ร่วมวิเคราะห์มาตรการใหม่จากรัฐบาล กับการเสนอแนวทางแก้ปัญหารถติดด้วยวิธีการปรับความเร็วของรถให้เพิ่มขึ้น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิธีนี้จะแก้ไขได้จริง ๆ หรือ? แล้ววิธีการแก้ปัญหาเป็นแบบไหนกัน
หากใครที่ติดตามสถานการณ์การอภิปรายนโยบายในสภาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คงจะได้ยินคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาถึงแนวการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหารถติดด้วยวิธีการปรับเพิ่มความเร็วในการใช้รถ ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นประเด็นให้พูดกันเป็นวงกว้าง ผู้คนต่างให้ความสนใจถึงเรื่องการปรับแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังนี้ ต่างฝ่ายก็รอดูว่าสุดท้ายแล้วบทสรุปจะลงเอยไปในทิศทางที่ดีอย่างที่ตั้งเป้าหรือไม่
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากการเปิดเผยของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทำให้ทราบข้อมูลว่า ทางรัฐบาลมีมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในถนนทุกสายทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล โดยมอบความรับผิดชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมทางหลวง กรมทางหลวงวชนบท และกรมขนส่งทางบก ให้เข้าไปประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อนำข้อมูลมาศึกษาและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขกฎหมายและกฏระเบียบ ที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนบังคับของข้อกฎหมาย โดยให้รถยนต์ทุกประเภทที่เดินทางสัญจรผ่านถนนทางหลวง ทางหลวงชนบท ที่มีช่องทางจราจร 4 ช่องทางขึ้น กำหนดให้ผู้ขับขี่สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม.ได้ จากเดิมที่กำหนดเอาไว้ว่าไม่ให้ขับเกิน 90 กม./ชม. โดยประเด็นนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาและหารือ นำมาแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย ก่อนที่จะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวงในภายหลัง
ดูเพิ่มเติม
>> ดีเดย์ 1 ต.ค.ขนส่งสั่งเปลี่ยน “รถตู้” เป็น “รถโดยสารขนาดเล็ก”ชี้เพื่อความปลอดภัย
>> ดีเดย์ส.ค.62 กล้อง 30 ตัวประจำแยกเมืองกรุง จับ "ฝ่าไฟแดง"
การขับรถที่ปรับอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นจะช่วยระบายรถบนท้องถนนให้คล่องตัวได้ดีขึ้น
จากการนำเสนอนโยบายดังกล่าวเพื่อเป็นการกระตุ้นให้การสัญจรบนท้องถนนที่แออัดได้มีการระบายสร้างความคล่องตัวได้มากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ส่วนใหญ่นั้นมักจะอยู่บนถนน 2 ช่องจราจรเสียมากกว่า และเป็นที่พฤติกรรมการขับขี่ที่จะนำพาไปสู่อุบัติเหตุไม่ใช่เพราะความเร็วที่เป็นปัญหา ดังนั้นการกำหนดความเร็วเพิ่มขึ้นในระดับที่พอเหมาะ อาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนตัวบนถนนได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ตามกฎหมายเดิม กำหนดให้รถวิ่งความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม
ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่สังคมตั้งประเด็นถกเถียงกันอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่่ายที่เห็นด้วยมีมุมมองเช่นเดียวกันกับทางรัฐบาลที่นำเสนอนโยบายดังกล่าว ว่าการเพิ่มความเร็วจะทำให้การจราจรคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และหลายคนก็มองว่าอัตราการกำหนดความเร็วในปัจจุบัน อยู่ในระดับที่ต่ำเกินพอดี เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การเคลื่อนตัวบนท้องถนนเป็นไปแบบช้า ๆ และก่อให้เกิดปัญหารถติดแต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกลับมองว่าการกำหนดอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้นจะสร้างปัญหาการฝ่าฝืน โดยมองว่าขณะที่ปัจจุบันกำหนดความเร็วไว้ 90 กม./ชม. ตามกฎหมาย ก็ยังมีหลายคนที่ฝ่าฝืนใช้ความเร็วเกินตามที่กำหนด และนั่นมองว่าคือสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาตามมา ที่กลายเป็นอุบัติเหตุได้ แล้วถ้าเกิดเพิ่มความเร็วเป็น 120 กม./ชม. อีก คนที่ไม่เคารพก็จะปรับความเร็วให้มากขึ้นไปด้วย และนั่นเมื่อช่องทางการวิ่งของรถบนท้องถนน ที่หลายคนขับไปด้วยความเร็วสูงเกินกำหนด อาจส่งผลต่อผู้ที่เคารพกฏระเบียบที่วิ่งอยู่ในระดับที่ถูกต้อง ต้องรับความเสี่ยงจากความประมาทของคนเหล่านี้
