ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมรถยนต์มีการก้าวหน้า และมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ยิ่งในเรื่องความปลอดภัยด้วยแล้ว นับเป็นอีกด้านหนึ่งที่ทางแต่ละค่ายแบรนด์ชูมาเป็นจุดขาย และผลิตออกจำหน่ายสู่ตลาดรถยนต์เป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากเราได้สังเกต และศึกษาด้านความปลอดภัยในแต่ละรุ่น เราจะพบว่ามีระบบความปลอดภัยตัวหนึ่งที่มีในรถยนต์แทบทุกรุ่น นั่นคือ “ระบบป้องกันล้อล็อค” วันนี้ทาง Chobrod.com จึงอยากพาเพื่อนๆ มาหาคำตอบกันค่ะว่าระบบนี้คืออะไร และมีการทำงานอย่างไรกัน? เดี๋ยวเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่
“ระบบป้องกันล้อล็อค” คืออะไร? ทำงานอย่างไร? มาหาคำตอบกัน!
“ระบบป้องกันล้อล็อค” หรือหลายคนมักจะเรียกระบบนี้ว่า ระบบเบรก ABS นั่นเองค่ะ ซึ่งเชื่อเป็นอย่างยิ่งเลยว่า ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับชื่อตัวย่อภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทยกันใช่ไหมค่ะ โดยปกติคำนี้เรามักจะได้ยินเวลา Sale หรือ MC ของบูธที่มีการขายรถยนต์นำมาพูดเป็นจุดขายในเรื่องของความปลอดภัยว่ารถยนต์คันนั้นมีระบบ ABS เข้ามาให้ด้วย เพื่อให้มีการซื้อขาย และยอดขายรถยนต์ให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้รถยนต์คันนั้นมีความน่าซื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม สำหรับระบบป้องกันล้อล็อค หรือระบบเบรก ABS นี้ ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Anti-Lock Brake System ทำหน้าที่ป้องกันการล็อกตัวของล้อในขณะเบรก หรือช่วยในเรื่องระบบเบรกป้องกันการลื่นไถลของตัวรถยนต์ เป็นระบบความปลอดภัยของรถยนต์ที่ช่วยให้ล้อรถรักษาสภาพตัวรถยนต์กับพื้นผิวถนนตามการควบคุมขณะเบรก ป้องกันล้อล็อก ไม่ให้รถยนต์หยุดหมุน และหลีกเลี่ยงการลื่นไถลที่ไม่สามารถควบคุมได้
ดูเพิ่มเติม
>> มาดูกันสิว่า... ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กับ ประกันภัยรถยนต์ 2+ แตกต่างกันอย่างไร ?
>> วิธีง่ายๆ รู้เอาไว้ก่อนสายเกินไป !! กับวิธีการเอาตัวรอดจาก “รถยางระเบิด”
หลักการทำงานของระบบป้องกันล้อล็อค
หลักการทำงานของระบบป้องกันล้อล็อค ในบางรุ่นนั้นมีการใช้โปรแกรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมเบรกหน้า และเบรกหลัง ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะของการใช้งาน ซึ่งมีสองระบบ ได้แก่ ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) และระบบควบคุมการยึดเกาะด้วยระบบช่วยเบรกฉุกเฉิน หรือควบคุมสมดุลของตัวรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC) โดยการทำงานของระบบป้องกันล้อล็อค หรือ ABS นั้น เป็นการผสมผสานระหว่างระบบกลไก และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่คือป้องกันล้อไม่ให้เกิดการล็อกเมื่อมีการใช้เบรกหนัก ซึ่งระบบ ABS จะประกอบด้วยฟันเฟืองวงแหวนที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุนพร้อมเซ็นเซอร์ เมื่อล้อรถเริ่มหมุนฟันเฟืองจะหมุนตาม จากนั้นเซ็นเซอร์ก็จะทำการตรวจจับความเร็วการหมุนของฟันเฟือง แล้วรายงานอัตราความเร็วที่ได้มาไปให้กล่องสมองกล ABS ซึ่งปกติทั่วไปทุกล้อจะมีเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบความเร็วติดอยู่ทุกล้อ เมื่อทำงาน สมองกล ABS จะสั่งการให้ชุดปั๊มเบรกทำงาน โดยจะมีการจับและปล่อยระหว่างจานเบรกกับผ้าเบรกที่ 16-50 ครั้งต่อวินาที หรือเปรียบได้ว่าเบรกและปล่อยรัว ๆ แบบอัตโนมัติทำให้ล้อไม่ล็อก ผู้ขับสามารถควบคุมทิศทางของรถได้ง่ายมากขึ้น
