบำรุงตามระยะทางเป็นอย่างดี เมื่อคิดจะขายก็ทำให้คนซื้อได้รถต่อไปในสภาพดี แต่หากเป็นคนที่ไม่รักรถแล้วล่ะ แน่นอนว่าการใช้รถยนต์ก็สมบุกสมบันเป็นแน่แท้ อาจจะขาดการบำรุงรักษาที่ดี ทำให้คนที่คิดจะซื้อต่อหากไม่เช็คให้รอบคอบ ก็มีสิทธิ์ได้รถยนต์ที่มีสภาพ “หนัก” มาใช้งาน หรือเจอปัญหาหมกเม็ดภายหลังได้ง่ายๆ แต่เรื่องนี้แก้ไขได้ด้วยการเช็คให้ได้ทุกจุด
ดูเพิ่มเติม
>> เรื่องน่ารู้ของ “รถบ้าน” ที่เจ้าของเป็นคนขายเอง
>> เคล็ดลับในการเช็คกระบะมือสอง ด้วยตัวเราเอง
ซื้อรถบ้านเจ้าของขายเองก็มีสิทธิ์ได้ทั้งรถดี และรถไม่ดีเช่นกัน
- คำตอบคือมีแทบจะทุกที่แน่นอน เพราะสถานบันการเงินต่างๆ ก็ต้องการลูกค้าเหมือนกัน และลูกค้าที่จะเลือกซื้อรถบ้านก็ต้องการไฟแนนซ์มาจ่ายเงินก้อนให้ก่อนแล้วผ่อนทีหลัง ซึ่งก็เป็นแบบฉบับของคนไทยในการซื้อรถยนต์ไม่ว่าจะมือหนึ่งมือสองอยู่แล้วด้วย แต่ทั้งนี้ ในเรื่องของเอกสารการกู้ไฟแนนซ์รถยนต์มาซื้อนั้น ผู้ซื้ออาจจะต้องติดต่อหาแหล่งเงินกู้ที่ถูกกฎหมายกันเอาเอง จะไม่เหมือนกับการซื้อขายรถยนต์ตามเต๊นท์รถ หรือแม้แต่ในโชว์รูมเองก็ตาม แน่นอนว่าเอกสารต่างๆ จะมีขั้นตอนที่ละเอียด ทั้งการเปรียบเทียบดอกเบี้ย ยอดจัดไฟแนนซ์ว่าได้เท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จิปาถะ และทำเสียเวลาเป็นสัปดาห์ๆ หากเอกสารไม่พร้อม ความยุ่งยากนี้เองที่ทำให้ไม่สามารถปิดการซื้อขาย “รถบ้าน”ระหว่างเจ้าของและคนซื้อได้ จนทำให้ต้องเบนเข็มไปหารถเต๊นท์แทน
-ขั้นตอนนี้ ไม่ต้องเตรียมอะไรมากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เพราะเอกสารสำคัญก็ต้องมีไว้อยู่แล้ว ทั้งสัญญาซื้อขายรถยนต์ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน แต่การเขียนสัญญาก็ต้องลงวันที่ให้ชัดเจน การรับเงินก็ต้องทำเอกสารเพื่อให้เป็นหลักฐานระหว่างกันเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น อาจจะออกเป็นใบรับเงินขึ้นมาเองก็ได้ เซ็นต์ชื่อผู้จ่าย ผู้รับ ถ่ายรูปบัตรประชาชนคู่เอาไว้ด้วย ทั้งสัญญาซื้อขาย และใบรับเงิน
เลือกรถบ้าน ใครสนใจ ขอให้โชคดีครับ
- ส่วนการโอนหากมีเวลาให้รีบดำเนินการเอง หากเซ็นต์โอนลอย ให้ติดตามการโอน โดยโทรไปถามกับผู้ขายให้ชัดเจนว่ามีการโอนเสร็จสิ้นหรือยัง รวมถึงต้องติดตามที่กรมการขนส่งทางบกด้วย แต่ทางที่ดีควรจะไปโอนด้วยกันที่ขนส่งฯ ทั้งคนซื้อและคนขาย
ทั้ง 7 คำถามที่ chobrod นำมาฝากเกี่ยวกับ “รถบ้าน” น่าจะเป็นข้อมูลสำหรับมือใหม่ที่เริ่มมองหารถยนต์ไว้ใช้งาน แต่ไม่ต้องการทุ่มไปกับรถใหม่ป้ายแดง แน่นอนน่า “รถบ้านเจ้าของขายเอง” จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหารถยนต์มือสองสำหรับผู้ที่ต้องการ แต่ไม่ว่าจะได้รถคุณภาพไหนมา การขับขี่ก็ต้องปลอดภัย ไม่ประมาทนะครับ
ดูเพิ่มเติม
>> 3 ข้อขอแนะนำกับ “รถบ้าน” ดีๆ ก่อนจะตัดสินใจซื้อมาครอบครอง
>> ล้วงลึกเรื่องรถบ้าน ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับรถเจ้าของขายเอง
แต่หากสนการซื้อขายรถมือสอง, ราคารถมือสองเลือกซื้อเลือกชมได้ที่ Chobrod ของเราได้นะครับ