เอาขยะพลาสติกทั้งหลายมาทำเป็นถนนได้ไหม

ประสบการณ์ใช้รถ | 6 ก.ย 2561
แชร์ 1

ขยะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันตราบเท่าที่มนุษยชาติยังคงดำรงชีวิตและถ้ากำจัดไม่ดีมันต้องล้นโลกแน่ๆ มีวิธีการไหนไหมที่เอาขยะจำพวกพลาสติกมาทำเป็นถนนซะเลย

ทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือทวีปเอเชีย ในทวีปเอเชียนี้มีประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศรัสเซียมีพื้นที่ประมาณ17ล้านตารางกิโลเมตร แต่ประเทศรัสเซียไม่ได้มีประชากรมากที่สุดเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขตหนาวเย็น การใช้ชีวิตก็ลำบากกว่าประเทศเขตร้อนเป็นธรรมดา อัตราการเกิดของประชากรก็มีน้อยกว่าด้วย ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ1ของโลกอยู่ถัดลงมาจากรัสเซียคือประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,400ล้านคน ส่วนประเทศที่มีมากเป็นอันดับ2 คืประเทศอินเดีย มีประชากรประมาณ1,300ล้านคน แต่ประเทศอินเดียเล็กกว่าประเทศจีนประมาณ2-3เท่า ดังนั้นความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ก็มีมากตามไปด้วย แค่ประชากร2ประเทศนี้รวมกันก็เป็นสัดส่วนถึง1ใน3ของประชากรโลกแล้ว

พื้นที่สีแดงคือพื้นที่ที่มีประชากรรวมกันแล้วได้เท่ากับประมาณหนึ่งในสามของประชากรโลก

พื้นที่สีแดงคือพื้นที่ที่มีประชากรรวมกันแล้วได้เท่ากับประมาณหนึ่งในสามของประชากรโลก

แต่ละวันที่ผ่านไปๆประชากรที่มากมายเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดขยะขึ้นในแต่ละวัน ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับต้นๆของโลกคุณคิดว่าสร้างขยะขึ้นมาต่อปีเป็นปริมาณเท่าไร 100,000ตันครับ นี่คือปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียทั้งประเทศต่อปี ถามว่ามันเยอะไหม ลองมาเทียบกับประเทศไทย ประเทศไทยในปีหนึ่งๆสร้างขยะขึ้นมาประมาณ27ล้านตัน แน่นอนว่าความแตกต่างที่มากมายนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ประเทศ และจำนวนประชากรด้วย แต่100,000ตันก็นับว่ามากอยู่ดี

สภาพขยะที่มีมากมายและมีอยู่หลายแห่งทั่วโลก

สภาพขยะที่มีมากมายและมีอยู่หลายแห่งทั่วโลก

ขยะพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนานแค่ไหน

ในบรรดาขยะทั้งหลายสิ่งที่น่ากังวลคือขยะที่เป็นพลาสติกเพราะมีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายและใช้เวลานานมากในการย่อยสลายทางธรรมาชาติ มีการประมาณการระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายของพลาสติกไว้คร่าวๆดังนี้

พลาสติกอ่อน: พวกแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ใช้เวลาย่อยสลาย 50 ปี

พลาสติกแข็ง: เช่นพวกที่รองแก้วหรือที่จับสำหรับใส่เครื่องดื่ม ใช้เวลาย่อยสลาย 400ปี

ขวดน้ำพลาสติก: ใช้เวลาย่อยสลาย 450 ปี

พลาสติกเหนียว: เช่นสายเอ็นสำหรับตกปลา ใช้เวลาย่อยสลาย 600ปี

พลาสติกแบบต่างๆที่ใช้เวลาย่อยสลายเฉลี่ยหลักร้อยปี

พลาสติกแบบต่างๆที่ใช้เวลาย่อยสลายเฉลี่ยหลักร้อยปี

ด้วยเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายยาวนานขนาดนี้จำเป็นที่จะต้องมีการรีไซเคิลขยะเพื่อไม่ให้เกิดมลพิษ ในบรรดาคนเป็นพันล้านคนในประเทศอินเดียก็มีไอเดียเกิดขึ้นมาจนได้สำหรับการกำจัดขยะพลาสติกหรือเรียกว่านำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้คุณประโยชน์สูงสุด