ภาพจำลองการทำงานแบบ 3 มิติ ของระบบล้อล็อค หรือ ABS ในรถยนต์
ระบบป้องกันล้อล็อค นอกจากจะป้องกันการป้องกันการล็อกของล้อแล้ว ในปัจจุบันก็ยังมีผู้ผลิตรถยนต์บางรายนำไป ประยุกต์ ใช้ร่วมกับระบบอื่น เช่น Traction Control เป็นระบบป้องกันการหมุนฟรีของล้อ ในการออกตัวในเส้นทางลื่นหรือในทางโค้ง โดยใช้ส่วนหนึ่งของ ABS ในการทำงาน คือ แทรคชันคอนโทรลบางระบบจะนำสัญญาณจากเซ็นเซอร์ ABS แต่ละตัว มาร่วมในการประมวลผลในหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ของระบบ Traction Control ว่า แม้ไม่มีการเบรก แต่ถ้ามีล้อใดหมุนเร็วกว่าล้ออีกข้างมากผิดปกติ ก็จะสั่งงานไปยัง หน่วยควบคุมไฮดรอลิกของ ABS ให้มีการจับตัวของผ้าเบรกลดความเร็วในการหมุนของล้อนั้นโดยเฉพาะอย่างเหมาะ สม เพื่อไม่ให้ล้อนั้นหมุนฟรีพร้อมตัดรอบการทำงาน ของเครื่องยนต์ แล้วค่อยคลายการจับเมื่อเข้าสู่สภาพปกติ เช่น เมื่อเข้าโค้งเลี้ยวซ้าย แล้วล้อด้านขวาหมุนเร็วกว่าปกติ เสี่ยงต่อการลื่นไถลหมุนคว้างท้ายปัด ระบบ Traction Control ก็จะสั่งงานผ่าน ABS เพื่อลดแรงดันน้ำมันเบรกในล้อนั้นลง พร้อมกับลดรอบของเครื่อง
ภาพเปรียบเทียบระหว่างรถยนต์ที่มีระบบ ABS และ ไม่มีระบบ ABS
สิ่งที่ต้องระวังเมื่อรถยนต์มีระบบป้องกันล้อล็อค คือ เราจะต้องเรียนรู้การใช้ระบบนี้อย่างถูกต้อง ซึ่งระบบ ABS เมื่อทำงานจะมีอาการสะเทือนเท้าเนื่องจากแรงดันของเบรกมีการผ่อน และดันเป็นระยะตามหลักการที่กำหนด เราจึงไม่ควรถอนเบรกเพราะจะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้การสร้างแรงดันไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีความถี่ของการสั่งการมากเกินไป จนระบบ ABS ไม่ทำงาน
สำหรับระบบป้องกันล้อล็อค หรือระบบเบรก ABS นี้ ก็ถือว่าเป็นระบบที่เป็นมาตรฐานของคนยุคใหม่ที่รถยนต์แต่ละคันต้องมี ซึ่งข้อดีของมันก็คือ ช่วยป้องกันล้อล็อกเมื่อต้องการเบรกกะทันหัน ช่วยควบคุมพวงมาลัยให้ไปตามทิศทางที่ต้องการได้ง่าย และช่วยทำให้ยางรถยนต์ไม่สึกหรอ แต่ทั้งนี้ระบบป้องกันล้อล็อคนี้ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ เวลาที่ระบบป้องกันล้อล็อคทำงานจะมีเสียงดังทำให้ใครหลายคนตกใจได้ มีการสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงภายในรถยนต์ และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเบรคแบบธรรมดา
และนี่ก็เป็นเรื่องราวความรู้ที่น่าสนใจที่ทางเวปไซต์ตลาดรถ Chobrod.com ได้นำมาฝาก และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ผู้ใช้รถยนต์ทุกท่านนะคะ ถ้าหากเพื่อนๆ ที่กำลังมองหารถยนต์ที่มีระบบป้องกันล้อล็อคอยู่แล้วละก็ ทางเวปไซต์ของเรา Chobrod.com แห่งนี้ก็มีรถยนต์หลากหลายรุ่นมาให้เพื่อนๆ ได้เลือกซื้อกันนะคะ สามารถเขาไปชมได้ที่เวปไซต์ได้เลย
ดูเพิ่มเติม
>> ปัญหาที่มักจะเกิดเมื่อเดินทางไกล มีวิธีแก้อย่างไร มาดูกัน!
>> “ทางด่วน” ไม่จำเป็น “อย่าจอด” ข้อปฏฺิบัติสำคัญเมื่อจำต้องหนีรถติด
คราวหน้าทาง Chobrod.com จะมีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจมาให้อัพเดทกันต่อ ฝากติดตามกันด้วยนะคะ