ถกคุยเรื่องมลพิษและทิศทางของยานยนต์เมืองไทย “EV-ยูโร 5” ผ่านมุมมองภาครัฐและเอกชน

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 17 เม.ย 2562
แชร์ 0

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “EV-ยูโร 5 แก้ปมมลพิษหรือจุดเปลี่ยนอุตสาหรกรรมยานยนต์ไทย” โดยสมาชมผู้สื่อข่าวรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย ว่าด้วยเรื่องของการจัดการปัญหามลพิษที่มีแต่จะทวีคูณมากขึ้นในประเทศ ตั้งแต่การแก้ไข การจัดเตรียมมาตรฐานใหม่ ๆ ในการวัดค่ามลพิษที่ปล่อยมาจากรถที่ใช้เครื่องยนต์ ไปจนถึงเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนในยานยนต์จากพลังทางเลือกอย่างรถ EV

ถกคุยเรื่องมลพิษและทิศทางของยานยนต์เมืองไทย “EV-ยูโร 5” ผ่านมุมมองภาครัฐและเอกชน

ถกคุยเรื่องมลพิษและทิศทางของยานยนต์เมืองไทย “EV-ยูโร 5” ผ่านมุมมองภาครัฐและเอกชน

ในขณะที่ทิศทางของอุตสาหกรรมโลก เอนไปในเรื่องเทคโนโลยีและพลังงานสะอาดมาขึ้นทุกวัน จึงมีความจำเป็นที่อุตสากรรมในประเทศไทยจะต้องวางกลยุทธ์ตามไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าการส่งเสริมของภาครัฐฯ ว่าด้วยเรื่องของการส่งเสริมเทคโนโลยีและการเข้มงวดในเรื่องของมาตรฐานไอเสียนั้นมาถูกทางแล้ว ทั้งการเขยิบเวลาให้เร็วขึ้นในการบังคับใช้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 มาเป็นในปี 2564, เป็นยูโร 6 ในปี 2565 รวมไปถึงการส่งเสริมให้โรงกลั่นน้ำมันมาตรฐานยูโร 5 ออกมาป้อนตลาดให้เพียงพอ ทั้งหมดล้วนแต่เป็นการช่วยปัญหามลพิษทางอากาศได้แทบทั้งสิ้น รวมถึงปัญหาใหญ่อย่างในเรื่องของฝุ่งละอองขนาดเล็ก PM2.5

และถึงแม้ว่ารถจะใช้เครื่องยนต์ที่มีมาตรฐานไอเสียยูโร 4 ก็ตาม การเปลี่ยนมาเติมใช้น้ำมันยูโร 5 ก็จะสามารถลดการปล่อยมลพิษได้มากกว่าเดิมถึง 25% และมลพิษที่ปล่อยออกมาจะน้อยกว่าเดิมถึง 5 เท่า ถ้าเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นมาตรฐานยูโร 5 ร่วมด้วย

อย่างไรก็ตามทาง คุณองอาจ พงษ์กิจวรสิน ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ได้ให้ความเห็นในเรื่องของการปรับมาตรฐานเครื่องยนต์เป็นยูโร 6 ว่าอาจเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ค่อยตรงจุดนัก เพราะมลพิษที่ปล่อยออกมาจากยูโร 5 กับ ยูโร 6 นั้นไม่ต่างกันมากในเรื่องของระดับฝุ่นละอองที่ปล่อยออกมา จะต่างก็เพียงค่าไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ การนำมาใช้ซึ่งน้ำมันมาตรฐานยูโร 5 อย่างแพร่หลายจะเอื้อประโยชน์ในวงกว้างได้มากกว่า ไม่แค่เฉพาะกับรถใหม่ที่เป็นมาตรฐานยูโร 4 หรือ 5 แล้วเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงรถยนต์ปีเก่าด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้รถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนนได้มีส่วนร่วมในการช่วยรักษามลพิษทางอากาศของประเทศไทย

ดูเพิ่มเติม
>> 
ลาวเดินเครื่อง สร้างสถานีชาร์ไฟ รองรับรถยนต์ไฟฟ้า
>> เกาหลีใต้จับมือเวียดนามร่วมผลิต แบตเตอรี่ ใส่รถไฟฟ้าของVinFast

น้ำมันยูโร 5 ถ้าได้ใช้อย่างแพร่หลาย ก็จะช่วยลดมลพิษได้ในวงกว้างกว่าทั้งรถใหม่และรถเก่า

น้ำมันยูโร 5 ถ้าได้ใช้อย่างแพร่หลาย ก็จะช่วยลดมลพิษได้ในวงกว้างกว่าทั้งรถใหม่และรถเก่า

ส่วนในด้านของรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle หรือ EV ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไทยจะต้องรีบปรับตัวด้วยเช่นกัน ถ้าไม่รีบก็จะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย “ล้าหลัง” กว่าประเทศอื่น ๆ และเสียโอกาสของช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปไปเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าได้ ซึ่งปัจจุบันขณะประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกรวมกว่า 2 ล้านคัน แต่สำหรับรถ EV ยังเป็นเพียงระยะเริ่มต้นเท่านั้นทั้งในเรื่องการใช้งานในประเทศและการผลิตเพื่อส่งออกป้อนตลาดโลก

