เจาะประเด็นน่ารู้! ว่าด้วยรถประจำตำแหน่ง เกิดคดีขึ้นมา ใคร ? จะเป็นผู้รับผิดชอบ

ประสบการณ์ใช้รถ | 13 ก.ย 2562
แชร์ 0

รวบรวมเรื่องราวสาระดี ๆ ที่น่าสนใจ ว่าด้วยเรื่องรถประจำตำแหน่ง รวมถึงบทบาทด้านกฎหมาย หากเกิดกรณีที่รถประจำตำแหน่งประสบเข้ากับเหตุการณ์ที่ทำให้รถได้รับความเสียหาย ใคร ? จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกันแน่ ระหว่างผู้ใช้รถ หรือหน่วยงานเจ้าของรถ

ใคร ๆ ก็อยากทำงานแล้วมีรถประจำตำแหน่งเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบที่ขับเองหรือมีคนมาขับให้ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายแล้ว นั่นยังหมายความว่าหน้าที่การงานของคุณนั้นมีความมั่นคงอีกด้วย

ใคร ๆ ก็อยากทำงานที่มีรถประจำตำแหน่ง

ใคร ๆ ก็อยากทำงานที่มีรถประจำตำแหน่ง

แต่รู้หรือไม่ ? ว่าการใช้รถประจำตำแหน่งมีหลักเกณฑ์ในการใช้งาน และมีเรื่องราวที่ควรรู้ด้านทางกฎหมาย Chobrod นำสาระดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับรถประจำตำแหน่งมาฝาก อยากรู้หรือไม่ ? ว่าถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถประจำตำแหน่ง ใครกันที่จะต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ?

ความหมายของรถประจำตำแหน่ง (ข้าราชการ)

รถประจำตำแหน่ง เป็นรถยนต์ที่ทางราชการจัดให้แก่ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาตั้งแต่ระดับ ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการ รองหัวหน้าส่วนราชการ และหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ตรวจราชการ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง และข้าราชการประจำในต่างประเทศบางตำแหน่ง

กรณีผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้เคยดำรงตำแหน่งมีสิทธิ์ใช้รถประจำตำแหน่งและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการให้ทำหน้าที่บริหารจัดการมีอำนาจบังคับบัญชาจะมีรถประจำตำแหน่งได้เมื่อหัวหน้าส่วนราชการจัดสรรให้

มีหลายบริษัทที่มีรถประจำแหน่งให้แก่พนักงาน

มีหลายบริษัทที่มีรถประจำแหน่งให้แก่พนักงาน

ทั้งนี้เรื่องของรถประจำตำแหน่ง ไม่ได้มีเพียงแค่หน่วยงานราชการ มีหลายบริษัทเอกชนที่มีตำแหน่งงานที่มีรถประจำแหน่งให้ด้วยเช่นกัน ซึ่งหลักการใช้เหมือนกันคืือไว้ใช้เวลาทำงาน และมีข้อกำหนดที่ไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่แต่ละเงื่อนไขบริษัท ซึ่งประเด็นต่าง ๆ ที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ จะอ้างอิงหลักทางหน่วยงานราชการเอาไว้เป็นหลัก เนื่องจากมีเอกสารและระเบียบที่แสดงเอาไว้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน

การจัดหาและสิทธิ์การครอบครองรถประจำตำแหน่ง

รถประจำตำแหน่งให้มีได้ไม่เกินตำแหน่งละ 1 คัน ผู้ใดตำรงหลายตำแหน่งให้เลือกใช้รถประจำตำแหน่งได้เพียงตำแหน่งเดียว เมื่อเลือกใช้แล้วใช้รถในตำแหน่งนั้นไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งรถประจำตำแหน่งที่มีอายุการใช้งานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปีให้ถือเป็นเกณฑ์ที่จะพิจารณาจัดหารถคันใหม่ทดแทนคันเก่าได้ ถ้าเป็นรถที่จัดหาจากส่วนราชโดยตรง ให้คิดลดอายุการใช้งานลง 1 ปี หรือแล้วแต่กรณี สำหรับการจัดหาให้ใช้ขนาดและราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ

