พลาดไม่ได้กับเรื่องน่ารู้ของรถยนต์ออฟโรด

ประสบการณ์ใช้รถ | 16 ม.ค 2562
แชร์ 1

รถยนต์ที่ไม่ได้วิ่งบนถนนหนทางที่รัฐบาลจัดสร้างไว้ให้ก็สามารถจัดหมู่เข้าเป็นรถยนต์ออฟโรดได้ทั้งสิ้น เพียงแต่จะทำได้ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและหัวใจสำคัญคือการขับเคลื่อนแบบ4ล้อ แต่เรื่องอื่นที่ไม่ควรพลาดก็ยังมีตามไปดูกันครับ

หากว่านกอยู่คู่ท้องฟ้า ปลาคู่กับสายน้ำ ถนนก็คงคู่กับรถยนต์ เป็นสิ่งที่เคียงคู่กันมาช้านานเกินกว่าร้อยปีเข้าไปแล้ว แต่ไม่ใช่แค่เรื่องถนนเท่านั้นที่คู่กับรถยนต์ เพราะการจราจรทางบก ต่อให้ไม่มีถนน รถยนต์ก็ยังบุกฝ่าเข้าไปได้ จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “ออฟโรด” ทางของรถยนต์ที่ไม่ได้ถูกทำให้เป็นถนนจริงๆ จัง เรียกได้ว่าเป็นเขตทุรกันดารนั่นเอง การเดินทางบนถนนแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วจะลำบากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นเพราะทำมาเพื่อแข่งขัน เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อทดสอบประสิทธิภาพรถยนต์ หรือช่วยเหลือผู้คนในทางที่ยากจะเข้าถึง ดังนั้นการพัฒนารถยนต์ออฟโรดก็ถือเป็นเรื่องดีๆอย่างหนึ่งที่ช่วยให้การจราจรทางบกสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ถนนในประเทศไทยที่เป็นทางหลวงมีความยาวเกินกว่า70,000กิโลเมตร นี่ยังไม่รวมถึงถนนธรรมดา ตรอก ซอก ซอยอีกมากมายในจังหวัดต่างๆ หรือแม้แต่ตำบลเล็กๆ ถ้ารวมถนนทุกเส้นในประเทศก็จะมีไม่ต่ำกว่า200,000กิโลเมตร แต่ทางที่ไม่ใช่ถนนนั้นก็มีมากไม่แพ้กันเพียงแต่ส่วนใหญ่ประชาชนมักไม่ได้เข้าไปใช้เนื่องจากเป็นถิ่นทุรกันดารที่ไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่ แต่นั่นหมายความว่าก็ยังมีทางที่ไม่ใช่ถนนลาดยางดีๆอยู่เช่นกัน การจะเดินทางเข้าไปจึงมีรถยนต์ออฟโรดเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้พัฒนารถยนต์จึงพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อน4ล้อออกมาด้วย โดยส่วนใหญ่จะมาจากพื้นฐานรถกระบะเป็นหลัก เช่น Toyota Revo และรถยนต์เอนกประสงค์พื้นฐานกระบะอย่างเช่น Toyota Fortuner

ทางหลวงของไทยที่มีมากกว่า 70,000 กิโลเมตร

ทางหลวงของไทยที่มีมากกว่า 70,000 กิโลเมตร

ที่ไหนมีทางออฟโรดไปได้หมด

ที่ไหนมีทางออฟโรดไปได้หมด

จุดประสงค์ของรถยนต์ออฟโรด

  1. เพื่อใช้เดินทางในถนนออฟโรดส่วนตัวเป็นหลัก

ส่วนใหญ่จุดประสงค์นี้เป็นของกลุ่มคนที่รักการเดินทาง และสามารถลุยไปได้ในทุกสภาพถนน อาจจะเพื่อการท่องเที่ยว หรือบรรเทาสาธารณะภัย แล้วแต่เหตุผลส่วนตัวของผู้ขับแต่ละคน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับคนกลุ่มนี้คือมีทักษะในการขับรถ รู้และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการเดินทางได้เป็นอย่างดี บำรุงรักษาและซ่อมแซมชิ้นส่วนที่ชำรุดในเบื้องต้นได้ บางครั้งก็มีการเตรียมอุปกรณ์เสบียงอาหารหรือเต็นท์สำหรับค้างแรมเอาไว้ในรถด้วยเช่นกัน เมื่อรถยนต์ออฟโรดเริ่มแพร่หลายขึ้น การดัดแปลงทำได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีสูงขึ้น จึงมีการคิดกันว่าในกลุ่มคนที่ชื่นชอบรถยนต์ออฟโรดน่าจะมีการจัดกลุ่มเพื่อทำการแข่งขันขึ้นมาจะได้สร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญด้านออฟโรดขึ้นมาด้วย กลายเป็นจุดประสงค์ที่2 คือเพื่อใช้ในการแข่งขัน

