แฉหมดเปลือก หัวเชื้อน้ำมันเครื่องชื่อดัง พิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ส่งผลเสียต่อรถ
ทดสอบหัวเชื้อน้ำมันเครื่องชื่อดัง
ทดสอบจริง พร้อมแฉ หัวเชื้อน้ำมันเครื่องชื่อดัง 2 ยี่ห้อ ที่ซื้อมาจากห้างดัง ทำการพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์อ๊อด ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจาก ม.เกษตรฯ กับการใช้เครื่องมือทดลอง Infrared spectroscopy IR เพื่อพิสูจน์หมู่ฟังก์ชั่นเคมี และเครื่อง Nuclear magnetic resonance ซึ่งวิธีนี้ เป็นการแยกแยะหมู่ธาตุและส่วนประกอบต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
การทดลอง พบว่า หัวเชื้อทั้ง 3 ตัวอย่าง มีโครงสร้างแบบเดียวกัน คือ Chlorinated Parafins หรือน้ำมันพาราฟีน ที่มีอะตอมของคลอรีนผสมอยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นชนิดเดียวกับน้ำมันเครื่อง และถ้าสารนี้ถูกนำมาใช้ผิดประเภท จะส่งผลเสียตามมามากมาย
>> ดูเพิ่มเติม: “หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” ช่วยในการทำงานของเครื่องยนต์หรือแค่มโนคติจากการตลาด?
ทดสอบหัวเชื้อน้ำมันเครื่องชื่อดัง
กล่าวคือ น้ำมันพาราฟีนที่มีอะตอมของคลอรีนผสมอยู่นี้ จะมีอุณหภูมิการทำงานอยู่ที่ 200-500 องศาเซลเซียส ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้เคลือบโลหะ เพื่อลดแรงเสียดทาน เช่น เวลาเลื่อยเหล็ก ซึ่งมีความร้อนไม่สูงเท่าเครื่องยนต์ที่อยู่ 500-1000 องศาเซลเซียส และเมื่อสารนี้มาอยู่ในเครื่องยนต์ จะทำให้สารดังกล่าว สูญเสียคุณสมบัติความเหนียวที่มีอยู่เดิม กลายเป็นเขม่า
>> ดูเพิ่มเติม:
รถกินน้ำมันเครื่อง!! สาเหตุของน้ำมันเครื่องหาย เกิดจากอะไร?
ระวัง! “น้ำมันเครื่องปลอม” คุณก็สังเกตเองได้ ง่ายนิดเดียว
คำว่า “น้ำมันแบรนด์ไหนก็ไม่ต่างกัน” จริงหรือไม่
ส่วนสารคลอรีนข้างต้น เมื่อเจอความร้อนสูง ก็จะแตกตัวกลายเป็นกรดเกลือ เข้าไปกัดซีลยาง ปะเก็น ฯลฯ ทำให้เกิดการรั่วตามมา
ผลทดสอบนี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า หัวเชื้อน้ำมันเครื่องชื่อดังนี้ หากเติมลงไปในเครื่องแล้ว ส่งผลให้เครื่องยนต์พังจริงๆ แนะนำว่าแค่ใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ดีๆ ก็เพียงพอแล้ว ทั้งรถเก่าและใหม่
สำรวจรถยนต์: Mazda 2 diesel มือสอง