ไทยล้ำหน้า ผุดโครงการ “รีไซเคิลซากรถยนต์” ต้นแบบให้ชาติในอาเซียน

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 11 ก.พ 2562
แชร์ 4

กระทรวงอุตสาหกรรมจับมือกนอ.และประเทศญี่ปุ่น วางระบบ “รีไซเคิลซากรถยนต์”อย่างเป็นระบบ โดยมี Toyota ร่วมวางระบบให้ หวังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังเป็นต้นแบบในอาเซียนให้เดินหน้าตามอีกด้วย

ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นอีกเมืองที่ถูกเรียกว่า“มหานครแห่งรถยนต์” กันเลยทีเดียว เพราะทั้งจำนวนรถยนต์ที่มหาศาลสัญจรกันบนท้องถนน แค่ในกรุงเทพมหานครก็มีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคันเข้าให้แล้ว อีกทั้งยังถูกยกให้เป็น “ฮับ”​ แห่งการผลิตอีกด้วย เพราะทุกค่ายยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์ของโลก ก็ปักหลักถิ่นฐานในประเทศไทยนี่แหล่ะ เพื่อให้สามารถกระจายผลิตภัณฑ์รถยนต์ของค่ายตัวเองไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ของโลกใบนี้

แน่นอนว่า การจัดการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งกับปริมาณรถยนต์อันมหาศาล และไม่ใช่แค่การเปลี่ยนผ่านรถยนต์จากมือหนึ่งไปยังมือสองเท่านั้น หากแต่เราอาจจำต้องคำนึงถึงการจัดการ “ซากรถยนต์” เมื่อไม่ถูกใช้งานไปแล้ว

ซากรถยนต์ในประเทศไทยกำลังจะถูกจัดการอย่างเป็นระบบในมาตรฐานแบบญี่ปุ่น

ซากรถยนต์ในประเทศไทยกำลังจะถูกจัดการอย่างเป็นระบบในมาตรฐานแบบญี่ปุ่น 

ล่าสุดในประเด็นนี้ที่ Chobrod เองก็สงสัย ก็พลันได้คำตอบจากกระทรวงอุตสาหกรรมที่แถลงข่าวออกมาพอดิบพอดี และเพิ่งมาถึงบางอ้อเช่นเดียวกับผู้อ่านอีกหลายๆ ท่านว่า การจัดการซากรถยนต์ในโลกยุคนี้นั้น มันสามารถ “รีไซเคิล” กันได้ด้วย เพราะกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้ตกลงความร่วมมือกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เนโดะ) ที่จะได้ร่วมกัน รีไซเคิลซากรถยนต์

น.ส.สมจิณณ์ พิลึก  ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงเรื่องนี้ที่เป็นของใหม่สำหรับประเทศไทยเกี่ยวกับแวดวงยานยนต์ครั้งสำคัญ ว่า  จากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อการบริหารจัดการด้านทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับ กนอ. มีแผนงานการขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จึงได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับอีก 2 องค์กร คือ กระทรวงอุตสาหกรรม และเนโดะ เพื่อผลักดันโครงการสาธิตสำหรับการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการรีไซเคิลทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับ​ “ซากรถยนต์” ที่หมดอายุใช้งานในประเทศไทย หรือที่เรียกว่า ELV

ดูเพิ่มเติม
>> 
ค่ายรถเยอรมันประณาม “การทดลอง” ใช้ “ลิง” ทดลองมลพิษ
>> มุมมองตลาดรถยนต์ในปี 2562 เป็นยังไงบ้างมาดูกัน

ซากรถยนต์มหาศาล หากจัดการไม่ดีก็มีความอันตรายทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ซากรถยนต์มหาศาล หากจัดการไม่ดีก็มีความอันตรายทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ด้วยเช่นกัน 

ซึ่งโครงการนี้ จะมาช่วยสร้างระบบหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจากซากรถยนต์ที่ใช้แล้วในประเทศไทย โดยการนำเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นมาสาธิตในการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นโมเดลการรีไซเคิลทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียในอนาคต

“เพราะประเทศไทยนับได้ว่า เป็นผู้นำการผลิตด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียน แต่ก็ยังไม่มีระบบบการจัดการซากรถยนต์อย่างเป็นระบบเช่นที่ประเทศญี่ปุ่น อีกทั้ง การรื้อถอนซากชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์จะใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการรื้อถอนซากรถยนต์เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปนเปื้อนในดินจากน้ำมันและสารเคมีเหลว ปัญหาคุณภาพน้ำ หรือการปล่อยสารฟรีออนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นความร่วมมือในโครงการ ELV ครั้งนี้ ระหว่างไทยและญี่ปุ่น กนอ.เชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ดีให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจจัดการซากรถยนต์มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการกำจัดซากรถยนต์อย่างเหมาะสมถูกวิธี ช่วยประหยัดพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม รองรับการเกิดซากยานพาหนะจำนวนมากในอนาคต" น.ส.สมจิณณ์กล่าว

น.ส.สมจิณณ์ พิลึก  ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

น.ส.สมจิณณ์ พิลึก  ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

ทั้งนี้ โครงการ ELV จะดำเนินการระหว่างปี 2562- มีนาคม 2564 โดยทางเนโดะจะมอบให้บริษัท โตโยต้า ทูโช คอร์ปอเรชั่น (Toyota Tsusho Corporation) เป็นผู้ดำเนินการโครงการหลัก ที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีภายในโรงงานสาธิตของ บริษัท กรีน เมทัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 3 จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการกิจการคัดแยกขยะและรีไซเคิลโลหะโดยการตัด บด ย่อยเศษโลหะ และวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นอันตรายทุกประเภท ซึ่งโครงการสาธิตนี้จะทดลองเฉพาะเศษซากรถยนต์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในไทยเท่านั้น

บริษัท โตโยต้า ทูโช คอร์ปอเรชั่น จะเข้ามาวางระบบ

บริษัท โตโยต้า ทูโช คอร์ปอเรชั่น จะเข้ามาวางระบบ "รีไซเคิลซากรถยนต์" ให้ประเทศไทย 

ผู้ว่า กนอ. บอกย้ำอีกว่า โครงการสาธิตดังกล่าวนี้นอกจากจะสาธิตการถอดรื้อซากรถยนต์ไปพร้อมๆกับการรวบรวมสารฟรีออน น้ำมันและของเหลวเหลือทิ้งซึ่งใช้วิธีการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสามารถตรวจสอบประวัติย้อนหลังได้แล้ว จะมีการสาธิตเครื่องตัดรถยนต์ (Cutting Machine) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถอดรื้อซากรถยนต์ด้วยจากการที่สามารถดึงเอาสิ่งมีค่ากลับคืนมาได้อย่าง มีประสิทธิภาพจากซากรถยนต์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถจัดการกับวัสดุเหลือทิ้งได้เป็นอย่างดี

Chobrod ขอสรุปแนวทางความร่วมมืดังกล่าวไว้ให้ผู้อ่านทราบคร่าวๆ โดยจะเป็นการร่วมกันวางมาตรการออกแบบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดการวัสดุเหลือทิ้งที่ไม่สามารถกำจัดได้ภายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ อาทิ สารเร่งปฏิกิริยา แผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยการวางมาตรการดังกล่าวจะอ้างอิงจากกฎหมายรีไซเคิลรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น

ซากรถยนต์แบบนี้จะไม่ถูกทิ้งขว้าง แต่จะได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง

ซากรถยนต์แบบนี้จะไม่ถูกทิ้งขว้าง แต่จะได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 

รถยนต์หนึ่งคันประกอบขึ้นมายาก แต่การทำลายเมื่อไม่ใช่งานก็ไม่ง่ายเช่นกัน

รถยนต์หนึ่งคันประกอบขึ้นมายาก แต่การทำลายเมื่อไม่ใช่งานก็ไม่ง่ายเช่นกัน 

ประเทศไทย นอกไปจากจะเป็นเมืองที่มีรถยนต์มหาศาล แต่เราก็กำลังมีระบบจัดการซากรถยนต์ที่ดีและได้มาตรฐาน อย่างนี้ถือได้ว่าไม่ใช่แค่ขับอย่างเดียว แต่ยังใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ดูเพิ่มเติม 
>> 
“รถเก่ากับสนิม” เรื่องที่ควรระวัง และความปลอดภัยที่ลดลงจากการสึกกร่อน
>> รถเก่ามีเสียว! บิ๊กตู่บอกต้องตรวจวัดมลพิษ เก็บภาษีช่วยแก้ปัญหามลภาวะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้