สรรพสามิตจ่อขึ้นภาษี "แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า" บังคับค่ายรถกำจัด-รีไซเคิลครบวงจร

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 25 มิ.ย 2562
แชร์ 5

กรมสรรพสามิตเตรียมเสนอร่างกฎหมายใหม่จัดเก็บภาษีนำเข้า ผลิต "แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า" หวังเอาเงินเข้ากองทุนรัฐวางระบบจัดการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม

สรรพสามิตจ่อขึ้นภาษี

สรรพสามิตจ่อขึ้นภาษี "แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า" บังคับค่ายรถกำจัด-รีไซเคิลครบวงจร 

ถือเป็นอีกข่าวที่ข้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์บ้านเรา โดยเฉพาะในประเด็นการรุดหน้าเรื่องแนวทางการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นจริงในบ้านเราให้ได้ และหนึ่งในหัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้านั่นคือระบบแบตเตอรี่ ที่เป็นตัวกลไกสำคัญในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ล่าสุดหน่วยงานของภาครัฐก็เสนอมาตรการทางภาษี เพื่อให้มาจัดการกับแบตเตอรี่รถยนต์โดยเฉพาะ

คำอธิบายจากกรมสรรพสามิต โดยนายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ออกมาสะท้อนถึงมาตรการตัวใหม่ที่กรมสรรพสามิตเตรียมเสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่เพื่อใช้จัดการและควบคุมแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าว่า ปัจจุบันรัฐบาลเองก็มีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้ การผลิต และการประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้น พร้อมทั้งมีมาตรการต่างๆ ออกมาสนับสนุนผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศให้หันมาสนใจกับเรื่องการผลิตรถยนต์ไฟฟฟ้าด้วย ทั้งการปรับลดอัตราภาษีรถยนต์ที่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่่อนไขของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ที่คิดภาษีจากเดิมที่ 2% เหลือเพียง 0% กรอบเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อกระตุ้นให้ค่ายผู้ผลิตรถยนต์หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ตลาด

มาตรการทางภาษีจะถูกนำมาจัดเก็บกับเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา

มาตรการทางภาษีจะถูกนำมาจัดเก็บกับเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา 

แต่เพราะหัวใจของรถยนต์ไฟฟ้าคือแบตเตอรี่ ดังนั้น ภาครัฐเองจะต้องมีมาตรการเข้ามาควบคุมด้วย เพราะท้ายสุดเมื่อหมดระยะการใช้งานแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์พวกนี้ก็จะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่หากไม่มีการควบคุมจัดการที่ครอบคลุมดีพอก็จะเป็นภาระและมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอีก

เมื่อเป็นเช่นนั้น กรมสรรพสามิต จึงได้เตรียมเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว โดยกฎหมายดังกล่าวจะเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาด้านขยะพิษ ที่เกิดจากแบตเตอรี่ใช้แล้วหรือแบตเตอรี่หมดอายุ ที่ใช้ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งในอนาคตจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และเตรียมเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวให้กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำงานในไม่ช้าได้พิจารณาต่อไป

แน่นอนว่าแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อหมดอายุการใช้งานและไม่มีการจัดการที่ดี มันจะเป็นขยะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
แน่นอนว่าแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อหมดอายุการใช้งานและไม่มีการจัดการที่ดี มันจะเป็นขยะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

นายพชร บอกย้ำอีกว่า การบริหารจัดการแบตเตอรี่ภายใต้กองทุนที่อยู่ในกรอบร่างพ.ร.บ.กองทุนส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว ส่วนหนึ่งนอกจากรัฐจะอุดหนุนเงินเข้ากองทุนดังกล่าวที่คาดว่าจะใช้ในการก่อตั้งกองทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท รัฐบาลจะมีนโยบายในการจัดเก็บเงินจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าแบตเตอรี่เพิ่มเติม จากภาษีสรรพสามิตที่เดิมมีการจัดเก็บอยู่ที่ 8% เพื่อนำเข้ากองทุนที่มีลักษณะคล้ายกับกองทุนต่างๆ ที่มีการจัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน เช่น กองทุนน้ำมัน กองทุนเหล้าหรือเบียร์ เป็นต้น  และสำหรับกองทุนด้านการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ก็เพื่อใช้บริหารจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศ

ดูเพิ่มเติม
>> 
รถยนต์ไฟฟ้าในไทย มีอนาคตมั้ย ซื้อใช้แล้วคุ้มหรือเปล่า มาดู 7 เหตุผล ที่น่าใช้ในเมืองไทย
>> นิสสันจับมือกฟภ.พัฒนา "จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า" หวังอีก 2 ปีครอบคลุมทั้งประเทศ

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต 

"แต่อัตราการจัดเก็บภาษีแบตเตอรี่รถยนต์ จะต้องรอรัฐบาลใหม่เป็นผู้อนุมัติค่าจัดเก็บ โดยเงินที่จัดเก็บได้จะนำมาใช้ในการสนับสนุนการกำจัดซากแบตเตอรี่ที่หมดอายุใช้งาน แต่ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแบตเตอรี่ มีแนวทางบริหารจัดการกำจัดซากแบตเตอรี่ที่หมดอายุอย่างครบวงจร เช่น การรีไซเคิล หรือกระบวนการกำจัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแบตเตอรี่ สามารถทำเรื่องขอรับเงินภาษีดังกล่าวคืน (รีฟันด์) ได้" อธิบดีกรมสรรพสามิต ย้ำข้อมูล

อีกหนึ่งเหตุผลที่กรมสรรพสามิตสะท้อนออกมา และเพื่อย้ำถึงความหมายของการจัดเก็บภาษีแบตเตอรี่รถยนต์อีกครั้ง ก็เพราะประเทศไทยในช่วงเวลานี้อยู่ระหว่างการส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มที่ และต้องการให้เกิดการใช้งานที่มากขึ้นด้วย และแน่นอนว่าการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานมันนก็ย่อมมีสิ่งตามมาคือซากแบตเตอรี่ที่จะเป็นขยะพิษอันมีจำนวนมากขึ้นไปด้วย และหากไม่มีการจัดการที่ถูกต้องและครอบคลุมก็จะสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าแบตเตอรี่มีกระบวนการกำจัด หรือรีไซเคิลแบตเตอรี่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง

การกระตุ้นให้บ้านเราหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้านับเป็นเรื่องดี แต่การจัดการหลังจากหมดอายุการใช้งานก็สำคัญ

การกระตุ้นให้บ้านเราหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้านับเป็นเรื่องดี แต่การจัดการหลังจากหมดอายุการใช้งานก็สำคัญ 

นับเป็นอีกเรื่องที่สำคัญที่เดียว เพราะการพัฒนาทางเทคโนโลยีสำหรับอนาคตโดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา คงจะเอาแต่ความเจริญและกระตุ้นให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวไม่ได้ สิ่งที่ต้องเดินควบคู่กันไปอย่างเส้นขนานคือการจัดการที่ต้องไม่กระทบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะเราต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็เพื่อสิ่งแวดล้อมในการลดมลพิษจากท่อไอเสียหรือจากเครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่ให้รถยนต์ไฟฟ้าต้องเป็นตัวก่อปัญหาที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ของมันด้วยเหมือนกัน

ดูเพิ่มเติม
>> 
เปิดตัวแล้ว "NEW MG ZS EV" รถยนต์ไฟฟ้าลุยตลาดรถไทย กับค่าตัว 1.19 ล้านบาท
>> สาระดี ๆ ที่น่าสนใจกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

​ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้

Cop