โรงงานที่ยิ่งใหญ่ของ Elon Musk ที่จะใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เพื่อรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ยิ่งใหญ่แค่ไหน ลงทุนกันไปเท่าไร ตามไปชมกันครับ
บริษัทต่างๆที่ผลิตสินค้าออกมาขายสู่ท้องตลาดมักมีเครื่องมือที่สำคัญคือโรงงานผลิต เพื่อที่จะทำสินค้าออกมาได้ครั้งละมากๆ และยิ่งผลิตได้มากก็ยิ่งทำให้ต้นทุนของสินค้านั้นถูกลง เพราะการลงทุนสร้างไลน์การผลิตไปแล้วได้สินค้าออกมามากๆทำให้ลงทุนครั้งเดียวขายได้หลายๆครั้งๆ นับเป็นข้อดีมากๆอย่างหนึ่งของการตั้งโรงงานผลิตสินค้า แต่การตั้งโรงงานผลิตสินค้าให้เป็นมาตรฐานได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และต้องใช้ความรู้ในการออกแบบกระบวนการผลิตต่างๆมากมายเพราะการผลิตจากโรงงานเป็นผลโดยตรงต่อคุณภาพสินค้า นอกจากนั้นต้นทุนแรกเริ่มที่ลงไปกับการสร้างโรงงานก็ไม่ใช่จำนวนน้อยๆ แล้วยังมีต้นทุนทางเครื่องมือและแรงงานคนตลอดจนค่าน้ำค่าไฟและค่าบำรุงรักษาต่างๆมากมาย เรียกได้ว่าถ้าคำนวณไม่ดี ตั้งโรงงานมาแล้วสินค้าขายไม่ได้หรือลูกค้าไม่สั่งซื้อมีหวังบริษัทมีโอกาสล้มทั้งยืนได้เหมือนกัน
สำหรับโรงงานรถยนต์เองก็เช่นกัน กับไลน์การผลิตรถยนต์ที่ยิ่งผลิตมากก็ยิ่งกำไรเยอะเพราะต้นทุนถูกลงแต่รถยนต์ขายราคาเดิมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้แต่ละค่ายอยากจะดันยอดรถยนต์ในแต่ละรุ่นให้ขายได้มากๆเข้าไว้ รุ่นไหนขายไม่ค่อยดีก็เป็นอันต้องตัดออกจากตลาด แต่กับบริษัท Tesla ที่มีชื่อเสียงจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ได้แค่ต้องผลิตรถยนต์ให้ได้มากๆเท่านั้น การผลิตแบตเตอรี่ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่ Elon Musk วาดฝันไว้อย่างยิ่งใหญ่ชนิดที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พลังงานของมนุษย์ได้เลย เพราะว่า Elon Musk สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่มากๆ และมันมีชื่อว่า Gigafactory
ภาพถ่ายทางอากาศของ Gigafactory
รถยนต์สุดหรูของค่าย Tesla
Gigafactory เป็นชื่อโรงงานการผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ Tesla และก็เป็นโรงงานประกอบรถยนต์บางส่วนด้วย ที่ลงทั้งเงิน แรง และเวลาก่อสร้างขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ โดยโรงงานแห่งที่หนึ่งตั้งอยู่ในรัฐเนวาด้าของสหรัฐอเมริกา ส่วนแห่งที่2ตั้งอยู่ในรัฐนิวยอร์ค ยิ่งใหญ่แค่ไหนตามไปชมกันครับ
Gigafactory มีขนาดถึง 5.5 ล้านตารางฟุต (ประมาณ 500,000ตารางเมตร) ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดถ้ามองจากแบบพิมพ์เขียว ตึกที่ใหญ่พอๆกันแต่ก็ยังเล็กกว่าคือตึกที่ใช้ในการประกอบเครื่องบินโบอิ้ง ที่เป็นโรงงานชื่อว่า Boeing Everett ตั้งอยู่ในรัฐ Washington มันมีขนาด 4.3 ล้านตารางฟุต (ประมาณ 400,000 ตารางเมตร) ถ้ายังมองภาพไม่ชัดจะเปรียบเทียบได้ประมาณว่า Gigafactory มีขนาดประมาณสนามฟุตบอลมาตรฐาน 100 สนามรวมกัน
Elon Musk ผู้สร้าง Gigafactory ในขณะเยี่ยมชมการก่อสร้าง
Gigafactory ใช้เงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 5พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 160,000 ล้านบาท เงินจำนวนนี้มากขนาดไหน ก็ประมาณรายได้รวมทั้งหมดของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายมือถืออันดับหนึ่งในประเทศไทยทั้งปีรวมกัน
ภายในโรงงานก็หรูหรา