ดูเพิ่มเติม
>> ไม่ธรรมดา! S600 Guard รถนายกฯ ความปลอดภัยชั้นยอด ราคา 19.5 ล้าน

>> เช็กทั้งคน เช็กทั้งรถ นโยบายเร่งด่วน ตรวจเข้ม! รถโดยสารสาธารณะ

การใช้รถประจำตำแหน่ง

รถประจำตำแหน่ง ให้ใช้ในการปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ หรือที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ หรืองานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับงานในตำแหน่งหน้าที่หรือฐานะที่ดำรงตำแหน่งนั้น รวมถึงการใช้เดินทางไปกลับระหว่างที่พักและสำนักงาน และเพื่อการอื่นที่จำเป็นและเหมาะสมแก่การดำรงตำแหน่งหน้าที่ในหมู่ข้าราชการและสังคม ทั้งนี้ห้ามผู้มีสิทธิและได้ครอบครองรถประจำตำแหน่งไปใช้รถส่วนกลางอีก เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็นเฉพาะคราว โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวที่จะต้องใช้รถส่วนกลางนั้นไว้ด้วย

หลัก ๆ ในการใช้รถประจำตำแหน่งคือใช้งานในเวลาทำงาน
หลัก ๆ ในการใช้รถประจำตำแหน่งคือใช้งานในเวลาทำงาน

ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งจะต้องคือรถให้แก่หน่วยงานภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้พ้นจากตำแหน่งหรือส่งมอบงานแล้วแต่กรณี และหากผู้ใช้รถประจำตำแหน่งพ้น ตำแหน่งหรือถึงแก่กรรม ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร เรียกรถประจำตำแหน่งคืน หากเห็นว่ามีเหตุผลสมควรจะผ่อนผันส่งคืนรถ ก็สามารถกระทำได้ตามควรแต่พฤติการณ์ แต่ต้องไม่เกิน สามสิบวันนับจากวันพ้นจากตำแหน่งหรือถึงแก่กรรม

การจัดเก็บรักษาและซ่อมบำรุงรถประจำตำแหน่ง

สำหรับการเก็บรักษารถประจำตำแหน่งอยู่ในการควบคุมดูแลและความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ รวมไปถึงเรื่องการซ่อมบำรุงรักษา ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้รถนั้น ๆ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยภายในกำหนดระยะเวลาสองปีครึ่งนับจากวันที่จัดหารถใหม่

รถยนต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย
รถยนต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย

หากเป็นรถที่จัดหากจากส่วนราชการอื่นโดยตรง กำหนดเวลาสองปีครึ่งนั้นให้คิดลดตามหลักเกณฑ์ที่สำนักการคลังเป็นผู้กำหนด และถ้าหากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการซ่อมบำรุง  ในส่วนเรื่องของการรับผิดชอบในการจ่ายค่าเชื้อเพลิงด้วยเช่นกัน เป็นหน้าที่ของผู้ใช้รถประจำตำแหน่ง เว้นแต่นำรถไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือไปจากปฏิบัติหน้าที่ประจำให้เบิกจ่ายเชื่อเพลิงหรือเบิกจ่ายค่าเชื้อเพลิงจากราชการได้

กรณีเกิดการสูญหายแก่รถประจำตำแหน่ง

เมื่อเกิดการสูญหายขึ้นแก่รถประจำตำแหน่ง ผู้ใช้รถจะต้องรีบรายงานให้ทางปลัดกรุงเทพมหานครทราบในทันที หากไม่ได้เป็นผู้ใช้รถเองหรือไม่สามารถรายงานเองได้ ให้พนักงานผู้ขับรถรีบรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกรุงเทพมหานครทราบทันที ซึ่งหากมีการสูญหายจริง ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้ใช้รถเอง ไม่เว้นแม้ผู้ใช้รถไม่ใช่ตน ยังรวมไปถึงกรณีที่ให้คนอื่นเอาไปใช้นอกเหนือหน้าที่ปกติที่มีการกำหนดไว้ด้วย

กรณีเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถประจำตำแหน่ง ผู้ใด ? ต้องรับผิดชอบ

หากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่สร้างความเสียหายให้แก่รถประจำตำแหน่ง สิ่งที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นคือที่มาและสาเหตุ เพื่อระบุไปยังผู้กระทำความผิดให้มาดำเนินการทางคดีต่อไป โดยสามารถแบ่งออกมาได้เป็น 3 กรณีดังนี้

เกิดอุบัติเหตุกับรถประจำตำแหน่งขึ้นมา ใครกันที่ต้องรับผิดชอบ ?
เกิดอุบัติเหตุกับรถประจำตำแหน่งขึ้นมา ใครกันที่ต้องรับผิดชอบ ?