ผลโหวตสำรวจความคิดเห็นที่ส่วนใหญ่เห็นด้วย
ซึ่งความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยถูกแย้งโดยการตอบโต้โดยอ้างหลักความเป็นจริง ว่าการเกิดอุบัติเหตุไม่ใช่มีความเร็วเป็นหลัก สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความประมาทและพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่เคารพกฎ หากจะเอ่ยว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเพราะปรับความเร็วเป็น 120 กม./ชม. แล้วมีคนใช้ความเร็วสูงเกินกว่ากำหนดไปอีก นั่นไม่สามารถเอามาโต้แย้งเรื่องการกำหนดกฎหมายเหล่านี้ เพราะผิดกฎหมายก็คือผิดกฎหมาย สิ่งที่ทางรัฐบาลแถลงเป็นเรื่องของการนำเสนอแนวทางที่คาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ไม่ใช่เป็นการนำเสนอเพื่อให้ใครหาข้ออ้างมาใช้เพื่อเพิ่มการทำผิดกฎ โดยการเพิ่มความเร็วตามใจชอบ สิ่งที่ทุกคนควรทำคือการทำตามกฎ ไม่ใช่มองว่าการฝ่าฝืนการทำผิดจะปรับเพิ่มลิมิตไปได้อีกเท่าไหร่
ยังมีถนนอีกหลายเส้นที่ยังจำเป็นต้องคงมาตรฐานความเร็วแบบเดิม
หลังจากการประกาศให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงเรื่องดังกล่าว ล่าสุดมีการเคลื่อนไหวจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันนี้ 31 กรกฎาคม 2531 พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองผู้บัญชาการศึกษา (รอง ผบช.ศ.) ในฐานะคณะทำงานแก้ปัญหาจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กล่าวถึงแนวคคิดว่า การเสนอให้ทางสำนักงานตำรวจปรับแก้ความเร็วการใช้รถบนท้องถนนขนาด 4 เลนขึ้นไป ให้เพิ่มความเป็น 120 กม./ชม. จากเดิม 90 กม./ชม.นั้น ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องนำนโยบายดังกล่าวมาศึกษาหาข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้ ก่อนจะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงบทสรุปในเรื่องนี้ เพราะถนน 4 เลนบางสาย อาจไม่สามารถรองรับการใช้งานปรับเพิ่มความเร็วได้ อาจเพราะติดอยู่กับแหล่งชุมชน ที่จำเป็นให้ใช้ความเร็วอยู่ที่ 90 กม./ชม. ซึ่งทางชุมชมก็ไม่สามารถปรับเพิ่มความเร็วให้สูงถึง 120 กม./ชม. ตามที่เสนอมาได้ ทุกอย่างต้องดูความเหมาะสม และต้องพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง มีหลายองค์ประกอบที่ต้องให้ความใส่ใจ อย่างเช่นการศึกษาว่าถนนเส้นใดบ้างในตอนนี้ที่จะมาความพร้อมระบายความแออัดของการจราจรได้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกสาย ณ เวลานี้ ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการหาข้อสรุปนานอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
การปรับแก้ปัญหาเรื่องรถติดเป็นสิ่งทีทางประชาชนรอการแก้ปัญหามานานแล้ว ซึ่งมาตรการนี้ได้รับการตอบรับในทิศทางบวก มีหลายฝ่ายที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้และกำลังจับตามองการทำงานของรัฐบาลอยู่อย่างมีความหวัง ว่าปัญหารถติด การจราจรแออัดในกรุงเทพฯ จะสามารถแก้ไขได้สมที่รอคอยกันมาอย่างยาวนาน
ดูเพิ่มเติม
>> สถานการณ์รถพลังงานไฟฟ้าในตลาดโลกกับการเตรียมรับมือของไทย
>> สรรพสามิตจ่อขึ้นภาษี "แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า" บังคับค่ายรถกำจัด-รีไซเคิลครบวงจร
ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้