เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง ลงนามโดยนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เรื่อง
ลดอัตราภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 138 โดยระบุให้ลดภาษีรถยนต์ 4 ประเภท ได้แก่
รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (PPV) แบบไฮบริด รถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า
1.รถกระบะ (PPV) แบบไฮบริด ที่มีขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี และเป็นรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่ปล่อย CO2 ไม่เกิน 175 กรัม/กิโลเมตร ได้รับการ
ลดอัตราภาษี สรรพสามิต จาก 25% เหลือ 23%
รถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HV)
2.รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี และเป็นรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HV) ที่ปล่อย CO2 ไม่เกิน 175 กรัม/กิโลเมตร จะได้รับการ
ลดอัตราภาษี สรรพสามิตลง 2% จาก 12% เหลือ 10%
>>> ซี้อรถ 1 คันต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่?
>>> ดู "ภาษีรถนำเข้า"
รถยนต์นั่งแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า
3.รถยนต์นั่งแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี จะลดลงกึ่งหนึ่งจากเดิมคิดอัตรา 10-30% ก็จะลดเหลือ 5-15%
รถยนต์นั่งแบบพลังงานไฟฟ้าล้วน
4.
รถยนต์นั่งแบบพลังงานไฟฟ้าล้วน (Electric Vehicle) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลบ.ซม. ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงเหลือ 2% จากเดิม 10%
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวว่า “การปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ครั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย. 2560 จนถึง 31 ธ.ค. 2568 โดยวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงาน ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเมืองไทย ทั้งรถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งยืนยันว่ายังไม่มีผลกระทบต่อ
ราคารถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงรถยนต์ไฮบริด ที่ขายในท้องตลาดทุกวันนี้ เนื่องจากภาษีจะมีผลต่อรถยนต์ที่จะเกิดจากการลงทุนใหม่ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่ที่ได้รับการลดภาษีดังกล่าวยังไม่เคยมีการผลิตในไทย ยกเว้นรถเก๋งไฮบริดที่มีผลิตแต่ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขของบีโอไอและกรมสรรพสามิตกำหนด”
ผู้ที่จะได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฮบริดหรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และต้องยื่นหนังสือแจ้งขอลดภาษีและทำข้อตกลงกับกรมสรรพสามิตก่อนเริ่มการผลิตรถยนต์วันที่ 31 ธ.ค. 2563 และตั้งแต่ปีที่ 5 นับตั้งแต่ทำข้อตกลงกับกรมสรรพสามิต รถยนต์ไฮบริดหรือรถยนต์อีวีที่ผลิตทุกคัน ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบจากผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอประเภทลิเธียมไอออน หรือนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ หรือแบตเตอรี่ประเภทอื่นที่ให้พลังงานจำเพาะโดยน้ำหนักที่สูงกว่าประเภทลิเธียมไอออน หรือนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์
“การลดภาษีครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการลงทุนใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทรถยนต์สามารถวางแผนการลงทุนและการผลิตรถยนต์ได้ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า แต่มีเงื่อนไขว่าตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป รถยนต์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีทุกคันจะต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในไทย ขณะเดียวกันการลดภาษีกำหนดระยะเวลา 8 ปี ถึงสิ้นปี 2568 เพื่อสอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในอนาคตเสมอๆ”
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฮบริดว่า ภาคเอกชนเห็นด้วยกับโครงสร้างภาษีดังกล่าว เพราะจะทำให้ราคารถยนต์ไฮบริดลดลง 10-20% จากราคาปัจจุบันมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคารถยนต์ปกติในรุ่นเดียวกัน
และท่านยังกล่าวอีกว่า “ในอีก 10 ปีข้างหน้า กระแสความต้องการรถยนต์ไฮบริดจะเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์การผลิตรถยนต์ไฮบริดในตลาดยุโรปก็มีแนวโน้มจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฮบริดมากถึง 70% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด รวมถึงแนวโน้มการผลิตรถยนต์ทั่วโลก เนื่องจากต้องการลดการปล่อยมลพิษลงด้วย”
สำหรับการ
ลดอัตราภาษี สรรพสามิต ครั้งนี้ถือว่าก็เพียงพอแล้ว จากนี้ไปจะมีใครที่กล้าซื้อรถเหล่านี้บ้าง รอดูกันครับ
>> อ่านเพิ่มเติม :
- ถ้ารถ 7 ปีภาษีแพงขึ้น
- อยากขายรถ แต่ค้างชำระภาษีเกิน 3 ปีแล้ว
- แม้ถูก “โดนัลด์ ทรัมป์” ขู่ขึ้นภาษี แต่ BMW ยังคงสร้างโรงงานในเม็กซิโก
-
ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง งดต่อภาษีรถยนต์