  • กรณีที่เกิดความเสียของรถจากบุคคลภายนอก : กล่าวคือความผิดของผู้อื่น เช่นเป็นฝ่ายเข้ามาเฉี่ยวชนเอง หรือผู้ที่นำรถไปใช้งานที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและได้รับความเสียหายจากทั้งคนทั้งรถ ส่วนนี้ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณีหรือผู้ก่อเหตุได้ในนามของกรุงเทพมหานคร หากพิสูจน์แล้วว่ามีความผิดจริง ๆ
  • กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากตัวผู้ใช้รถประจำแหน่งเอง : กรณีนี้หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์การใช้รถแล้วพบว่าไม่อยู่ในเงื่อนไขที่ถูกต้อง เช่น ขับขี่นอกเวลาราชการ หรือขับรถฝ่าฝืนตามกฎจราจร เช่นนี้ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยผู้ใช้เอง ซึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ตัวรถทั้งหมด ซึ่งผู้ใช้รถประจำแหน่งสามารถถูกเรียกฟ้องจากหน่วยงานได้ด้วยเช่นกันในด้านความผิดทางละเมิด
  • กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดปกติของรถเอง : หากตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ใช้รถไม่ได้ละเมิดกฎการขับรถประจำตำแหน่งใด ๆ แต่เป็นเพราะความเสียหายจากตัวรถเอง ในส่วนนี้ผู้ใช้รถสามารถดำเนินการเรียกร้องการชดใช้ความเสียหายจากหน่วยงานที่จัดหารถได้ หากได้รับความเสียหายต่อตัวเองที่เกิดจากการใช้รถ ทั้งนี้ต้องมีหลักในการพิจารณารายละเอียดกันต่อไป

และหากพิสูจน์แล้วว่าอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากทั้ง 3 กรณีหรือเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เช่น การเกิดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่นอกเหนือการควบคุม ซึ่งไม่ได้เกิดจากความเลินเล่อของผู้ใช้รถหรือการสึกหรอของตัวรถ ถือว่าไม่เข้าองค์ประกอบการละเมิดใด ๆ ผู้ใช้รถจึงไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ส่วนนี้ ส่วนเรื่องการซ่อมแซมบำรุงอาจต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกันอีกที

จะขับรถส่วนตัวหรือรถประจำตำแหน่ง ก็ต้องขับด้วยความไม่ประมาทเช่นกัน

จะขับรถส่วนตัวหรือรถประจำตำแหน่ง ก็ต้องขับด้วยความไม่ประมาทเช่นกัน

อาจเป็นเรื่องที่หลายคนมองว่าไกลตัว เพราะรถประจำตำแหน่งมีข้อจำกัดมากมายในการได้รับสิทธิ์การใช้ บางคนจึงมองว่าตนอาจไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แต่อันที่จริงแล้ว เรื่องราวอันว่าด้วยรถประจำตำแหน่งนี้ เป็นเรื่องที่คุณควรจะรู้เอาไว้ เพราะภายภาคหน้าอาจเกิดได้ไปจับพลัดจับพลู ดำรงตำแหน่งใด ๆ ที่มีรถใช้ จะได้รู้ระเบียบข้อบังคับเอาไว้ หรือไม่ก็อาจเกิดกรณีที่รถของคุณเข้าไปเกิดอุบัติเหตุกับรถประจำตำแหน่งเข้า จะได้มีความเข้าใจถึงบทบาทการรับผิดชอบนี้ได้นั่นเอง

ดูเพิ่มเติม
>> จะเคลมได้ไหม? เคลมได้หรือเปล่า โดนน้ำท่วมประกันรถยนต์จ่ายให้เท่าไหร่?

>> ชาวต่างชาติขับรถในไทย มีอะไรบ้างที่ควรรู้และปฏิบัติตาม

​ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้

Knong NTP
Avatar

Knong NTP

บรรณาธิการ
ในตอนเด็ก ที่บ้านของผมเป็นอู่ซ่อมรถ ผมมักจะได้ไปเรียนรู้เรื่องเครื่องยนต์รถและงานเทคนิคช่างต่าง ๆ กับพ่อ และสนใจเรื่องแต่งรถกระบะจากน้า จากนั้นก็ซึมซับมาเรื่อย ๆ จากความชอบก็เป็นความรัก ความผูกพัน เริ่มสะสมนิตยสาร มอเตอร์แทร็ก,...