ส.อ.ท.แจงยอดส่งออกรถยนต์เดือนเมษายนผลิตเพิ่ม แต่ส่งออกได้น้อย ชี้ต่ำสุดในรอบ 24 เดือน
ถือเป็นข่าวความเคลื่อนไหวในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของบ้านเรา ทั้งไลน์การผลิต ประกอบตัวรถ และแน่นอนว่าการส่งออกก็ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของแต่ละค่ายผู้ผลิตอีกด้วย
กับตัวเลขล่าสุดที่เกี่ยวกับการส่งออกรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเปิดเผยโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่ออกมาเปิดเผยจำนวนการผลิตรถยนต์ โดยพบว่าสามารถผลิตรถยนต์ 150,242 คัน เพิ่มขึ้น 11.47% ขายในประเทศ 86,076 คัน เพิ่มขึ้น 8.7% แต่การส่งออกสามารถส่งออกได้ 67,114 คัน ต่ำสุดรอบ 24 เดือน เพราะลดลงไป 7.52%
แม้จะมีไลน์การผลิตรถยนต์ที่มากขึ้น แต่สำหรับตลาดการส่งออกของไทยกลับลดลง
ในรายละเอียดนั้น นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยพร้อมกับย้ำตัวเลขการผลิตรถยนต์จากฐานการผลิตในประเทศไทยว่า จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนเมษายน 2562 มีทั้งสิ้น 150,242 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 11.47 จากการผลิตรถกระบะเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.99, 18.74 ตามลำดับ แต่ลดลงจากเดือนมีนาคม 2562 ร้อยละ 24.43 เนื่องจากเดือนเมษายนมีวันทำงานน้อย
ส่วนจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – เมษายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 711,729 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 5.52 ซึ่งหากจำแนกในกลุ่มรถยนต์แต่ละประเภท จะมีข้อมูลดังนี้
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่กระทบการส่งออกรถยนต์ ก็คือผลพวงจากสงครามการค้า
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2562 มีจำนวน 286,663 คัน เท่ากับร้อยละ 40.28 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 3.33
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนเมษายน 2562 ผลิตได้ 34 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 54.55 รวมเดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตได้ 147 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 36.11
รถยนต์บรรทุก เดือนเมษายน 2562 ผลิตได้ทั้งหมด 89,062 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 12.97 และตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตได้ทั้งสิ้น 424,919 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 7.05
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2562 ผลิตได้ทั้งหมด 87,096 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 13.34 และตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตได้ทั้งสิ้น 415,434 คัน เท่ากับร้อยละ 58.37 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 7.29 โดยแบ่งเป็น
1.รถกระบะบรรทุก 113,116 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 3.7
2.รถกระบะดับเบิลแค็บ 250,046 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 14.53
3.รถกระบะ PPV 52,272 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 12.57
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน – มากกว่า 10 ตัน เดือนเมษายน 2562 ผลิตได้ 1,966 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 1.31 รวมเดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตได้ 9,485 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 2.53
แม้จะดูเหมือนว่าการผลิตจะมากขึ้น และการบริโภคในประเทศดีก็ตาม แต่อีกสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาคือเรื่องการส่งออก
เดือนเมษายน 2562 ผลิตได้ 75,169 คัน เท่ากับร้อยละ 50.03 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 2.82 ส่วนเดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 378,792 คัน เท่ากับร้อยละ 53.22 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 1.33
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2562 ผลิตเพื่อการส่งออก 26,718 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 7.25 และตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 134,319 คัน เท่ากับร้อยละ 46.86 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 5.14
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2562 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 48,451 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 9.37 และตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 244,473 คัน เท่ากับร้อยละ 58.85 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 5.27 โดยแบ่งเป็น
1.รถกระบะบรรทุก 28,979 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 3.96
2.รถกระบะดับเบิลแค็บ 184,341 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 12.92
3.รถกระบะ PPV 31,153 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 19.74
การผลิตรถยนต์ในเดือนเมษายนเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 21.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เดือนเมษายน 2562 ผลิตได้ 75,073 คัน เท่ากับร้อยละ 49.97 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 21.73 และเดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตได้ 332,937 คัน เท่ากับร้อยละ 46.78 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 10.74
ดูเพิ่มเติม
>> Toyota-Honda ระงับส่งรถยนต์ออกขายเวียดนาม
>> อินโดนีเซียขยับแรง ตั้งเป้าส่งออกรถยนต์ 4.5 แสนคัน
แต่ก็ไม่ใช่แค่เพียงการส่งออกรถยนต์เท่านั้นที่ยอดลดลง หากแต่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยก็ได้รับผลกระทบด้วย
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2562 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 34,428 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 26.99 ยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตได้ 152,344 คัน เท่ากับร้อยละ 53.14 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม – เมษายน 2561 แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.15
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2562 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 38,645 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 18.74 และตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2562 ผลิตได้ทั้งสิ้น 170,961 คัน เท่ากับร้อยละ 41.15 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 10.32 ซึ่งแบ่งเป็น
1.รถกระบะบรรทุก 84,137 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 6.63
2.รถกระบะดับเบิลแค็บ 65,705 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 19.28
3.รถกระบะ PPV 21,119 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 0.71
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนเมษายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 86,076 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 8.7 ยอดขายภายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความต้องการของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้น มีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ในงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดรถยนต์ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีต่อเนื่อง นโยบายช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรจากภาครัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังคงขยายตัว ยอดขายในประเทศลดลงจากเดือนมีนาคม 2562 ร้อยละ 16.6 เนื่องจากจำนวนวันทำงานน้อยกว่า
เดือนเมษายน 2562 ส่งออกได้ 67,114 คัน ต่ำสุดรอบ 24 เดือน เท่ากับร้อยละ 89.28 ของยอดผลิตเพื่อส่งออก ลดลงจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 7.52 โดยส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดออสเตรเลีย ซึ่งกลับมาเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกของปีนี้ และตลาดตะวันออกกลาง ซึ่งยังคงเติบโตขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น มีมูลค่าการส่งออก 35,545.33 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 3.02
-เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,719.74 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 15.46
-ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 14,462.35 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 12.19
-อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 1,933.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 22.79
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนเมษายน 2562 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 54,660.49 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2561 ร้อยละ 5.62
เดือนมกราคม – เมษายน 2562 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 366,955 คัน โดยส่งออกลดลงจากปี 2561 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 0.23 มีมูลค่าการส่งออก 185,200.80 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 2.46
-เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 11,017 34. ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 13.37
-ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 64,694.08 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 5.42
-อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 7,789.52 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 28.01
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม – เมษายน 2562 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 268,701.75 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – เมษายน 2561 ร้อยละ 4.65
ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา เพราะยิ่งกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่ก็เร่งจะเป็นฮับในการส่งออกรถยนต์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของตัวเองและเป็นใหญ่ในด้านการส่งออกของอาเซียน ประเทศไทยยิ่งต้องกระตุ้นและหาทางส่งออกให้ได้มากยิ่งขึ้น
ดูเพิ่มเติม
>> ปัจจัยภายนอกมีผล Toyota มองตลาดรถไทย ขายได้สูงสุด 1 ล้านคัน
>> สภาอุตฯ ชี้ยอดขายรถในประเทศโตดี แต่ส่งออกมีสัญญาณ “วูบ”
ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้