คาร์บูเรเตอร์รถยนต์มีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะใช้งานในสาขาอุตสาหกรรมหรือในชีวิตประจำวัน ค้นพบประโยชน์ที่คุณสามารถได้รับจากการใช้งานคาร์บูเรเตอร์รถยนต์
คาบูเรเตอร์ คืออะไร น่าจะเป็นคำถามที่คนรุ่นใหม่ ๆ อาจไม่รู้จักหรือไม่คุ้นชินชื่อก็ว่าได้ โดยคาร์บูเรเตอร์จะถูกติดตั้งอยู่กับรถยนต์รุ่นท้าย ๆ ในไทยประมาณปี พ.ศ. 2535 - 2536 โดยประมาณ ซึ่งรถยนต์รุ่นนั้นก็คือ Honda Civic 3 ประตูนั้นเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของหัวฉีดจนถึงปัจจุบัน
ระบบคาร์บูเรเตอร์ คือกลไกระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ยุคเก่า นับตั้งแต่ปี ค.ศ 1896 เป็นต้นมาก็ว่าได้ ก่อนที่จะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามปกติของสิ่งของที่มีอายุเป็น 100 ปี ต้องมีการพัฒนาไปเป็นเรื่องปกตินั้นเอง
ถึงแม้ปัจจุบันค่ายรถยนต์ทั่วทั้งโลกจะเลิกผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้คาร์บูเรเตอร์เป็นตัวจ่ายน้ำมันแล้ว แต่อุปกรณ์เครื่องยนต์อื่น ๆ ยังคงเลือกใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์การเกษตร เครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์อเนกประสงค์ต่าง ๆ และเลื่อยยนต์เป็นต้น นอกจากนี้คาร์บูเรเตอร์ยังคงมีอยู่ในรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ยังผลิตอยู่ ยกตัวอย่างเช่น Suzuki GD110 เป็นต้น
คาบูเรเตอร์ คืออะไร
ถือว่าเป็นข้อดีของรถยนต์ที่ใช้คาร์บูเรเตอร์เป็นตัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงก็ว่าได้ โดยระบบคาร์บูเรเตอร์จะไม่มีไฟฟ้าใด ๆ มาควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด ซึ่งระบบคาร์บูเรเตอร์กลไกแบบแมคคานิค (Mechanical) ล้วน ๆ อย่างไรก็ตามความละเอียดในการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สามารถสู้ระบบหัวฉีดได้
เนื่องจากไม่มีกลไกที่ซับซ้อน ทำให้คาร์บูเรเตอร์มีทนทาน และใครที่มีความเข้าใจในเรื่องคาร์บูเรเตอร์สามารถซ่อมเองได้ ทั้งนี้เมื่อเทียบกับระบบหัวฉีด ต้องมีเครื่องมือพอสมควรในการตรวจเช็ดสภาพหัวฉีด และมีราคาที่แพงเวลาเปลี่ยนใหม่ เรียกได้ว่าต่างฝ่ายล้วนมีข้อดีข้อเสียของตัวเอง
เรียกว่าระบบคาร์บูเรเตอร์มีราคาจำหน่ายที่ถูกก็ว่าได้ เมื่อเทียบกับระบบหัวฉีด ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของกลไกของระบบหัวฉีดที่ซับซ้อนกว่า ตามปกติคาร์บูเรเตอร์หากเสื่อมสภาพจากการใช้งานขึ้นมา จะสามารถซ่อมแซมให้เหมือนใหม่ได้ เรียกกันว่ามีชุดซ่อมนั้นเอง และยังมีราคาที่ถูกอีกด้วย
ทั้งหมดนี้คือข้อดีของระบบคาร์บูเรเตอร์ก็ว่าได้ ถึงแม้ในปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์จะเลิกใช้งานไปแล้ว สำหรับการ ทํา งาน ของ คาร์บูเรเตอร์ รถยนต์ เปรียบเสมือนห้องครัวที่ทำหน้าที่ทำอาหารไปให้คนกินก็ว่าได้ โดยคาร์บูเรเตอร์จะทำการผสมน้ำมันกับอากาศ และส่งเข้าเครื่องยนต์เพื่อเผาไหม้นั้นเอง
ระบบคาร์บูเรเตอร์มันดีอย่างไร
เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเก่า ไม่ผิดแปลกอะไรที่จะมีการปล่อยปริมาณสารพิษสูงกว่าระบบหัวฉีด ซึ่งมีทางภาครัฐมีกฎหมายเข้ามาควบคุมว่า ถ้ารถยนต์เครื่องยนต์ 1,000 ซี.ซี. ต้องปล่อยมลพิษออกสู่อากาศเท่าไหร่ หากไม่สามารถทำได้ ก็ต้องจ่ายภาษาแพงขึ้นตามค่ามลพิษที่ปล่อยออกมาทำให้รถยนต์จะมีราคาแพงกว่าคู่แข่งที่สามารถควบคุมมลพิษได้นั้นเอง จนสุดท้ายมันเป็นกลไกทางการตลาดที่ต้องควบคุมมลพิษให้อยู่ตามกฎหมายบังคับ
ของที่ใหม่กว่าอย่างระบบหัวฉีด อย่างไงก็ต้องมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าของเดิมที่เป็นระบบคาร์บูเรเตอร์ กลไกความซับซ้อนของระบบคาร์บูเรเตอร์ เรียกได้ว่าคนละเรื่องกับหัวฉีดโดยสิ้นเชิง เราสามารถปรับความละเอียดในจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบคาร์บูเรเตอร์ด้วยมือ แต่ระบบหัวฉีดจะถูกควบคุมจากสมองคอมพิวเตอร์ ที่มีการออกแบบตั้งค่าคำนวณมาอย่างดีแล้วนั้นเอง
ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปกำลังจะหมดยุคลงในเร็ววัน และจะเป็นรถไฟฟ้ามาแทนที่ ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าในปัจจุบันเรียกได้ว่าเกินรถยนต์ไปพอสมควรแล้ว จะมีแต่เรื่องระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จไฟ และระยะเวลาในการชาร์จไฟที่ไม่สามารถสู้รถยนต์ที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิงได้ อย่างไรก็ตามทั้งระบบคาร์บูเรเตอร์ ระบบหัวฉีดกำลังเดินทางเข้ามาถึงจุดจบในเร็ววันนี้แล้ว
คาร์บูเรเตอร์ ประกอบด้วย การทำงานของระบบย่อยคือ
สรุปแล้ว คาร์บูเรเตอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบส่งกำลังรถยนต์ที่ควบคุมการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ คาร์บูเรเตอร์ทำหน้าที่ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศในอัตราส่วนที่เหมาะสม และควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังเครื่องยนต์ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้เชื้อเพลิง ความเร็วของเครื่องยนต์ และภาระงาน การทำงานของคาร์บูเรเตอร์มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างราบรื่นและประหยัดเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม คาร์บูเรเตอร์เป็นเทคโนโลยีเก่า ในปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้ระบบหัวฉีดเชื้อเพลิง ซึ่งมีประสิทธิภาพและควบคุมการเผาไหม้ได้ดีกว่า
อ่านเพิ่มเติม