แบตเตอรี่รถเสื่อมสภาพเร็ว มีปัญหามาจากอะไร!?

ประสบการณ์ใช้รถ | 29 มี.ค 2562
แชร์ 5

แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี แต่ในบางครั้งก็อาจมีปัญหาบางอย่างที่ส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลง และเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้รถไม่สามารถได้งานได้ตามปกติ วันนี้ Chobrod จะมาอธิบายให้เพื่อนๆ เข้าใจมากขึ้นกันค่ะ

แบตเตอรี่รถเสื่อมมีปัญหามาจากอะไร?

แบตเตอรี่รถเสื่อมมีปัญหามาจากอะไร?

แบตเตอรี่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรถยนต์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์หลักสำหรับระบบไฟฟ้าในรถยนต์ และระบบสตาร์ท ซึ่งตามปกติแล้วแบตเตอรี่ 1 ลูกจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี แต่กสำหรับรถใหม่หากดูแลดี แบตเตอรี่ก็สามารถอยู่ได้นานถึง 4 ปีเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาการแบตเตอรี่เสื่อม Chobrod จะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับแบตเตอรี่รถยนต์กันก่อนค่ะ

แบตเตอรี่รถยนต์ คือ อะไร?

แบตเตอรี่รถยนต์ คือ อุปกรณ์เก็บพลังงาน และปล่อยกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ในการขับขี่

แบตเตอรี่รถยนต์ คือ อุปกรณ์เก็บพลังงาน และปล่อยกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ในการขับขี่

แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นเซลล์ไฟฟ้าชนิดแห้ง ที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกไป ซึ่งถือเป็นส่วนแหล่งเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า โดยจะเก็บสะสมไฟฟ้าไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็น และหากแบตเตอรี่หมดสามารถอัดไฟใหม่ได้ สำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เอง แต่จะเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ในรูปพลังงานเคมี ที่เมื่อต่อสายนำไปใช้พลังงานเคมีก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า สรุปก็คือแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์หลักสำหรับระบบไฟฟ้าในรถยนต์ ที่มีหน้าที่สำรองไฟ และเป็นตัวป้อนกระแสไฟฟ้าให้ระบบต่างๆ ของรถยนต์ โดยแบตเตอรี่มีระยะเวลาการใช้งานอยู่ประมาณ 1 ปี หรือมากกว่านั้นแต่ไม่เกิน 2 ปี

สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์จะเป็นแบตเตอรี่แบบชาร์จได้ หรือที่เรียกว่า SLI battery (Starting, Lighting, ignition) เป็นแหล่งที่ป้อนพลังงานไฟฟ้าให้แก่ยานยนต์ เพื่อให้กำลังไฟสำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ ระบบไฟส่องสว่าง และระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ ในบางครั้งถูกนำไปใช้เป็นแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

แบตเตอรี่รถยนต์แบบชาร์จได้ หรือที่เรียกว่า SLI battery (Starting, Lighting, ignition)​

แบตเตอรี่รถยนต์แบบชาร์จได้ หรือที่เรียกว่า SLI battery (Starting, Lighting, ignition)​

แบตเตอรี่รถยนต์ หรือ SLI Battery ส่วนมากเป็นแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด ทำมาจากแผ่นตะกั่ว ที่ซึ่งในแต่ละช่องเซลล์จะประกอบด้วยแผ่นตะกั่วหลายๆแผ่นในหนึ่งช่องเซลล์ถูกหล่อเลี้ยงด้วยน้ำกรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถัน ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำกรดกำมะถัน 35 เปอร์เซ็นต์ และน้ำอีก 65 เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนในการผสมผสานระหว่างกรดกำมะถัน และน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ซึ่งมีค่าในการเป็นสื่อกระแสไฟ และเมื่อนำแบตเตอรี่มาชาร์จไฟจะทำให้ค่าพลังงานไฟฟ้าสมบูรณ์​ โดยแต่ละลูกจะประกอบไป ด้วย 6 เซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์จะให้พลังงานไฟฟ้า 2.1 โวลต์ ทั้งหมดรวมกันจะได้ประมาณ 12.6 โวลต์ ในขณะที่ชาร์จเต็มที่แล้ว สำหรับรถขนาดใหญ่เช่นรถบรรทุก รถบัส ซึ่งส่วนมากใช้เครื่องยนต์ดีเซล อาจจะใช้แบตเตอรี่ถึง2ลูก และใช้วิถีต่อขนานในการเชื่อมต่อแบตเตอรี่

ดูเพิ่มเติม
>> ถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยน ถึงระยะก็เช็ค มาตรวจสอบกันกับรายการบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะเวลาใช้งาน
>> ขับรถในหน้าร้อนควรใส่ใจอะไรบ้าง! มาดู 7 วิธี การดูแลส่วนต่าง ๆ ของรถในซัมเมอร์สุดฮอต