รถออฟโรดสามารถเข้าถึงพื้นที่น้ำท่วมที่มักเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น

รถออฟโรดสามารถเข้าถึงพื้นที่น้ำท่วมที่มักเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น

  1. เพื่อใช้ในการแข่งขัน

การแข่งขันรถยนต์ออฟโรดในไทยนั้นมีประวัติมาอย่างยาวนานเป็น20ปีแล้ว การแข่งขันรายการแรกเริ่มต้นขึ้นในปี 1997 ในรายการที่มีชื่อว่าEsso Offroad Man 1997 ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีสถานที่หลักเป็นเหมืองแร่แต่ก็มีการสร้างสนามบางส่วนเป็นสนามจำลองอุปสรรคขึ้นมาด้วยเพื่อความเร้าใจยิ่งขึ้น แต่รายการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดนั้นรู้จักกันดีในนาม Offroad Trophy จุดเด่นของรายการนี้เป็นการปล่อยตัวรถในการแข่งเป็นคู่ และต้องพบเจอกับอุปสรรคของเส้นทางออฟโรดที่เป็นเส้นทางธรรมชาติผสมกับเส้นทางออฟโรดที่สร้างขึ้นมาเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ และทุกครั้งในการแข่งรอบชิงชนะเลิศก็จะมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ด้วย

รถยนต์ออฟโรดที่ใช้ในการแข่งขัน ส่วนใหญ่ก็มาจากแบรนด์ดังๆที่ขับเคลื่อน4ล้อ

รถยนต์ออฟโรดที่ใช้ในการแข่งขัน ส่วนใหญ่ก็มาจากแบรนด์ดังๆที่ขับเคลื่อน4ล้อ

เพิ่มเติม
>> รวมภาพรถ Off Road และเรื่องราวของรถ Off Road ที่น่ารู้
>> ฟังคอมเม้นท์ Suzuki Jimny รอดหรือลา 

รถยนต์ออฟโรด

รถยนต์ออฟโรดแบ่งออกได้มากมายหลายประเภท เพราะอะไรที่ไม่ใช่ทางปกติก็จัดเป็นออฟโรดทั้งหมด และทางออฟโรดก็มีมากมายหลายรูปแบบจึงทำให้ประเภทรถยนต์มีมากมายตามไปด้วย แต่ประเภทที่ชาวไทยนิยมพอจะแบ่งออกเป็น2กลุ่มได้ดังนี้คือ รถยนต์ออฟโรดแสตนดาร์ด และรถยนต์ออฟโรดโอเพ่น ซึ่งแบบออฟโรดแสตนดาร์ดดูจะใกล้ตัวพวกเรามากกว่าแบบออฟโรดโอเพ่น

  1. Standard Off Road ซึ่งรถยนต์แสตนดาร์ดก็เป็นรถยนต์ทั่วไปที่ยกสูงและมีการขับเคลื่อนแบบ4ล้อ สามารถเข้าไปในเขตถนนที่เป็นออฟโรดได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างของรถยนต์ออฟโรดแบรนด์ดังที่นิยมกันก็อย่างเช่น Toyota Revo ที่ขับเคลื่อน4ล้อและยกสูงมาจากโรงงานโดยตรง

ต่อมาการติดตั้งการยกสูงและขับเคลื่อน4ล้อของโรงงานนั้นเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ขับขี่ เนื่องจากผู้ขับขี่ต้องการให้รถยนต์ลุยทางได้มากขึ้น ต้องการล้อที่ใหญ่ขึ้น แต่การจะทำให้ล้อใหญ่ขึ้นได้ไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนแค่ล้อและยางรถยนต์เท่านั้น แต่หมายถึงการยกตัวรถให้สูงขึ้นด้วยมิเช่นนั้นจะไม่สามารถใส่ยางเข้าไปได้

