รวมข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจเป็น คนค้ำประกันรถ ให้แก่ผู้อื่น

ประสบการณ์ใช้รถ | 11 ธ.ค 2567
แชร์ 0

การ ค้ำประกันรถให้คนอื่น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่หลายคนควรรู้ มาดูกันว่า การ ค้ำ ประกัน รถยนต์ ให้ผู้อื่น ต้องทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง

นับว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังจะถอยรถใหม่ป้ายแดงแต่ไม่ได้ซื้อรถด้วยเงินสดควรรู้ เพราะการยื่นขอสินเชื่อจากทางบริษัทไฟแนนซ์หรือสถาบันการเงินจะต้องมีการตรวจเช็กคุณสมบัติต่าง ๆ และทำการขอเอกสารจากผู้ซื้อ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ คนค้ำประกันรถ ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้เพื่อเป็นหลักประกัน โดยที่ผู้ซื้อสามารถให้แฟน ญาติพี่น้องมาเป็นผู้ ค้ำรถให้คนอื่น ได้หรือไม่ และมีเรื่องไหนบ้างที่ควรรู้เพื่อที่จะได้ไม่โดนเอาเปรียบ ตามไปหาคำตอบได้ในบทความนี้

การค้ำประกัน คืออะไร

การค้ำประกันคือสัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ และเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกันไว้จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 การค้ำประกันรถยนต์เป็นการขอสินเชื่อรถยนต์ ถ้าผู้ขอสินเชื่อรถยนต์วางเงินดาวน์น้อยกว่า 20% หรือมีคุณสมบัติทางการเงินไม่ตรงตามเกณฑ์ที่ทางสถาบันทางการเงินได้กำหนดไว้ ผู้ขอสินเชื่อต้องหาผู้ค้ำประกันมาเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทไฟแนนซ์ ถ้าเกิดผิดนัดชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบชำระหนี้แทน แต่การชำระหนี้แทนอาจไม่ใช่จำนวนเงินทั้งหมดของหนี้ ต้องดูตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ทำร่วมกันว่าผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้แทนเป็นจำนวนเท่าไร

เรื่องควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ผู้อื่น
เรื่องควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ผู้อื่น

เรื่องควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ผู้อื่น

เมื่อผู้ใดที่กำลังตกอยู่ในสถานะเป็นคนค้ำประกัน หากผู้ที่ขอสินเชื่อได้ผิดนัดชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนด ผู้ค้ำประกันจะต้องเข้าสู่กระบวนการชำระหนี้แทน และผู้ค้ำประกันจะไม่สามารถยกเลิกสัญญาค้ำประกันได้ในขณะที่อยู่ในระยะเวลาของสัญญาทั้งหมด นอกจากมีการได้รับข้อตกลงจากเจ้าหนี้เพื่อเปลี่ยนสัญญา ซึ่งทางเจ้าหนี้ก็จะไม่สามารถเก็บเงินกับผู้ค้ำประกันได้ในทันที หากในกรณีที่ผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อได้หายตัวไป เพราะทางเจ้าหนี้จะทำการส่งหนังสือแจ้งล่วงหน้าไปยังผู้ค้ำประกันก่อน 60 วัน เพื่อให้สิทธิ์กับผู้ค้ำประกัน ทางออกของคนค้ำประกันรถยนต์ ดังนี้

  • จำกัดวงเงินหนี้ก่อนเซ็นสัญญา โดยที่ผู้ค้ำประกันสามารถจำกัดวงเงินสูงสุดที่ต้องจ่าย รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการค้ำประกันได้ ผ่านการตกลงกันระหว่างลูกหนี้ว่าต้องการชำระสูงสุดที่เท่าไร หลังจากนั้นถึงเซ็นสัญญากับลูกหนี้และผู้กู้ทราบร่วมกัน
  • ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย การกู้เงินแต่ละประเภทมีจำนวนอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระค่างวด ผู้ค้ำประกันจะต้องชำระแทนลูกหนี้โดยที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและจ่ายแค่เพียงส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ หลังจากที่ได้ชำระส่วนที่รับผิดชอบกับเจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันสามารถฟ้องร้องทางกฎหมายเอาส่วนที่จ่ายไปคืนกลับมาจากลูกหนี้ได้ พร้อมกับเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าเสียหายส่วนอื่นได้

ผู้ค้ำประกันสามารถพ้นสภาพได้อย่างไร

  • ผู้ค้ำประกันเสียชีวิต โดยที่หนี้สินต่าง ๆ จะไม่ตกไปเป็นของใคร เนื่องจากเป็นสัญญาค้ำประกันเฉพาะตัว
  • ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ครบถ้วนเรียบร้อย
  • สัญญาการค้ำประกันหมดอายุความ
  • เมื่อลูกหนี้หนีหนี้ไปแล้ว และผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทน แต่ทางเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ ถือว่าผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากการค้ำประกันในสัญญา

การตกลงเป็นผู้ค้ำประกันให้กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันในการยื่นซื้อบ้าน หรือซื้อรถ เมื่อดำเนินการทำสัญญาทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ผู้ค้ำประกันก็จะเปรียบเสมือนเป็นลูกหนี้ด้วยไปในตัว หากเกิดเหตุการณ์ลูกหนี้ผิดนัดชำระ หรือหนีไม่ยอมจ่าย ผู้ค้ำประกันจะตกอยู่ในสถานะเป็นผู้ที่ต้องชำระหนี้แทนในทันที

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะไปเป็นผู้ค้ำประกันให้กับใคร ควรพิจารณาให้ดีอย่างรอบคอบ รวมทั้งศึกษาทำความเข้าใจถึงสัญญาและกฎหมายให้ถี่ถ้วน สิ่งสำคัญควรตรวจเช็กให้มั่นใจว่าผู้ที่เราจะไปค้ำประกันให้มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้ตลอดจนครบงวดหรือไม่ เพราะถ้าหากเกิดเรื่องขึ้นมาทุกอย่างจะกลายเป็นผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบในเรื่องที่ไม่ได้ก่อขึ้นเองทันที

อ่านเพิ่มเติม