เส้นจราจรบนถนนแต่ละแบบ ที่เราขับรถผ่านตากันอยู่ทุกวัน มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง มาทบทวนความจำจากการสอบใบขับขี่กันสักหน่อย
>> ขนส่งเลื่อนต่อใบขับขี่วันที่ 7 พ.ค. ออกไป คนจองคิวยังได้สิทธิตามเดิม
>> เป็นงง ? โดนใบสั่งข้อหาเปลี่ยนท่อแคท ความจริงแล้วผิดกฎหมายหรือเปล่า ?
ถนนหนทางที่เราสัญจร มีเส้นสีขาว และเหลือง พาดผ่านจนชินตา เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกทิศทางและกำหนดการเคลื่อนที่ของรถ ซึ่งมีสอนไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มหัดจากโรงเรียนสอนขับรถ แต่บางคนอาจจะลืม หรือไม่ได้อัพเดตข้อมูลเส้นใหม่ๆ ที่เพิ่งคิดค้นออกมา วันนี้เรามาทบทวนและอัปเดตความรู้ กับเส้นจราจรที่มักจะถูกใช้บ่อยในปัจจุบัน มีดังนี้
1.เส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 ซม. ยาว 200 ซม. เว้นระยะห่างกัน 200 ซม. ให้ขับด้านซ้ายปกติ สามารถเเซงได้เมื่อปลอดภัย
2.เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน เป็นเส้นประที่ยาวและมีความถี่ขึ้น สำหรับเตือนว่าเป็นเขตทางข้ามแยก เขตห้ามแซง เว้นแต่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ ขับข้ามเส้นได้แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ
3. เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง เป็นเส้นทึบสีขาวขนาดกว้าง 15 ซม.ยาวตลอดแนว เตือนว่าห้ามแซงหรือขับรถผ่านคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
4. เส้นแบ่งจราจรเเบบคู่ เป็นเส้นทึบสีขาว ขนานกับเส้นประสีขาว สำหรับอนุญาตให้รถที่อยู่ฝั่งเส้นประ สามารถข้ามหรือแซงได้เมื่อปลอดภัย ส่วนฝั่งเส้นทึบห้ามแซงเด็ดขาด
5. เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงคู่ เส้นทึบคู่สีขาวกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานกันมีระยะห่างระหว่างเส้น 15 เซนติเมตร ห้ามรถทั้งสองฝั่งขับรถคร่อมเส้นและห้ามแซงเด็ดขาด
6. เส้นขอบทาง เป็นเส้นประสีขาวเว้นระยะความห่าง 60 ซม. ให้ขับรถในช่องจราจรด้านขวาของเส้น
เส้นหยักฟันปลา เตือนว่ามีทางม้าลาย
7. เส้นช่องเดินรถเมล์ เป็นเส้นทึบสีเหลืองกลางถนน ไว้สำหรับให้รถประจำทางวิ่งเท่านั้น รถอื่นห้ามเข้ามาในเลนนี้
8. เส้นห้ามหยุด เป็นเส้นทะแยงสีเหลือง ไขว้กันในกรอบสี่เหลี่ยม เพื่อเตือนให้รถไม่หยุดตรงพื้นที่นั้น เพื่อเว้นระยะให้รถผ่านได้
เส้นจราจรสีเหลืองหมายถึง เส้นทะแยง ห้ามหยุดรถ
9. เส้นหยัก เป็นเส้นสีขาวลักษณะหยักฟันปลา อยู่ตรงขอบข้างของแต่ละเลน เพื่อเตือนว่าข้างหน้ามีทางม้าลายข้ามถนน ควรชะลอ
10. เส้นทางรถพยาบาล เป็นของใหม่ล่าสุด คือเส้นประสีแดง พร้อมสัญลักษณ์กาชาด เพื่อบ่งบอกว่าให้หลีกออกไปจากเลนนี้ เมื่อได้ยินเสียงรถฉุกเฉิน
ทางรถฉุกเฉิน เป็นเส้นสีแดง
เป็นยังไงครับ กับเส้นจราจรที่เราเคยเห็นกันบ่อยๆ โดยส่วนใหญ่แล้วจะปฏิบัติตามกันได้ง่ายอยู่แล้ว หากทำตามกฎจราจรกันบ่อยๆ เราจะไม่ลืม และจะช่วยคุ้มครองเราใหปลอดภัยจากอุบัติเหตุด้วยครับ แล้วพบกับสาระความรู้เรื่องรถกันได้ใหม่ในครั้งต่อไปที่ ตลารถยนต์ออนไลน์ Chobrod.com