ไขคำตอบ หากยังค้างใบสั่ง จะโดนอะไรบ้าง? เมื่อเข้าเดือนตุลา 62

ประสบการณ์ใช้รถ | 9 ต.ค 2562
แชร์ 29

หลังจาก ตำรวจ และ สนง.ขนส่ง ร่วมประกาศดีเดย์ ให้ผู้ใช้รถที่ยังค้างใบสั่ง ค่าปรับจราจร ให้รีบมาชำระ ก่อนวันที่ 1 ต.ค.62 ใครที่ยังดองใบสั่งจะโดนอะไรบ้างมาดูกัน

ตุลาแล้ว ใครยังค้างใบสั่งจะโดนอะไรบ้าง?
มาตรการสำหรับผู้ค้างชำระค่าใบสั่ง ตั้งแต่ 1 ตค. 62

หลังจาก พรบ.จราจรใหม่ ถูกบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.ย.62 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า กฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาใหม่ในหลายประเด็น ส่งผลให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบกจะต้องร่วมกันออกประกาศ ระเบียบ หรือกฎหมายลูกขึ้นมารองรับภายใน 90 วันหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ โดยประเด็นสำคัญที่ต้องมีการออกกฎหมายลูก ได้แก่

1.การเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

2.การกำหนดคะแนนความประพฤติของผู้ขับขี่และแนวทางการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่ถูกตัดแต้ม

3.การใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกรมการขนส่งทางบกจะเป็นผู้กำหนดใบขับขี่และตำรวจจะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย

โดยทั้งหมดจะบังคับใช้ได้ไม่เกินวันที่ 19 ธ.ค.62  ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบ 90 วันของการกำหนดระเบียบข้อบังคับทั้งหมด

แต่มีบางประเด็นที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กรมการขนส่งทางบก ได้ลงความเห็นร่วมกันว่าในวันที่ 1 ต.ค.นี้ หากผู้ขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ที่ถูกออกใบสั่งจราจรไปแล้วยังไม่ชำระค่าปรับ จะมีมาตรการเพื่อลงโทษและยับยั้งสิทธิ์บางอย่าง ซึ่ง ณ วันนี้ ได้ล่วงเลยกำหนดมาแล้ว หากเจ้าของรถหรือผู้ใช้รถคันไหนยังค้างชำระใบสั่งค่าปรับจราจรอยู่จะมีผลบังคับใช้ หรือมาตรการ ในเรื่องของการลงโทษ หรือ สิทธิใดๆ บ้าง สำหรับบุคคลที่ชอบสะสมใบสั่งจราจรและไม่ยอมไปชำระค่าปรับอย่างไรบ้างมาดูกัน

ดูเพิ่มเติม
>>
ซื้อประกันรถยนต์แบบไหนดี แล้วควรเลือกซื้อกับบริษัทไหน ที่นี่มีคำตอบให้คุณ
>> ประกันรับเคลมหรือเปล่า ? เมื่อคนขับรถไปชนเป็นคนละชื่อกับคนในกรมธรรม์
 

ใครยังค้างใบสั่งจะโดนอะไรบ้าง?
ใครชอบสะสมหรือค้างจ่ายค่าใบสั่งจะโดนอะไรบ้างตั้งแต่ 1 ตค. เป็นต้นไป


คลิปข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค้างใบสั่ง ต่อภาษีได้ แต่ไม่ได้ป้ายวงกลม

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2562 เป็นต้นไป หากผู้ใช้รถค้างค่าปรับจราจรแล้วมาต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ทางกรมการขนส่งทางบกจะยังไม่ออกเครื่องหมายใบแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี หรือที่เรียกว่า ป้ายวงกลมให้ โดยทางเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่ง ฯ จะรับการเสียภาษีของผู้ที่ต้องการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีถึงแม้จะมีใบสั่งจราจรค้างชำระ แต่ทางเจ้าหน้าที่จะทำการรับให้ไว้ก่อน และจะออกเป็นใบรับการชำระการเสียภาษีชั่วคราวให้เป็นหลักฐาน เพื่อยันยันการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี และ จะแนะนำให้เจ้าของรถที่มีใบสั่งติดค้างต้องไปเสียค่าปรับให้เรียบร้อย ภายใน 30 วัน ก่อนที่จะนำหลักฐานการชำระค่าปรับมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ขนส่ง ฯอีกครั้ง และรับเครื่องหมายป้ายวงกลมของจริงไปได้ สำหรับผู้ที่ประวัติค้างชำระใบสั่งจราจร 

