รถยนต์ในโลกนี้ไม่ว่าจะออกมาได้ดีมากแค่ไหน ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่ที่จุดอับสายตา
เอี๊ยด...โครม! เป็นเสียงแห่งอุบัติเหตุที่คนไทยได้ยินกันจนคุ้นหูและคุณก็คงไม่อยากให้มันเกิดขึ้นกับคุณเป็นแน่
ระบบ Blind Spot Monitoring (BSM) ในรถยนต์Mazda
รถยนต์ในโลกนี้ไม่ว่าจะออกมาได้ดีมากแค่ไหน ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่ที่จุดอับสายตา จุดอับสายตานี้มองเผินๆเหมือนจะไม่ค่อยมีผลกระทบต่อผู้ขับเท่าไร แต่เมื่อลองมาดูในทางปฏิบัติกันจริงๆแล้วจุดอับสายตาก็ยังมีอยู่และที่เราปลอดภัยมาได้นั้น โดยมากมาจากความบังเอิญและโอกาสที่เกิด ในทางกลับกันเนื่องจากมันเป็นจุดบอดหรือจุดอับสายตาทำให้เรามองไม่เห็น พอเวลาเกิดอุบัติเหตุจากจุดอับสายตาขึ้นมาจริงๆก็มักจะเกิดขึ้นแบบเต็มๆตั้งตัวไม่ทันกันแล้ว
ตัวเลขที่ฟังแล้วน่าตกใจมากก็คือจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการจราจรในประเทศไทย ไม่ต้องนับไปไหนไกลเอาแค่ปี2017ทั้งปี มีการรับแจ้งเหตุจากอุบัติเหตุทางรถยนต์รวมกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตเข้าด้วยกันมีมากถึง 817,444 ราย ตัวเลขนี้มากหรือน้อยจะรู้ได้อย่างไร เนื่องจากยอดขายรถใหม่ต่อปีของประเทศเราก็เฉลี่ยอยู่ประมาณ7-8แสนคันต่อปี เปรียบเทียบง่ายๆว่าประมาณ1คันของรถที่ออกมาใหม่จะเจออุบัติเหตุเฉลี่ย1ครั้งต่อปี นี่ยังไม่รวมกรณีอุบัติเหติเล็กๆน้อยที่ไม่ได้รับแจ้งอีก เด็กไทยรวมถึงผู้ใหญ่อย่างเราๆก็เรียนกันมาตั้งแต่เด็กแล้วว่า อุบัติเหตุคือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และก็ไม่มีใครอยากให้มันเกิดขึ้นด้วย เมื่อได้เห็นสถิติอุบัติเหตุทางจราจรของประเทศที่เราอาศัยอยู่แล้ว คำถามคือ เราจะเป็นหนึ่งในสถิติของอุบัติเหตุเรานั้นหรือไม่?
อุบัติเหตุจากการมองไม่เห็นรถจักรยานในจุดอับสายตา
ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการขับรถยนต์อาจจะพอรู้แล้วว่าเวลาขับรถยนต์ทั่วๆไปจุดอับสายตาคือจุดไหน หลังจากที่คุณได้อ่านบทความนี้แล้วจะเข้าใจจุดอับสายตาที่มาจากรถของเราเองมากขึ้นและสามารถเตรียมตัวระวังป้องกันจากตัวช่วยที่มีได้นับตั้งแต่นี้ไป
จุดอับสายตาเวลาขับรถยนต์จริงๆแล้วมีมากกว่าหนึ่งจุด ในที่นี่จะนำเสนอจุดบอดหรือจุดอับสายตาสำคัญๆที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่ออุบัติเหตุได้ ดังต่อไปนี้
เสาเล็กๆแต่ก็สร้างจุดอับสายตาขึ้นมาได้
มุมอับสายตาที่ไม่เห็นรถด้านขวาจากกระจกมองข้างขวา
ผู้ผลิตรถยนต์ก็พยายามที่จะลดจุดอับสายตาต่างๆเท่าที่จะทำได้ ฟังก์ชั่นหนึ่งที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในบ้านเราก็คือ ระบบตรวจสอบจุดอับสายตา (Blind Spot Monitor) ชื่อเรียกระบบนี้แตกต่างกันไปในแต่ละผู้ผลิตรถยนต์ แต่ก็ยังมีคีย์เวิร์ดสำคัญคือจุดอับสายตาหรือ Blind Spot อยู่ในชื่อฟังก์ชั่น