วิธีการเช็คแบตเตอรี่รถยนต์

เช็คแบตเตอรี่ได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้มิเตอร์วัดโวลต์ที่ใช้วิเคราะห์ระบบไฟในรถยนต์

เช็คแบตเตอรี่ได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้มิเตอร์วัดโวลต์ที่ใช้วิเคราะห์ระบบไฟในรถยนต์

การสามารถเช็คแบตเตอรี่ได้ง่ายๆ โดยใช้มิเตอร์วัดโวลต์ที่ใช้วิเคราะห์ระบบไฟในรถยนต์ (หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป) โดยค่าแบตเตอรี่ปกติเวลาดับเครื่องจะอยู่ที่ประมาณ 12 โวลต์ หากมีค่าต่ำกว่านี้นั่นหมายความว่าแบตเตอรี่หมดอายุ แล้วเพราะเก็บไฟไม่อยู่

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถเช็คดูได้ว่าแบตเตอรี่หมดอายุหรือไม่ โดยดูที่ค่าแบตเตอรี่หลังจากจอดรถทิ้งไว้ 4 – 6 ชั่วโมงเป็นต้นไป ถ้าได้ต่ำกว่า 12 โวลต์ เช่น 11.5 – 11.9 แสดงว่าแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมแล้วค่ะ โดยเฉพาะยิ่งถ้าหากต่ำกว่า 11.5 โวลต์ ก็จะถือว่าเป็นอันตรายมากๆ เนื่องจากอาจทำให้รถสตาร์ทไม่ติดได้ เป็นสัญญาณว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่แล้ว

อาการแบตเตอรี่เสื่อม

หากรถมีอาการสตาร์ทติดเครื่องยาก หลังจากจอดเป็นเวลานาน เป็นสัญญาณว่าควรเช็คแบตเตอรี่ได้แล้ว

หากรถมีอาการสตาร์ทติดเครื่องยาก หลังจากจอดเป็นเวลานาน เป็นสัญญาณว่าควรเช็คแบตเตอรี่ได้แล้ว​

บางครั้งกว่าที่เราจะรู้ว่าแบตเตอรี่เสื่อมก็เป็นตอนที่แบตเตอรี่หมดไป หรือไม่ก็เครื่องดับกลางทาง ซึ่งคงไม่ดีแน่ แล้วอาการที่บ่งบอกว่าแบตเตอรี่เสื่อมมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

1. รถมีอาการสตาร์ทติดยากหลังจากที่จอดรถทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง โดยต้องใช้เวลาสตาร์ทค่อนข้างนานกว่าเครื่องจะติด

2. ไฟหน้าให้ความสว่างน้อยลง

3. กระจกไฟฟ้าเลื่อนขึ้น – ลงช้า

ซึ่งนอกจาก 3 ข้อนี้แล้วก็ยังมีจุดยิบย่อยต่างๆ อีกมากมายที่จะชี้ให้เห็นว่าแบตเตอรี่รถเสื่อมลงแล้วจริงๆ เช่น ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ ไดสตาร์ทไม่ทำงาน แผ่นธาตุภายในบวม หรือน้ำกรดภายในลดลงต่ำกว่าแผ่นธาตุ ถ้าหากเกิดอาการเหล่านี้เมื่อไหร่ก็เลี้ยวเข้าร้านแบตเตอรี่ได้เลย

สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม

อาการแบตเตอรี่เสื่อมเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนหนึ่งคือเกิดขี้เกลือขึ้นที่ขั้วแบตเตอรี่

อาการแบตเตอรี่เสื่อมเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนหนึ่งคือเกิดขี้เกลือขึ้นที่ขั้วแบตเตอรี่

มีหลายสาเหตุด้วยกันที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมซึ่งอาจเกิดได้จากทั้งวงจรภายในแบตเตอรี่เอง และเกิดจากพฤติกรรมการใช้รถของเรา ซึ่งมีด้วยกันหลายประการ ดังนี้