ถนนในอินเดียที่ทำจากขยะพลาสติก

จริงๆเรื่องการเติมสารอะไรบางอย่าง(หลักๆคือโพลิเมอร์)ลงไปในวัสดุที่ทำถนนไม่ว่าจะเป็นคอนกรีตหรือยางมะตอยไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการทำมานานแล้วในยุโรปและสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปี 1970 เช่นในรัฐอิลลินอยส์ใช้หลักการนี้สร้างถนนสำหรับรองรับรถบรรทุกหนัก ในวอชิงตันใช้ในการลดระดับเสียงดังของพื้นถนนขณะที่รถวิ่งผ่าน ในรัฐออนแทรีโอก็ใช้ป้องกันการแตกตัวของพื้นถนนหลังจากฤดูที่หนาวเหน็บ ถนนที่มีส่วนผสมของโพลิเมอร์จะทนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดี ถึงแม้อุณหภูมิจะมากกว่า 50 องศาเซลเซียสก็ยังไม่ละลายในขณะที่ถนนยางมะตอยธรรมดาจะเริ่มละลายที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แต่การเติมสารโพลิเมอร์ลงไปให้คุณภาพของถนนมีมากขึ้นน้ันสร้างต้นทุนที่มากขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน เพราะต้นทุนในการทำถนนดีๆแบบนี้สูงกว่าถนนธรรมดาถึง30-50% ถ้าอยากจะมีถนนคุณภาพดีทั้งประเทศ ”ต้นทุน” คืออุปสรรคหลักในการสร้างเลยก็ว่าได้

ดูเพิ่มเติม
>>
 หลุด! Suzuki Ciaz ไมเนอร์เชนจ์ที่แดนโรตี ลุ้นเปิดตัวในไทยปลายปีนี้
>> อีนี่มีเฮจ้ะนาย! Isuzu D-Max V-Cross อาจมีรุ่นเกียร์อัตโนมัติที่อินเดีย

ถนนJambulingam ในเมืองเจนไนของประเทศอินเดียได้ชื่อว่าเป็นถนนเส้นแรกของประเทศอินเดียที่สร้างจากพลาสติก ซึ่งเกิดจากการตระหนักถึงปัญหาของขยะที่เป็นพลาสติกและก็พยายามหาทางออกของการกำจัดขยะพลาสติกด้วยการเอามาทำเป็นถนน โดยริเริ่มโครงการมาเป็น10ปีแล้ว ได้รับการรับรองจากบรรดานักวิทยาศาสตร์แล้วด้วยว่าข้อดีของถนนที่มีส่วนผสมของพลาสติกคือมันทนทาน เกิดเป็นหลุมเป็นบ่อได้ยากแม้ว่าเวลาจะผ่านไปสัก3-4ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบแล้วจากคณะกรรมการควบคุมมลพิษของประเทศอินเดีย ทุกวันนี้ถนนในอินเดียที่ทำมาจากพลาสติกมีมากถึง 100,000 กว่ากิโลเมตรแล้ว โดยทุกๆ1กิโลเมตร 1เลน ของถนนพลาสติกต้องใช้ปริมาณขยะพลาสติกถึง1ตัน ยิ่งสร้างถนนพลาสติกมากก็ยิ่งลดปริมาณขยะได้มาก และตั้งแต่ปี 2015 ทางรัฐบาลอินเดียก็ประกาศให้การสร้างถนนทางหลวงจำเป็นต้องนำขยะพลาสติกมาใช้ให้ป็นเรื่องจำเป็นระดับชาติเลยด้วย

ถนน Jambulingam ถนนสายแรกที่ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบ

ถนน Jambulingam ถนนสายแรกที่ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบ

ประเทศอินเดียนับเป็นประเทศที่มีระบบเครือข่ายของถนนทั่วทั้งประเทศรวมๆกันแล้วใหญ่เป็นอันดับ2ของโลก และก็ยังมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางจราจรทางบกเป็นอันดับต้นๆอีกด้วย โดยปีหนึ่งๆมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุรวมๆแล้วกว่า 500,000 รายต่อปี โดยประมาณ 1ใน5 ของจำนวนนี้เสียชีวิต และ10%ของสาเหตุการเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุก็มาจากถนนที่ไม่ได้มาตรฐานหรือชำรุดแต่ยังไม่ได้ซ่อมแซมเช่นหลุมบนถนน ที่พบเจอได้ง่ายเมื่อถนนเสื่อมสภาพ