ป้ายวงกลม
ตั้งแต่วันที่ 1 ตค.62 เป็นต้นไป ผู้ที่ยังค้างชำระใบสั่งจราจรไม่มีสิทธิ์ได้รับ ป้ายภาษีรถ(ป้ายวงกลม)

สำหรับผู้ใช้รถที่ยังค้างชำระค่าปรับจราจร  เฉพาะใบสั่งจราจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายถึงใบสั่งจราจรจากการกระทำความผิดจราจรทุกข้อหา ที่ถูกบันทึกโดยกล้องวงจรปิดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ถูกส่งไปที่บ้านของผู้กระทำความผิด  หากได้รับก็สามารถนำใบสั่งประเภทนี้ ไปชำระได้ตามช่องทางต่าง ๆ ได้ เช่น จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน KTB netbank สำหรับผู้ที่มีบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ตู้เอทีเอ็ม เอดีเอ็ม ของธนาคารกรุงไทย และเคาเตอร์ธนาคารกรุงไทย สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีบัญชีของธนาคารข้างต้น หรือ สามารถชำระได้ทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา เพียงแค่นำใบสั่งนั้นไปยื่นที่เคาน์เตอร์รับชำระ และทำการจ่ายค่าปรับ รวมไปถึง ตู้บุญเติม โดยเอาบาร์โค้ดจากใบสั่ง เพื่อใช้สำหรับชำระค่าปรับ  นอกจากการไปชำระตามที่ทำการไปรษณีย์ หรือ สถานีตำรวจในพื้นที่ที่ได้รับใบสั่ง

ค้างใบสั่ง หลังต่อภาษี เจอปรับ เสียสิทธิ์

แม้ทางสำนักงานขนส่งจะรับต่อภาษีประจำปี ให้กับรถยนต์ที่ยังมีใบสั่งค้าง แต่เอกสารรับรองการชำระภาษีที่ได้มาเป็นแบบชั่วคราวซึ่งใช้ทดแทนป้ายวงกลมจริงได้เพียงแค่ 30 วัน ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อด้านบน หลังจากเลยกำหนดไปแล้ว และยังไม่ไปจ่ายค่าปรับตามใบสั่ง ก็จะมีความผิดในข้อหาฐานใช้รถยนต์ไม่มีป้ายวงกลมเสียภาษีประจำปี และมีโทษปรับอีก 2,000 บาท ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถแจ้งกรมการขนส่งฯ ให้งดออกป้ายวงกลมสำหรับรถคันดังกล่าวและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนต่อไป

ค้างภาษีเจอปรับ 2000
หากไม่ชำระค่าปรับ ภายใน 30 วันหลังต่อภาษี หากถูกจับโดนปรับ ถึง 2,000 บาท

ค้างชำระใบสั่ง อาจมีสิทธิ์ถูกตัดแต้ม

หลังจากพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับที่ 12 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา มีข้อกำหนดให้คณะกรรมการฯ ออกระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการตั้งหลักเกณฑ์เรื่องการตัดคะแนนความประพฤติของผู้ขับขี่ เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินคดี หรือตัดคะแนนจากการถูกออกใบสั่งจราจรในกรณีต่าง ๆ ซึ่งต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 ธ.ค.นี้

ตัดแต้มใบขับขี่
ค้างจ่ายค่าใบสั่ง อาจโดนตัดแต้ม จนถึงเพิกถอนใบขับขี่

ซึ่งในขณะนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ระหว่างการศึกษาข้อกฎหมายจราจรจากประเทศต่างๆ มาประกอบว่าจะใช้หลักเกณฑ์ใด หรือ การลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์จะต้องมีการ กระทำผิดในส่วนใดบ้าง เพื่อเป็นมาตรการในการลงโทษ สำหรับผู้ที่ยังค้างใบสั่ง ซึ่งหากถูกตัดแต้มเกินหลายครั้งเกินกฏหมายกำหนด อาจมีสิทธิ์ถูกเพิกถอนใบขับขี่ได้ 

