ค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าน้ำมัน เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 22 ม.ค 2567
แชร์ 6

เกรท วอลล์ มอเตอร์ ร่วมกับ นิด้าโพล สำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมคนไทยที่มีต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 1,000 คนทั่วประเทศในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า คนไทยพิจารณาราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน เป็นอันดับ 1 ที่ 34.1%

ค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าน้ำมัน เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV

เกรท วอลล์ มอเตอร์  ร่วมมือนิด้าโพลล์ สำรวจความคิด คนไทยที่มีต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 1,000 คนทั่วประเทศในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า คนไทยให้ความสนใจรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) มากที่สุดถึง 64.8% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญถึง 37.5%

ผลสำรวจระบุว่า คนไทยพิจารณาราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน 34.1% และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (18.9%) เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

ค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าน้ำมัน เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV

ผลสำรวจความเห็นและพฤติกรรมคนไทยเรื่องรถยนต์พลังงานไฟฟ้าปี 2566 ที่ผ่านมานี้ ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 200 คน และกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป 800 คน ในช่วงอายุระหว่าง 30 – 60 ปี สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าผลสำรวจเผยให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด คือ 

  • ราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน
  • ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การออกแบบที่สวยงามและทันสมัย
  • ความปลอดภัยที่สูงกว่า

ค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าน้ำมัน เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV

ขณะที่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป ปัจจัยในด้านของราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยังคงเป็นสองปัจจัยหลักในการตัดสินใจเปลี่ยนมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเช่นเดียวกัน ตามด้วยความปลอดภัยที่สูงกว่า และความสามารถในการขับที่ได้ระยะทางที่ไกลกว่า

สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาปนั้น สัดส่วนมากถึง 81.3% สนใจที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต โดยให้เหตุผลไว้ว่า

  • ประหยัดพลังงาน 89.4% 
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 72.3%
  • รถยนต์ไฟฟ้ามีเทคโนโลยีที่ทันสมัย 49.9%

รูปแบบตัวถังรถยนต์ไฟฟ้า ที่ผู้ใช้รถยนต์สันดาปอยากเปลี่ยน

  • รถยนต์แบบซีดาน 63.6%
  • รถยนต์อเนกประสงค์ SUV 27.8%
  • รถกระบะ 5.1%
  • รถยนต์อเนกประสงค์ PPV 3.5%

โดยส่วนใหญ่มีแผนที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในอีก 3 – 4 ปี และคาดหวังว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่จะซื้อนั้นจะมีระยะทางการขับขี่ต่อหนึ่งการชาร์จในช่วงระหว่าง 501 – 600 กิโลเมตร ในราคาประมาณ 700,001 – 900,000 บาท

โดยส่วนใหญ่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์จากประเทศจีนสูงถึง 83.1% เนื่องจากเชื่อมั่นในแบรนด์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 

ค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าน้ำมัน เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV

เหตุผลหลักที่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาปยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในขณะนี้

  • ระบบความปลอดภัยเป็นหลัก 66.0%
  • จำนวนสถานีชาร์จที่มีจำกัด 50.7%
  • ความกังวลเกี่ยวกับเวลาในการชาร์จที่ยาวนาน 40.0% 

ด้านกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผลสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถคันหลักในการเดินทาง (91.5%) และมีความพึงพอใจกับการใช้รถเนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่าย (ราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน) มากถึง 49.2%

ตามด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและการออกแบบที่สวยงาม (16.6%) และการขับขี่คล่องตัว อัตราเร่งดี (14.5%) ขณะที่จำนวนสถานีชาร์จที่น้อย (57.1%) และระยะเวลาในการชาร์จที่นานเกินไป (42.9%) เป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไม่พึงพอใจที่สุด

นอกจากนี้ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่มองว่า การลดอัตราค่าชาร์จไฟตามสถานีชาร์จต่าง ๆ การลดค่าจดทะเบียนรายปีรวมถึงค่าเบี้ยประกันภัยให้น้อยกว่ารถยนต์แบบสันดาป และที่จอดรถเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นสิทธิพิเศษที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องการมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับการใช้รถคือ อายุของแบตเตอรี่ สถานีชาร์จไฟ รวมถึงอะไหล่และค่าดูแลรักษาต่าง ๆ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนมากยังได้ให้เหตุผลว่า จำนวนสถานีชาร์จไฟที่น้อยและไม่ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ และราคาแบตเตอรี่ที่สูง จะเป็นสองปัจจัยหลักที่นำไปสู่การเลิกใช้รถยนต์ไฟฟ้า

นอกเหนือจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ต่ำลงกว่าในปัจจุบันจะกระตุ้นให้คนไทยเปลี่ยนใจหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด ตามด้วยการมีสถานีชาร์จไฟที่เพียงพอ รวมทั้งสมรรถนะและเทคโนโลยีในการขับรถที่ดีกว่า

ผู้ตอบแบบสอบถามยังได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการสนับสนุนจากรัฐบาลนอกจากมาตรการส่วนลดทางภาษีและเงินอุดหนุนว่า การสนับสนุนจากรัฐบาลในการเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จเป็นสิ่งที่ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างต้องการมากที่สุด (34.0%) ตามด้วยการสนับสนุนค่าไฟฟ้า (28.0%) และการสนับสนุนค่าบำรุงรักษารถยนต์ (18.0%)

นายณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า

“ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย เราได้ร่วมมือกับนิด้าโพลในครั้งนี้เป็นปีที่สามของการสำรวจ จากผลการสำรวจ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนถึงแนวโน้มการเปิดรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นจากการเติบโตของยอดขายและยอดจดทะเบียนของรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 700% จากปี 2565 ที่ผ่านมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ การเข้ามาของแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องร่วมมือกันในการผลักดันการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องผ่านนโยบายและสิทธิพิเศษต่าง ๆ การขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน การทำงานร่วมกันเกี่ยวกับข้อกังวลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้รถยนต์

ตลาดรถมือสอง มีรถมากมายให้เลือกในราคาที่ถูกใจ