  1. การยกสูงแบบสำเร็จรูป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการยกสูงรถยนต์ออฟโรดของตัวเองให้มีความสูงมากกว่าเดิม โดยค่าเฉลี่ยความสูงที่สามารถยกขึ้นได้จากชุดยกสำเร็จรูปคือประมาณ5นิ้ว และสามารถยกสูงได้เต็มที่ถึง10นิ้ว ข้อดีของการยกสูงแบบนี้คือ “ง่าย” เพราะว่าเป็นแบบสำเร็จรูปที่เตรียมทุกอย่างมาให้เหมาะกับช่วงล่างเดิมๆของรถเลย ทำให้มุมองศาในการเลี้ยวแทบจะไม่ต่างจากเดิม เพิ่มเติมคือความสูงของตัวรถ และส่วนประกอบเช่น คานเหล็ก คอม้า แผ่นรองแหนบ ฯลฯก็สามารถใส่เข้ากันได้พอดีกับช่วงล่างเดิม  แถมวิธีนี้ยังมีราคาที่ประหยัดอีกด้วย

รถยนต์ออฟโรดที่ต้องการยกสูงแบบสำเร็จรูปก็จะสามารถดัดแปลงได้ง่าย

รถยนต์ออฟโรดที่ต้องการยกสูงแบบสำเร็จรูปก็จะสามารถดัดแปลงได้ง่าย

  1. การวางคาน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รักการผจญภัยและท่องไปในเส้นทางที่ออฟโรดชนิดที่เรียกว่าทุกรูปแบบ จึงเป็นการยกช่วงล่างเดิมออกและนำช่วงล่างที่ดัดแปลงแล้วมาใส่เข้าไป ส่วนใหญ่ช่วงล่างตัวใหม่ที่นำมาดัดแปลงจะมาจากคานแข็งของรถยนต์ SUV ขนาดใหญ่ เช่น Toyota Land Cruiser มาดัดแปลง หรือในต่างประเทศใช้แบรนด์ GMC  ติดตั้งจุดยึด จุดหมุน มุมองศาในการเลี้ยวใหม่ทั้งหมด จึงทำให้ช่วงล่างของการวางคานมีคุณสมบัติที่แข็งแกร่งกว่าแบบสำเร็จรูป และปรับแต่งความสูงของตัวรถได้มากกว่าแบบสำเร็จรูป แต่ก็ต้องแลกมากับความนุ่มนวลที่ลดลง และราคาก็แพงกว่าด้วย

ถ้าใช้วิธีวางคานจะทำให้รถมีความสูงกว่าแต่ก็แพงกว่าด้วย

ถ้าใช้วิธีวางคานจะทำให้รถมีความสูงกว่าแต่ก็แพงกว่าด้วย

  1. Open Off Road เมื่อมีรถยนต์ออฟโรดที่เป็นแบบ Standard แล้ว ความต้องการของลูกค้าที่จะเอารถมาแข่งขันกันด้านออฟโรดโดยเฉพาะจึงมีการใช้รถยนต์แนว บักกี้ มาดัดแปลงให้วิ่งได้ในแบบออฟโรดเช่นกัน โดยรถยนต์แบบนี้จะเน้นการแข่งขันเป็นหลักไม่สนเรื่องความนุ่มนวลหรือพื้นที่เก็บสัมภาระ

รายการแข่งขันบางประเภทก็ใช้รถยนต์ออฟโรดแบบพิเศษที่เรียกว่าบักกี้

รายการแข่งขันบางประเภทก็ใช้รถยนต์ออฟโรดแบบพิเศษที่เรียกว่าบักกี้

จะเห็นว่าจากรถยนต์ธรรมดาที่วิ่งบนถนนลาดยาง ต้องการไปในที่ที่ถนนลาดยางยังสร้างไม่ถึง จึงกลายเป็นรถยนต์ยกสูง พร้อมกับการขับเคลื่อน4ล้อที่ติดตั้งมาจากโรงงาน แต่ความต้องการของลูกค้าบางคนมีมากกว่านั้น นำรถยนต์ไปยกสูงขึ้นอีกไม่ว่าจะเป็นการเสริมช่วงล่างสำเร็จรูปหรือการวางคานใหม่ก็ทำให้ได้รถยนต์ที่ตรงใจขึ้น และเมื่อผู้คนเริ่มสนใจรถยนต์ออฟโรดมากขึ้นแล้ว การแข่งขันก็เลยตามมา เพื่อที่จะให้ผู้ที่ช่ำชองในวงการได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กลายเป็น Offroad Trophy รายการแข่งขันออฟโรดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งของประเทศไทย

Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้เเละคราวหน้าเรื่องอะไรติดตามข่าวสารใหม่ทุกวันที่ตลาดรถไปพร้อมกันนะครับ

เพิ่มเติม
>> 5 ข้อเด็ดๆ ขับออฟโรดแบบไหน ‘ปลอดภัยแถมสนุก’
>> รถยนต์เพื่อคนรักภูเขา พาดู 3 ทหารเสือรถพันธ์แกร่งเพื่อคนชอบลุย !

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้

แท็ก standard offroad