คุณองอาจ พงษ์กิจวรสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

คุณองอาจ พงษ์กิจวรสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

และแม้ว่าการสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากเท่าที่ควร ทางฝั่งของผู้ประกอบการกลับให้ความสนใจทำตลาดรถ EV ในไทยแล้วหลายต่อหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น Nissan, Hyundai, Audi รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทยแท้ ๆ อย่าง MINE ก็คลอดออกมาแล้วเป็นที่เรียบร้อย

การปรับตัวให้ทันยุคเป็นเรื่องที่ทุกอุตสาหกรรมจะต้องเผชิญ ไม่เช่นนั้นก็อยู่ไม่รอด อุตสาหกรรมยานยนต์ก็ด้วยเช่นกันที่ไม่ใช่แค่ผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น ในด้านของผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ต้องปรับตัวตามกันด้วย  สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือการส่งเสริมจาก “ภาครัฐฯ” ที่ควรมีมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ในเรื่องของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ถ้ายังต้องการคงไว้เป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางผลิตสำคัญเพื่อป้อนรถยนต์สู่ตลาดโลก มัวแต่รอมัวแต่ช้า สุดท้ายก็จะกลายเป็นประเทศผู้ผลิตคู่แข่งที่แซงหน้าเราไป

ทั้งนี้เราขอนำเสนอข้อมูลในเรื่อง “อันดับ” ของประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตยานยนต์รวมทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก จัดอันดับโดย Organisation Internationale des Constructeurs d’Automobiles (OICA)

  • ปี 2014 : อันดับที่ 12 ยอดรวม 1,880,587 คัน
  • ปี 2015 : อันดับที่ 12 ยอดรวม 1,915,420 คัน
  • ปี 2016 : อันดับที่ 12 ยอดรวม 1,944,417 คัน
  • ปี 2017 : อันดับที่ 12 ยอดรวม 1,988,823 คัน
  • ปี 2018 : อันดับที่ 11 ยอดรวม 2,167,694 คัน

ด้วยตัวเลขที่ปรากฏ จำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย (รถเครื่องยนต์สันดาป) มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นใน 5 ปี ซึ่งช่วยตอบคำถามได้เป็นอย่างดี ว่าทำไมแรงสนับสนุนจากภาครัฐจึงยังไม่ดีเท่าที่ควร จากจำนวนการผลิตในอุตสาหกรรมยังดีอยู่

แต่ถ้ามองลงลึกไปแล้วนั้นจะเห็นว่า ส่วนแบ่งการตลาดของรถ EV นั้นมีเพิ่มขึ้นในแต่ละปีด้วยเช่นกันสำหรับตลาดโลก เห็นได้จากยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้า EV เทียบระหว่างปี 2018 กับปี 2017 ในแต่ละประเทศสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • ประเทศจีน : 2018 (2,984,447 คัน), 2017 (1,728,447 คัน)
  • ประเทศกลุ่มยุโรป : 2018 (1,346,435 คัน), 2017 (940,383 คัน)
  • ประเทศสหรัฐอเมริกา : 2018 (1,126,000 คัน), 2017 (764,666 คัน)
  • ประเทศญี่ปุ่น : 2018 (257,363 คัน), 2017 (205,350 คัน)

ตารางยอดขายรถ EV จากทั่วโลก จะเห็นว่ารถในประเภทนี้มีการเติบโตสูงขึ้นทุกปี

ตารางยอดขายรถ EV จากทั่วโลก จะเห็นว่ารถในประเภทนี้มีการเติบโตสูงขึ้นทุกปี

ตัวเลขเหล่านี้บอกอะไรกับเรา ? บอกว่า 4 ประเทศและกลุ่มประเทศใหญ่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ผู้คนในประเทศเหล่านั้นแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่มีมากขึ้นต่อรถยนต์ไฟฟ้า หันมาซื้อรถ EV เพิ่มมากขึ้นทุกปี ให้ความสนใจในเทคโนโลยีตัวรถและพลังงานขับเคลื่อนที่มลพิษเป็นศูนย์มากกว่าเรื่องของกำลังม้าแรง ๆ หรือดีไซน์ตัวรถนั่นเอง

แล้วแบบนี้ถ้าประเทศไทยไม่รีบ “ปรับตัว” ตามให้ทันโลก ไม่เพียงแค่จะเสียโอกาสในการคงไว้ซึ่งการเป็นผู้ผลิตยานยนต์รายสำคัญของโลกเท่า แต่ที่น่าสงสารที่สุดคือคนไทย ที่จะต้องทนใช้ทนสูดอากาศมลพิษจากรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปอยู่อย่างทุกวันนี้ ได้แต่รอวันที่การเปลี่ยนแปลงมาถึง

Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้เเละคราวหน้าเรื่องอะไรติดตามไปพร้อมกันเลยนะครับ

ดูเพิ่มเติม
>> 
สรุปยอดสถิติ 4 วันสงกรานต์ ! เกิดอุบัติเหตุ 468 ครั้ง เสียชีวิต 46 ราย เมาแล้วขับรวม 3 พันกว่าคัน
>> ปริ่ม ! MG เผยได้รับการต้อนรับ NEW MG V80 จากคนไทยสูงเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

Pranut
แท็ก EV-ยูโร 5