เอาจริงผู้ค้างชำระใบสั่งเพื่อลดอุบัติเหตุ

ลงโทษคนไม่จ่ายใบสั่งเพื่อลด อุบัติเหตุ
กำหนดลงโทษคนไม่ยอมจ่ายใบสั่งอย่างจริงจังเพื่อลดอุบัติเหตุ

สำหรับมาตรการการลงโทษและยับยั้งสิทธิ์ของผู้ไม่ยอมชำระค่าปรับจราจร ก็เพราะหน่วยงานทางราชการต้องการ อยากให้ประชาชนตระหนักถึงการเคารพกฎจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน จากข้อมูลการออกใบสั่งจราจรเมื่อปี 2561 มีจำนวนกว่า 11 ล้านใบ ค้างชำระกว่า 9.7 ล้านใบ และเพียงครึ่งปี 2562 ออกใบสั่งไปแล้วกว่า 7 ล้านใบ ค้างชำระกว่า 5.9 ล้านใบ หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2,950 ล้านบาท (เฉลี่ยใบละ 500 บาท)

ซึ่งมาตรการ และกฎข้อบังคับที่กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำมาใช้กับประชาชนผู้ใช้รถ เพราะเห็นว่าในยุคปัจจุบันมีผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนกฏจราจรมีจำนวนมาก และบางรายก็กระทำผิดซ้ำ บวกกับ กฎหมาย ข้อบังคับ ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพื่อลงโทษผู้ใช้รถ หรือผู้ขับขี่ให้เคารพกฎหมายจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง เพราะร้อยละ 75 ของอุบัติเหตุทางถนน เกิดจากการไม่เคารพกฎจราจร โดยประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนจำนวนมาก ตั้งแต่ต้นปี 2562 ถึงปัจจุบัน มียอดผู้เสียชีวิตสะสมแล้ว 6,954 คน และบาดเจ็บ 4.2 แสนคน เฉพาะช่วงครึ่งเช้าของวันที่ 28 พ.ค.วันเดียว มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 38 ราย และบาดเจ็บกว่า 1,000 ราย ตามที่ได้เห็นทั่วไปบนท้องถนน

เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า  “วินัยจราจร สะท้อนวินัยชาติ”  แต่สำหรับผู้ใช้รถหรือผู้ขับขี่ในบ้านเรายังมีผู้ฝ่าฝืนทำผิดกฎจราจร แม้มีการปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มโทษขนาดไหน หลายๆ คนยังทำตัวเป็น ก็ยังทำตัวชิลๆ ไม่แยแส ใดๆ แถมบางรายยังทำผิดซ้ำๆ ได้รับใบสั่งเอาไว้สะสม เป็นว่าเล่น โดยไม่ได้สนใจไปชำระ ค่าปรับใด ๆ  แม้ กฏหมายเก่า จะมีการยึดใบขับขี่ ด้วยซ้ำ ต้องคอยดูกันว่า พ.ร.บ.จราจรใหม่ที่ถูกออกมา ตั้งแต่ 20 กันยายน รวมไปถึงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การกำหนดหลักเกณฑ์ข้อบังคับและมาตรการการเอาผิด และการลงโทษ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไปที่เราได้นำมาให้ข้อมูลในบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ที่ยังไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับ ในเรื่องของการไปชำระค่าใบสั่ง ได้ปรับปรุงตัวเพื่อขานรับ กฏระเบียบใหม่ที่เกิดขึ้นมาในครั้งนี้หรือไม่ จนถึง 19 ธันวาคม ที่ กฏหมายใหม่นี้จะกำหนดเนื้อหา ระเบียบ บทลงโทษ เสร็จสมบูรณ์ ว่าจะสร้างจิตสำนึกทางจราจรได้มากแค่ไหนต้องคอยดูกันต่อไป 

ดูเพิ่มเติม

>> หมากัดรถ ! ประกันจ่ายไหม ถามหาความรับผิดชอบจากใคร ? ถ้าคู่กรณีไม่ใช่คน
>> ซื้อประกันรถยนต์แบบไหนดี แล้วควรเลือกซื้อกับบริษัทไหน ที่นี่มีคำตอบให้คุณ
 

ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองราคาดีเชิญเข้าดูที่ ตลาดรถรถมือสองตรงนี้

palist