บอร์ดอีวี เคาะเพิ่ม ดันอีก 2 ปีจะต้องผลิตรถไฟฟ้า 2 แสนคัน สถานีชาร์จไฟฟ้ากำลังสูง 12,000 หัวจ่าย ในปี 2573

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 17 พ.ค 2564
แชร์ 4

หรือในอีก 9 ปี ข้างหน้า มีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ 225,000 คัน รถจักรยานยนต์ 360,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 18,000 คัน จะต้องมีหัวฟาสชาร์จ 12,000 หัวจ่าย สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swap) 1,450 แห่ง พร้อมกำหนดมาตรการส่งเสริมทางการเงินและภาษี

จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ครั้งที่ 2/2564 ซึ่งเป็นการประชุมผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ สรุปเคาะมาตรการใหม่เกี่ยวกับอนาคต รถยนต์ไฟฟ้า (ZEV-Zero Emission Vehicle) ในประเทศไทย จากเดิม

  • นโยบายการใช้งานรถ ZEV ภายในประเทศ อัตรา 50% ภายในปี 2030 และเป็น 100% ภายในปี 2035
  • นโยบายการผลิตรถ ZEV อัตรา 30% ภายในปี 2030 และเป็น 50% ภายในปี 2035 ซึ่งเป็นการวางแผนผลิตเพื่อส่งออก

ได้เผยนโยบาย 30/30 โดยมีกำลังการผลิตรถ ZEV อย่างน้อย 30% ของการผลิตในปี 2573 หรือปี 2030) ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคตและเพื่อก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก

อ่านเพิ่มเติม
ชงเก็บ ภาษีรถเก่า ใช้ดันแผนรถยนต์ ZEV
ประเทศไทยเอาด้วย ? เตรียมจะเลิกรถที่ใช้เครื่องยนต์ในปี 2035

กำหนดเป้าหมายและมาตรการที่ชัดเจนจากบอร์ดอีวีในปี 2573

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้หลายๆ ประเทศเช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆในทวีปยุโรป ได้กำหนดเป้าหมายและมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริม EV สำหรับประเทศไทยเองได้มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตและการใช้ EV ในการประชุมครั้งนี้โดยกำหนดให้ภายในปี 2573

  • ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน
  • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน
  • รถบัส/รถบรรทุก ไฟฟ้า จะมีการผลิตทั้งสิ้น 34,000 คัน

กำหนดเป้าหมายการใช้ในประเทศ การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า และเป้าหมายการผลิตแบตเตอรี่ 2573

  • ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะกระจายทั่วประเทศ สำหรับรถยนต์นั่งและรถกระบะในลักษณะ Fast Charge จะมีจำนวน12,000 หัวจ่าย
  • สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ให้กับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้างและส่งสินค้า Delivery จำนวนทั้งสิ้น 1,450 แห่ง

ความคืบหน้าด้านอื่น ๆ 

  • กำหนดมาตรการส่งเสริมทางการเงินและภาษี
  • การกำหนดมาตรฐานเพื่อความปลอดภัย พร้อมทั้งบูรณาการให้เข้ากับระบบสมาร์ทกริด ด้านการผลิตแบตเตอรี่ได้พิจารณาจากแผนการผลิตของภาคเอกชนแล้วที่ประชุมจึงได้กำหนดเป้าหมายการผลิตแบตเตอรี่ให้สอดคล้องกับการผลิตรถ ZEV ในประเทศ
  • กรอบแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนโดยมุ่งเน้นให้ประเทศเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนผ่านมาตรการด้านภาษี
  • กำหนดมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า
  • ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามีกรอบแนวทางมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
  • การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้ามีแนวทางการสนับสนุนการลงทุน พร้อมทั้งหาแนวทางการลดขั้นตอน ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาการขออนุญาตติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า



การประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อเดือนมีนาคม

ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการนำแนวทางต่าง ๆ ไปศึกษาถึงรายละเอียดและความเป็นไปได้ของมาตรการส่งเสริม เพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป โดยมาตรการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) : ปี 2564 – 2565 นำร่องส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั่วประเทศ
  • ระยะที่ 2 : ปี 2566 – 2568 พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าโดยมีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ 225,000 คัน รถจักรยานยนต์ 360,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 18,000 คัน ภายในปี 2568 รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแรกและถือว่าเป็นเป้าหมายการผลิตในระดับ Economy of Scale
  • ระยะที่ 3 : ปี 2569 – 2573 ขับเคลื่อนแผนและมาตรการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุตามนโยบาย 30/30 ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน คิดเป็น 30% ของการผลิตในปี 2573 และรวมถึงการผลิตแบตเตอรี่เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศด้วย

รถยนต์มือสอง ตลาดรถมือสอง มีรถมากมายให้เลือกในราคาที่ถูกใจ