ถนนพลาสติกมีแนวคิดอย่างไร

เทียบกับถนนแพงๆในสหรัฐอเมริกาแล้ว อินเดียมีแนวคิดที่ทำให้ประหยัดได้มากกว่าคือการสร้างถนนจากส่วนผสมของขยะพลาสติก หรือโพลิเมอร์เกรดต่ำ ซึ่งทำให้ต้นทุนในการสร้างถนนลดลงกว่าถนนธรรมดาถึง8% ไอเดียของการทำถนนจากพลาสติกเหลือใช้ก็คือ การย่อยพลาสติกเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปรวมกับก้อนหินก้อนกรวด จากนั้นใช้ความร้อนทำให้พลาสติกค่อยๆฉาบลงบนผิวของก้อนหินก้อนกรวดเหล่านั้น จากนั้นนำก้อนหินก้อนกรวดที่ฉาบพลาสติกเรียบร้อยแล้วไปผสมรวมกับยางมะตอยที่กำลังหลอมละลาย พันธะทางเคมีระหว่างพลาสติกและยางมะตอยจะจับกันได้แข็งแรงดีเพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเหมือนกัน และแนวคิดนี้ก็ได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปี 2006 ดูหลักการเหมือนจะง่ายๆแบบนี้กว่าจะทำสำเร็จก็ต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง และยังคงพัฒนาวิจัยต่อไปโดยมีเป้าหมายที่จะสร้างถนนที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติกที่ทำให้ต้นทุนการสร้างถนนลดลงได้ถึง50%

ถนนที่ใช้พลาสติกสร้างเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีการปักป้ายบอก

ถนนที่ใช้พลาสติกสร้างเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีการปักป้ายบอก

ถนนที่ใช้พลาสติกสร้างเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีการปักป้ายบอก

จำนวนประชากรที่มีมากเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะเจอคนเก่งในจำนวนนั้นแล้วคิดค้นไอเดียใหม่ที่ช่วยโลกได้ อย่างในกรณีนี้ปริมาณขยะที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ต้องเป็นภาระในการกำจัดอยู่แล้ว ถ้าหาทางกำจัดได้อย่างคุ้มค่าก็คงดี และวิธีนี้ก็นับเป็นวิธีที่สุดวิธีหนึ่งที่นำเอาขยะกลับมาพัฒนาประเทศได้ จนมีคำกล่าวจากผู้ที่คิดค้นไอเดียนี้ขึ้นมาว่า “มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ใช้วิธีนี้ คือเอาขยะพลาสติกมาทำถนน ทั้งๆที่พลาสติกทำลายยากแต่เอามาทำถนนแล้วราคาถูกลง แข็งแรงทนทานกว่าเดิม”

สภาพของคนงานที่กำลังการสร้างถนนที่แปลงถนนลูกรังให้เป็นลาดยาง

สภาพของคนงานที่กำลังการสร้างถนนที่แปลงถนนลูกรังให้เป็นลาดยาง

เพื่อนๆชาว Chobrod คงจะพอเห็นภาพและเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นบนโลกของเราแล้วนะครับ นอกจากขยะจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่พึงปรารถนาแล้ว หากเรามีไอเดียที่จะนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในราคาต้นทุนที่ถูกลงแถมคุณภาพดีแบบนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมจริงๆ ได้เห็นไอเดียของคนอินเดียในวันนี้แล้วคงต้องพยามยามนำมาปรับใช้ในวิถีชิวิตของบ้านเราเผื่อวันหนึ่งจะเจอไอเดียดีๆที่ช่วยโลกได้แบบนี้บ้าง

ดูเพิ่มเติม
>> 
ISUZU D-MAX V-Cross XS-09 สายลุยกับชุดแต่งจากอินเดีย
>> การสอบใบขับขี่ของประเทศต่างๆในโลก

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
อ่านรีวิวรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์  เชิญที่นี่