สาเหตุภายใน

น้ำกลั่นที่สกปรกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้ง่าย

น้ำกลั่นที่สกปรกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้ง่าย

  • น้ำกลั่นสกปรก หรือมีสิ่งปนเปื้อน ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ไม่สมบูรณ์ จนส่งผลให้แบตเตอรี่เก็บไฟไม่อยู่ ทางที่ดีให้เลือกใช้น้ำกลั่นที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานเติมจะดีที่สุด นอกจากนี้ควรทำความสะอาดตัวแบตเตอรี่ก่อนเติม โดยเฉพาะบริเวณจุกเติมน้ำกลั่น ที่อาจจะมีฝุ่นเกาะ หรือมีคราบน้ำมันเข้าไปปะปนระหว่างเติม
  • เกิดการลัดวงจรภายในของแบตเตอรี่ ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น ตะกอนที่อยู่ส่วนล่างมีมากเกินไป การเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นขั้วบวก-ลบ รวมไปถึงการเปลี่ยนขนาดแบตเตอรี่ ฯลฯ
  • ไฟรั่ว อาจเกิดขึ้นจากการตัดต่อสายไฟจากการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น เครื่องเสียง ระบบกันขโมย หรืออุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติมทั้งหลาย รวมไปถึงช่างบางคนที่อาจประมาท ตัดต่อสายไฟ และทำงานไม่เรียบร้อย จนทำให้เกิดไฟรั่วได้นั่นเอง
  • ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่น้อยเกินไป หรือมากเกินไป เพราะไดชาร์จเสื่อมสภาพ หรือเกิดปัญหา สายพานอาจหย่อน หรือตึงเกินไป จึงทำให้ประจุไฟฟ้าเข้าไปในแบตเตอรี่ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งส่งผลให้น้ำกลั่นภายในลดลงจนเกิดปัญหากับแผ่นตะกั่วได้

สาเหตุภายนอก

การเปิดระบบไฟฟ้าภายในรถทิ้งไว้โดยไม่ดับเครื่องก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการที่แบตเตอรี่เสื่อม

การเปิดระบบไฟฟ้าภายในรถทิ้งไว้โดยไม่ดับเครื่องก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการที่แบตเตอรี่เสื่อม

  • ไฟหน้าหรือไฟภายในห้องโดยสารถูกเปิดทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืน เพราะไฟหน้าบางตัวถูกออกแบบมาให้เปิดทิ้งไว้สักครู่ หลังจากนั้นจะปิดอัตโนมัติ ซึ่งบางครั้งก็อาจพลาดที่ทำให้ไม่ได้ปิดอัตโนมัติ ส่งผลให้แบตเตอรี่รถยนต์ทำงานหนัก
  • หากเปิดใช้งานระบบไฟฟ้าต่างๆ ภายในรถยนต์ เช่น วิทยุรถยนต์ โดยไม่ดับเครื่องก็สามารถทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้
  • การเชื่อมต่อแบตเตอรี่รถยนต์หลวม หรือเป็นสนิมรอบๆ ของขั้วแบตเตอรี่ อาจเกิดการขัดขวางการทำงานของมอเตอร์สตาร์ทให้ดึงกระแสไฟจากแบตเตอรี่ และการทำงานของระบบชาร์จได้
  • สภาพอากาศที่หนาวจัด หรือร้อนจัด ส่งผลต่ออุณภูมิในห้องเครื่องทำให้ห้องเครื่องสูง หรือต่ำเกินไปจนส่งผลต่อการทำงานของแบตเตอรี่
  • สายพานหลวม หรือมีรอยแตก ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อาจจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของปั่นไฟในการผลิตกระแสไฟฟ้าไปชาร์จแบตเตอรี่เพื่อไปใช้ในการทำงานต่างๆ
  • จอดเครื่องโดยสตาร์ทรถทิ้งไว้ แต่ไม่ได้ใช้งานก็ส่งผลให้แบตเตอรี่ทำงานหนักเกินความจำเป็นเกินไป

ดูเพิ่มเติม
>> 10 อะไหล่รถยนต์ที่คุณจะต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด !
>> มาทำความรู้จักกับระบบไฟฟ้ารถยนต์กัน! เพื่อการใช้งานที่ยาวนานขึ้นของรถยนต์คู่ใจคุณ

อย่าลืมใส่ใจดูแลกับแบตเตอรี่รถยนต์อย่างน้อย 1 -2 สัปดาห์/ครั้ง กันนะคะ

อย่าลืมใส่ใจดูแลกับแบตเตอรี่รถยนต์อย่างน้อย 1 -2 สัปดาห์/ครั้ง กันนะคะ

หวังว่าเพื่อนๆ จะได้ความรู้ และทำความเข้าใจกับอาการแบตเตอรี่รถเสื่อมมากขึ้นไม่ว่าจะใช้รถใหม่ป้ายเเดงหรือรถมือสองนะคะ และอย่าลืมหมั่นตรวจสอบแบตเตอรี่รถยนต์ อย่างน้อย 1- 2 สัปดาห์ต่อครั้ง นอกจากนี้ควรดูแล และทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่อยู่เสมอ อย่าให้คราบขี้เกลือเกาะ เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าเกิดปัญหา เดินไม่สะดวก และทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพได้ สำหรับบทความเรื่องรถยนต์ดีๆ สามารถติดตามได้ที่ตลาดรถ Chobrod.com เช่นเคยนะคะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้