การก่อสร้างโรงงานใช้คนงานในการก่อสร้างรวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆที่ไม่มีการหยุด จะมีการเปลี่ยนกะกันไปเรื่อยๆ โดยใช้แรงงานคนร่วม 1,000 คน ตลอดเจ็ดวันในหนึ่งสัปดาห์เป็นเวลา24ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้โรงงานสร้างเสร็จได้ตามกำหนด
โรงงาน Gigafactory ขึ้นชื่อว่าเป็นโรงงานที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะหลังคาทั้งหมดของโรงงานจะเป็นสีขาวและใช้แผง Solarวางไว้ด้านบนอีกทีหนึ่ง สีขาวของหลังคาก็เพื่อที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุดและให้แผง Solar รับพลังงานแสงอาทิตย์ไปแปลงเป็นพลังงานให้กับโรงงานได้ใช้ต่อไป และด้วยพื้นที่ของอาคารที่ใหญ่และกว้างทำให้ได้แผง Solar ขนาดใหญ่มาก
หลังคาของตึกที่เป็น Solar Cell
เงินลงทุนที่ออกแบบและทำให้โครงสร้างของอาคารทั้งหมดเป็นแบบป้องกันแผ่นดินไหวก็เป็นหลักพันล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา แต่Elon Musk ก็ยืนยันที่จะปกป้องโรงงานของตัวเองจากแผ่นดินไหวด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาอย่างถูกต้องแม้โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวจะมีไม่มากก็ตาม และอาคารแห่งนี้ก็จะทนทานชนิดที่ต่อให้ถ้ารอบนอกโรงงานโดนแผ่นดินไหวฉีกทุกสิ่งก่อสร้างให้พังลง แต่โรงงานนี้ก็จะยังคงอยู่ แค่ฐานรากของตึกทั้งหมดยังไม่รวมโครงสร้างอื่นๆก็ทำเอามูลค่ามากถึง 500 ล้านบาทแล้ว (นี่แค่ฐานรากนะครับ) และยังใช้โครงสร้างเสริมเหล็กทั้งอาคารอีกเกือบ500ล้านบาท บวกกับโครงสร้างทั้งหมดที่กันไฟไหม้ได้อีกราวๆ 160 ล้านบาท ระบบไฟฟ้าที่ออกแบบมาอย่างดีอีกประมาณ 10 ล้านบาท
โครงสร้างของตึกที่กันแผ่นดินไหวและไฟไหม้
เฉพาะการจ้างงานที่เกิดขึ้นในโรงงานแห่งนี้จะมีทำให้มีแรงงานมีงานทำมากถึง 6500 ชีวิตในปี 2020 ซึ่งทำให้โรงงานแห่งนี้สามารถมีกำลังการผลิตแบตเตอรี่เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla ได้มากที่สุดถึง 500,000 คันต่อปี นั่นหมายความว่าในตอนนั้น Elon Musk มีแผนที่จะทำตลาดต่อไปจนกระทั่งยอดขายรถยนต์ของตนสามารถผลิตได้อย่างต่ำ 500,000 คันต่อปีเช่นกัน ซึ่งแบตเตอรี่ที่ใช้ยังคงเป็นลิเธียมไอออน กำลังการผลิตของ Gigafactory ที่ว่านี้จะทำให้ได้แบบเตอรี่ออกสู่ตลาดมากกว่าแบตเตอรี่ที่ทั้งโลกผลิตได้รวมกันในปี 2013 ทั้งปีเสียอีก
การจ้างงานของ Gigafactory ค่าแรงเฉลี่ยชั่วโมงละ 800บาท
จากข้อมูลล่าสุด ด้วยเหตุที่ Tesla Model 3 มียอดจองและยอดผลิตที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในระดับ 5,000 คันต่อสัปดาห์ ติดต่อกันหลายเดือน ทำให้อัตราการผลิตแบตเตอรี่จาก Gigafactory สูงถึง 18,650 เซลล์ต่อวัน
เพื่อนๆชาว Chobrod คงพอจะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับว่าความยิ่งใหญ่ของบริษัท Tesla ที่กล้าลงทุนต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และธุรกิจของตัวเองมีมากขนาดไหน แถมยังเป็นโรงงานระดับพรีเมี่ยมที่ไม่เสียดายเม็ดเงินในการลงทุนก่อสร้างเลย ทำให้เห็นว่าอนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาและโลกของเราสดใสแน่ๆ ที่เหลือก็แค่รอว่าวันหนึ่ง Tesla ก็คงเข้ามามีวิ่งกันอย่างแพร่หลายในตลาดบ้านเราบ้าง เพราะเชื่อได้เลยว่าคงมีคนไทยหลายๆคนรอจับจองเป็นเจ้าของอยู่เป็นแน่ ขนาดโรงงานยังจัดเต็มขนาดนี้ แล้วประสิทธิภาพของรถยนต์ Tesla จะขนาดไหน เห็นแล้วอยากลองใช้จริงๆครับ
ดูเพิ่มเติม
5 เรื่องเด่นของ Tesla Model X สุดของไฮไลท์รถไฟฟ้าในงานมอเตอร์โชว์ 2018
Tesla เรียกคืน Model S มากกว่าแสนคัน
ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถกระบะมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้