ไฟสัญญาณเตือนบนหน้าปัด
โดยผลสำรวจผู้ใช้รถในประเทศอังกฤษ ที่ทำการเก็บข้อมูลผู้ใช้รถที่ละเลยไม่สนใจในไฟสัญญาณเตือนต่างๆ บนหน้าปัดมีประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้รถ ที่ละเลย ไม่สนใจไฟสัญญาณที่ปรากฎขึ้นบนหน้าจอและฝืนใช้งานรถไปจนกระทั้งรถเกิดปัญหาการใช้งานนั้นขึ้นมา ถึงจะให้ความสนใจและนำรถเข้าไปตรวจเช็ค ซ่อม แก้ไขปัญหาเหล่านั้น ซึ่งจากผลสำรวจผู้ใช้รถมีมากถึง 29% ที่มีลักษณะการใช้รถดังกล่าว
ไฟสัญญาณเตือนบนหน้าปัด บอกระดับความเสี่ยงที่รถของคุณกำลังจะมีปัญหา
ไฟเตือนบนหน้าปัดสำคัญแค่ไหน ?
ไฟสัญญาณเตือนมีความสำคัญมากแค่ไหน จะยกตัวอย่างให้ดูกันง่ายๆ ถ้าคุณเป็นคนใช้รถอย่างเดียว ถ้าสมมติไฟเตือนเรื่องความร้อนของเครื่องยนต์ว่ามีความร้อนสูงกว่าปกติ เพราะเครื่องยนต์ขาดน้ำ ต้องเติมน้ำในหม้อน้ำให้กลับมาให้อยู่ในระดับมาตฐาน
แต่ผู้ขับกลับละเลยไม่สนใจ ระดับความร้อนเครื่องยนต์ที่ขึ้นสูงบนหน้าปัด แสดงสัญญาณเตือนความผิดปกติ ทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายหนัก ซ่อมไม่ได้ต้องยกเปลี่ยนเครื่องใหม่เท่านั้น ค่าซ่อมก็แตะหลักแสนได้เลยในรถรุ่นใหม่ๆ ที่ยังไม่มีเครื่องยนต์มือสองตามเชียงกง
นั่นคือตัวอย่างที่อาจจะแย่ที่สุดในเรื่องของค่าซ่อมแซม ที่จะเกิดเมื่อคุณละเลยไฟสัญญาณเตือนบนหน้าปัดรถของคุณ แต่ถ้าเป็นเรื่องความปลอดภัยละ? ถ้าเป็นไฟเตือนเรื่องน้ำมันเบรคที่ต่ำกว่ามาตฐานที่รถต้องใช้ เกิดใช้รถแล้วต้องเบรคกระทันหันแต่กลับเบรคไม่อยู่ ความเสี่ยงที่มีต่อชีวิตคุณจะมีมากแค่ไหน ?
7 สัญญาณเตือน เมื่อถึงเวลาเปลี่ยน แบตเตอรี่รถยนต์
ประสบการณ์ทำให้ใส่ใจรถมากขึ้น
คนใช้รถประเภทแบบใช้อย่างเดียวพอจะเริ่มเห็นความสำคัญของไฟสัญญาณเตือนบนหน้าปัดรถกันแล้วจากผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้รถที่มีอายุระหว่าง 35-54 ปีและมากกว่า 55 ปีเมื่อมีไฟสัญญาณเตือนบนหน้าปัดจะนำรถเข้าไปตรวจเช็คปัญหาในทันที อายุ 35-54 ปีอยู่ที่ 62 % เท่ากับผู้ใช้งานที่มีอายุ 18-34 ปีและผู้มีอายุมากกว่า 55 ปีมีเปอร์เซ็นการนำรถเข้าตรวจสอบความผิดปกติทันทีสูงถึง 83 %
แต่ถ้ามาดูที่จำนวนผู้ใช้รถที่ละเลยไฟสัญญาณเตือนบนหน้าปัด รอจนกระทั่งมีผลกระทบต่อการใช้งานรถจะพบว่า ผู้ใช้รถที่มีอายุ 18-34 ปีมีมากถึง 8 % ที่รอให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับรถก่อนถึงจะนำรถไปซ่อม แตกต่างกับผู้ใช้รถที่มีอายุระหว่าง 35-54 ปีและมากกว่า 55 ปีที่มีเพียงแค่ 4% และ 2% ตามลำดับ
ตารางรายงานเปรียบเทียบอายุกับความสนใจของผู้ใช้รถเมื่อสัญญาณเตือนบนหน้าปัดรถ
ตัวเลขดังเหล่านี้ทำให้เห็นว่า คนที่มีอายุมากขึ้นจะใส่ใจปัญหาของรถที่เตือนผ่านหน้าปัดมากกว่าคนอายุน้อย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเคยมีประสบการณ์ในการต้องเสียค่าใช้จ่ายกับการซ่อมสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเคยละเลยสัญญาณเตือนเหล่านั้นมาก่อน พอมีสัญญาณเตือนขึ้นมาก็จะรีบนำรถเข้าไปให้ช่างดูทันทีเพื่อป้องกันความเสียหายที่มากขึ้น และหมายถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นด้วย
เตือนภัย! รู้ทัน โจรยิงสัญญาณบล็อครีโมทรถยนต์
สรุปคือถ้าเตือนให้รีบเช็ค
ยังมีหลายคนที่มีนิสัยการใช้รถแบบ “ขับอย่างเดียว” ปล่อยผ่านกับสัญญาณเตือนบนหน้าปัด ยิ่งฝืนใช้รถไปก็จะยิ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับรถทวีมากยิ่งขึ้น คนที่อายุน้อยกว่าอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์ค่าซ่อมหนักๆ บอกเลยว่าซ่อมหนักๆ ทีไม่สนุกแน่
>>> ดูเพิ่มเติม ไฟเตือนเครื่องยนต์
รีบเข้าตรวจเช็คเมื่อรถมีสัญญาณเตือน บนหน้าปัดช่วยลดค่าใช้จ่ายให้คุณได้
แต่อย่ารอให้วันนั้นมาถึงจะดีกว่าเพียงแค่คุณใส่ใจดูแลรถมากขึ้นก็สามารถเลี่ยงที่จะต้องเสียเงินโดยไม่จำเป็นได้ เมื่อมีสัญญาณเตือความผิดปกติของตัวรถก็ให้รีบนำรถเข้าไปที่ศูนย์หรืออู่ซ่อม เพื่อตรวจสอบปัญหาเหล่านั้นและรีบแก้ไขในทันที อย่ารอจนกระทั้งรถออกอาการมาอย่างชัดเจนและลามไปปัญหาที่ใหญ่ขึ้น ค่าซ่อมรถของคุณก็แพงขึ้นด้วย อย่าเป็นพวก “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” ใส่ใจมากขึ้นสักนิดแล้วการใช้รถของคุณก็จะมีความสุขมากกว่าต้องหยุดหงิดกับค่าซ่อมที่คุณไม่ควรจะต้องจ่าย
ข้อมูลจาก :: www.thesun.co.uk