ระบบนี้จะมีเซนเซอร์ตรวจจับสิ่งที่อยู่ในขอบเขตของจุดอับสายตา โดยส่วนใหญ่เซนเซอร์นี้จะมองจากภายนอกไม่เห็นและถูกฝังอยู่ภายในกันชนท้ายทั้งสองข้างของรถยนต์ เซนเซอร์จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาด้านข้างทั้งซ้ายและขวาเพื่อตรวจสอบว่ามีสิ่งกีดขวางหรือรถยนต์ที่จุดอับสายตา(เลนข้างๆ)หรือไม่ เมื่อเจอสิ่งกีดขวางหรือรถยนต์คลื่นนั้นจะสะท้อนกลับไปยังเซนเซอร์เพื่อคำนวณว่ามีบางสิ่งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นจุดอับสายตานะ และส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ขับขี่ต่อไป การเตือนบอกผู้ขับขี่ก็มีทั้งรูปแบบเสียง รูปแบบแสงไฟกระพริบ แล้วแต่ว่าผู้ผลิตแต่ละรายออกแบบมาอย่างไร ในบางระบบมีการนำกล้องมาติดที่กระจกมองข้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณสิ่งที่อยู่ในจุดอับสายตาด้วย
>> สงสัยกันไหม !! จุดไข่ปลาสีดำ ตรงกระจกมองหลัง มีไว้ทำไมกันนะ ?
แสดงการเตือนแก่ผู้ขับขี่ว่ามีรถอยู่ในจุดอับสายตา
ทุกวันนี้ในตลาดรถยนต์บ้านเราก็มีรถหลายโมเดลที่มีระบบนี้ ทั้งนี้รถโมเดลนั้นๆก็ต้องดูอีกว่าเกรดไหนรุ่นไหนที่มีระบบตรวจสอบจุดอับสายตาติดตั้งและพร้อมจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกสักนิดไหมเพื่อให้ได้ระบบนี้ติดมา ตัวอย่างของรถยนต์ที่มีระบบตรวจสอบจุดอับสายตา เช่นรถยนต์กลุ่มB-Segment เครื่อง1.5ลิตรที่มีระบบนี้ติดตั้งอยู่คือ Mazda2, รถยนต์กลุ่มC-Segment เครื่อง2.0ลิตรที่มีระบบนี้ติดตั้งคือ Mazda3, รถยนต์กลุ่มD-Segment เครื่องยนต์ตั้งแต่2.0ลิตรขึ้นไปคือ Toyota Camry เป็นต้น
>> กระจกมองหลัง กระจกมองข้าง ควรปรับอย่างไรให้ ปลอดภัย และถูกวิธี
ถ้าขนาดเดินเล่นอยู่ในบ้านยังสะดุดหรือลื่นหกล้มได้ทั้งๆที่ไม่มีจุดอับสายตา อุบัติเหตุทางการจราจรก็คงเป็นเรื่องที่เลี่ยงได้ยากจริงๆ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุนั้นให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ด้วยการรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่อาจเป็นไปได้และใช้อุปกรณ์ที่มีความสามารถมากพอเข้ามาช่วย ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่าตัวเราจะกลายเป็นหนึ่งในสถิติอุบัติเหตุทางการจราจรของประเทศหรือไม่แต่การเตรียมตัวให้พร้อมโดยไม่ประมาทไว้ก่อนก็ช่วยลดโอกาสเหล่านั้นได้แน่นอน เพื่อว่าวันหนึ่งเสียง เอี๊ยด...โครม จะได้ไม่เกิดขึ้นกับเราและลดน้อยลงจนกลายเป็นศูนย์ได้ในสักวัน
Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้และอย่าลืมแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ของคุณให้เราด้วยโดยการให้ Comment ด้านล่างนี้ได้เลย