การซื้อรถยนต์ เป็นการสร้างหนี้สินในระยะยาว หลายคนจึงเลือกกู้ร่วมซื้อรถ เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สิน แล้วการกู้ร่วมคืออะไร ผู้กู้ร่วมควรจะเป็นใคร มีคุณสมบัติใดบ้าง ?
รถยนต์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง สร้างความเป็นส่วนตัว และสามารถนำมาประกอบอาชีพได้ ไม่ว่าจะเป็รธุรกิจขนส่งสินค้า ใช้รับ-ส่งผู้โดยสาร Food truck ฯลฯ แต่สร้างภาระด้านค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก กลายเป็นหนี้ในระยะยาว เพราะต้องผ่อนรถทุกงวดติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ทั้งยังมีค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำมัน และอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีก หลายคนจึงเลือกที่จะลดภาระด้วยการกู้ร่วมซื้อรถ
การกู้ร่วม คือ การที่ผู้กู้ขอสินเชื่อรถยนต์จากไฟแนนซ์ร่วมกับอีกบุคคลหนึ่ง แบ่งเป็นผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วม โดยไฟแนนซ์จะนำประวัติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติทางการเงิน รายได้ รวมถึงภาระหนี้สินของผู้กู้ร่วมมาพิจารณาในการอนุมัติร่วมกับผู้กู้หลักด้วย เมื่ออนุมัติผ่านแล้ว ทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมจะอยู่ในสถานะลูกหนี้ และต้องรับผิดชอบภาระหนี้สินร่วมกันตลอดอายุสัญญาสินเชื่อ
ผู้กู้ร่วม จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น พ่อ-แม่-ลูก, สามี-ภรรยา หรือพี่น้องทางสายเลือด แล้วถ้าเป็นสามี-ภรรยากัน แต่ไม่ ได้ จดทะเบียน ซื้อ รถ ร่วม กัน ได้ ไหม ? ขอตอบเลยว่า ไม่ได้ เพราะต้องมีการจดทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานก่อน จึงจะสามารถกู้ร่วม ออก รถ ชื่อ ร่วมกันได้
การกู้เงินซื้อรถร่วมกัน ผู้กู้หลักอาจเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ฐานเงินเดือนไม่พอในการจ่ายค่างวด หรือเป็นผู้ที่มีรายได้สูง แต่มีหนี้สินภาระเยอะเกินไป จนไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้งวดรถได้ หรืออาจจะเป็นข้าราชการบำนาญ
การกู้ร่วมซื้อรถ แตกต่างจากการค้ำประกัน โดยการค้ำประกัน คือ การรับรองการเป็นลูกหนี้ให้กับผู้กู้ และรับประกันว่าจะมีการชำระหนี้ต่อ หากผู้กู้ผ่อนชำระต่อไม่ได้แล้ว หรือมีการเบี้ยวหนี้เกิดขึ้น ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นคนจ่ายหนี้จำนวนที่เหลือแทน เพราะไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้ ทั้งนี้ หากโชคร้ายต้องจ่ายหนี้แทนจริง ๆ ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์บ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ก่อนได้
อ่านเพิ่มเติม >>