กรมการขนส่งได้มีการเผยและระบุอย่างชัดเจนเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า ภายในสิ้นปี 2562 นี้รถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปใรประเทศไทยจะต้องมีระบบ GPS Tracking ที่จะสามารถติดตามและควบคุมพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถได้แบบเรียลไทม์ และสร้างความปลอดภัยให้กับระบบขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืน
ทางด้านอธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือ นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ได้เผยส่า การควบคุมการใช้งานและรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรการที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญและมีส่วนช่วยในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนได้ ทั้งนี้จึงมีการให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking ภายใต้โครงการ “มั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS” โดยโครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นมา เพื่อให้ทางภาครัฐ ผู้ประกอบการขนส่ง และประชาชนสามารถติดตามและควบคุมพฤติกรรมการขับรถของพนักงานได้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ยังแสดงข้อมูลการติดตามด้วยความแม่นยำสูง ประกอบกับการใช้ความเร็ว, เส้นทางที่ใช้, ระยะทาง, ตำแหน่งพิกัดของรถ, ชั่วโมงการขับรถและเวลาหยุดพักค่ะ
รถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่สิบล้อขึ้นไปจะมีระบบ GPS Tracking ติดตามและควบคุมพฤติกรรมการขับอย่างใกล้ชิด
รถบรรทุกและรถโดยสารต่างๆ ที่จะต้องมีการติดตั้ง GPS Tracking
ทั้งนี้ทางผู้ประกอบการนั้นสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารการขนส่งทางบกได้อีกด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดระยะทางการใช้รถ ติดตามพฤติกรรมการขับรถ และควบคุมให้มีการใช้ความเร็วอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนการขนส่งและพัฒนาระบบโลจิสติกส์อีกด้วย รวมไปถึงการลดพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS กรมการขนส่งทางบกทั้งที่ส่วนกลางและศูนย์ GPS ไว้ในแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมและประมวลข้อมูลการใช้งานตลาด 24 ชั่วโมง หรือสามารถติดตามรถโดยสารได้ผ่านทางแอพลิเคชั่น DLT GPS ค่ะ
ดูเพิ่มเติม
>> เรียนรู้กฎหมาย "รถติดไฟแนนซ์" ขายต่อจะมีความผิดมั้ย?
>> เตรียมความพร้อมให้ดี..ก่อนไปสอบ “ใบขับขี่ 2562”
แอพลิเคชั่น DLT GPS
นอกจากนี้ ทางอธิบดีกรมการขนส่งทางบกนั้นยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจุบันรถโดยสารและรถบรรทุกนั้นได้มีการติดตั้งระบบ GPS Tracking เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ไว้เรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น 22,864 คัน ซึ่งรถโดยสารไม่ประจำทางติดตั้ง GPS แล้วจำนวน 60,700 คัน รถบรรทุกไม่ประจำทางติดตั้ง GPS แล้วจำนวน 123,459 คัน คงเหลือรถบรรทุกส่วนบุคคลที่จดทะเบียนก่อนปี 2559 จำนวน 257,930 คัน เท่านั้น ทั้งนี้ยังมีกำหนดให้ดำเนินการติดตั้ง GPS Tracking ภายในรอบปีภาษี 2562 อีกด้วย นอกจากนี้เพื่อให้มาตรการด้านความปลอดภัยของกรมขนส่งทางบกนั้นเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทางด้านประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนก็จะได้รับความคุ้มครองทางด้านความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งหวังว่าทางผู้ประกอบการขนส่งควบคุมและกำชับให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และจะมีการตรวจสอบรายงานข้อมูลการเดินที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องรบกวนสัญญาณหรือตัดสัญญาณ GPS เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามรถโดยสารสาธารณะได้ผ่านทางแอพลิเคชั่น DLT GPS ตลอด 24 ชั่วโมง
รถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่สิบล้อขึ้นไปจะมีระบบ GPS Tracking เพื่อติดตามและควบคุมพฤติกรรมการขับอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวนี้ก็ได้ทยอยใช้กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้บริการรถโดยสารและรถบรรทุก ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการลดต้นทุนอีกด้วย เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารอีกด้วยค่ะ
ดูเพิ่มเติม
>> รอรัฐบาลใหม่เคาะกฎหมาย "คุ้มครองคนซื้อรถยนต์ใหม่-เลิกป้ายแดง-เพิ่มโทษจราจร"
>> กฎหมายน่ารู้วันนี้! “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” ที่ได้ยินมานั้นถูกต้องจริง หรือมั่วนิ่ม?
ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้