หลายคนอาจจะชอบถอดรองเท้าขับรถ เพราะสะดวกมากกว่าตอนใส่รองเท้า แต่รู้หรือไม่ว่าการไม่ใส่รองเท้าขับรถ ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ทั้งในด้านความปลอดภัย กฎหมาย และสุขภาพ
หลายคนอาจคุ้นเคยกับการถอดรองเท้าขับรถ เพราะถนัดมากกว่าตอนใส่รองเท้า หรืออาจเป็นความเคยชินจากการฝึกขับรถช่วงแรก ๆ ทำให้มีนิสัยขับรถโดยไม่สวมรองเท้า แม้จะให้ความสะดวกในการขับรถ แต่รู้หรือไม่ ว่าการถอดรองเท้าแล้วขับรถ อาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นในด้านความปลอดภัย สุขภาพร่างกาย หรือแม้แต่ทางกฎหมายเองก็ตาม
การขับรถโดยไม่สวมรองเท้า อาจทำให้เท้าของคุณมีอาการปวด เป็นตะคริว หรือเกิดอาการกระตุก เนื่องจากต้องออกแรง และเกร็งเท้ามากกว่าปกติ นอกจากนี้ การใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำ ๆ ในการขับรถเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะการขับรถเกียร์อัตโนมัติ ที่ส่วนใหญ่จะใช้เท้าขวาในการขับขี่) ยังอาจทำให้เกิดพังผืด หรือส้นเท้าอักเสบได้
หากเท้ามีเหงื่อเยอะ เท้าเปียก หรือมีความชื้น อาจส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ เพราะเท้าอาจลื่นไถลได้ตอนเหยียบเบรก หรือเหยียบคันเร่ง ทำให้ข้อเท้าพลิก หรือทำให้ควบคุมรถไม่ได้ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ
ปัญหาเท้าเหม็น หรือมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นบริเวณเท้า เกิดจากเหงื่อและการสะสมของแบคทีเรีย ซึ่งการนำเท้าที่มีเหงื่อ ไปสัมผัสกับแป้นเบรก หรือคันเร่งใต้คอนโซลรถที่มีฝุ่น และเชื้อโรคสะสม อาจทำให้เท้าของคุณมีกลิ่นได้
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก มาตรา 102 (1) และกฎกระทรวง พ.ศ. 2555 กำหนดให้ ผู้ที่ขับรถรับจ้าง รถยนต์สาธารณะ เช่น วินมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร ฯลฯ ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยรัดกุม และสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น หรือหุ้มข้อ หากฝ่าฝืนจะถือว่ามีความผิดตามมาตรา 127 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
การถอดรองเท้าขับรถ อาจทำให้เกิดปัญหารองเท้าขัดเบรกหรือคันเร่ง หรือรองเท้าไปติดอยู่ใต้แป้นเบรกหรือคันเร่ง ทำให้ไม่สามารถเหยียบเบรกหรือคันเร่งได้ ก่อนขับรถทุกครั้ง จึงควรเช็กให้ดีว่า เก็บรองเท้าหรือวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ใต้เบรก หรือคันเร่งออกหมดแล้วหรือยัง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่อาจเกิดขึ้นจากความประมาทได้ทุกเมื่อ
อ่านเพิ่มเติม >>