ภาครัฐเผยถก 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ผลิตรถยนต์จากแดนปลาดิบ เห็นพ้องขอชะลอพัฒนารถยนต์อีโคอีวี เหตุตอนนี้ผู้ผลิตต้องการทุ่มกับการสนับสนุนรถไฟฟ้าไฮบริดในตลาดรถเมืองไทยมากกว่า
นับเป็นอีกหนึ่งข่าวร้อนๆ ในวงการรถยนต์ และตลาดรถในประเทศไทย ที่แม้ว่าทิศทางการสนับสนุนจากภาครัฐในการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ ผลิตรถยนต์ในกลุ่มพลังงานทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ไฟฟ้า ระบบปลั๊กอินไฮบริด ระบบไฮบริด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคในประเทศ และยังกำหนดทิศทางของอนาคตในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเราด้วย นอกจากนี้ ก็ยังเป็นการช่วยให้รักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
3 ค่ายยักษ์ญี่ปุ่นชะลอ “อีโคอีวี” ในตลาดรถไทย
โดยเฉพาประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ภาครัฐกำลังใส่ใจ เพราะต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมา “รถยนต์” กลายเป็นผู้ร้ายอยู่บ่อยครั้งหากเกิดเรื่องปัญหามลพิษขึ้นมา
อีโคอีวี ยังไม่เกิดง่ายๆ ในตลาดรถไทย
การพัฒนาและสนับสนุนจากภาครัฐจึงต้องการให้กลุ่มการใช้รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกต้องเกิดขึ้น แต่สำหรับกลุ่มรถยนต์อย่าง “อีโคคาร์” หรือที่ย่อมาจาก Ecology Car หรือรถยนต์รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่รถยนต์ราคาถูกอย่างที่หลายคนเข้าใจ หรือรถยนต์ประหยัดพลังงานก็ตาม หากแต่มันคือรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการหนุนให้เกิดรถอีโคคาร์แบบไฟฟ้า ก็แน่ล่ะว่าค่ายผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ดูเพิ่มเติม
>> เปิดผ้าคลุมมอเตอร์โชว์ พบกับ MINE SPA1 รถยนต์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย
>> 10 ยานยนต์พลังไฟฟ้าสุดหรูที่น่าสนใจในงาน “Geneva Motor Show 2019”
ถือว่าเป็นข่าวที่น่าสนใจทีเดียว เพราะ 3 ค่ายผลิตรถยนต์ขอชะลออีโคอีวี
แต่กับท่าทีล่าสุดในส่วนของการลงทุนการผลิตรถยนต์ อีโค อีวี (ECO EV) ก็มีความคืบหน้าออกมาจากฟากฝั่งของรัฐบาล แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นข่าวที่สู้ดีนักหรือไม่
เพราะล่าสุด นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ก็ออกมาระบุว่า สศอ.ได้ประชุมร่วมกันกับผู้บริหารจาก 3 ค่ายผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น คือ Nissan, Honda และ Toyota ที่ต่างก็สนใจจะลงทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในระยะแรก แต่ทั้งหมดบอกมาว่า ยังไม่มีความพร้อมในการจะไปลงทุนพัฒนาและผลิตรถยนต์อีโคอีวี แต่ก็ไม่ได้ทิ้งไปเสียทีเดียว เพราะทั้ง 3 ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ อยากให้รัฐบาลไทยชะลอการใช้มาตรการอีโออีวี ออกไปเป็นปี 2563 หรือช้าออกไปในปี 2568 ซึ่งเป็นกำหนดหมดมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
และแน่นอนว่า การที่สศอ.เตรียมปรับปรุงข้อเสนอมาตรการอีโคอีวีในครั้งนี้ ก็เพราะต้องการปิดจุดอ่อนของมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าในระยะแรกให้ได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็พบว่ามีปัญหาอยู่ 3 เรื่องหลักๆ คือ 79.8% ของรถยนต์ทุกคันเป็นการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด ที่ไม่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ จึงไม่เอื้อต่อการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า ที่จำเป็นต่อการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่
นายณัฐพล ยังบอกอีกว่า นอกจากตัวเลขเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวที่มุ่งลงทุนไปในรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดแล้ว ยังพบอีกกว่า 91% ของรถยนต์ที่ได้รับการสนับสนุน ไม่มีการลงทุนในส่วนของเทคโนโลยีหลัก หรือ Core Tech แต่เป็นการลงทุนในส่วนขั้นปลายสุด หรือส่วนประกอบ
“และราคารถยนต์ไฟฟ้าที่อยู่ราว 1-6 ล้านบาท ยังถือว่าสูงเกินไปสำหรับประชาชนที่จะเข้าถึงได้ ซึ่งราคาที่เหมาะสมควรจะอยู่ระหว่าง 5-6 แสนบาท ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระตุ้นการใช้จ่ายขึ้นจริงๆ” ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. กล่าวทิ้งท้าย
ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา และน่าจับตามองมว่าทิศทางอนาคตจะเป็นอย่างไร จะมีรถยนต์ไฟฟ้าสมบูรณ์แบบออกมาวิ่งบนท้องถนนเมืองไทยหรือไม่ คนไทยและคอรถยนต์จะต้องติดตาม
ดูเพิ่มเติม
>> Volvo ท้าชน Tesla ส่ง “Polestar 2” ชิงตลาดรถ
>> Audi รุกหนักตลาดรถไฟฟ้าในไทย จ่อทุ่ม 3 พันล้านผุดโรงงาน