เจาะลึกรถ Sub-Compact มีลักษณะเป็นยังไงนะ?

ประสบการณ์ใช้รถ | 20 พ.ย 2561
แชร์ 0

ทุกคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างกับ รถ Sub-Compact แต่จะมีใครบ้างที่รู้ว่าจริงๆแล้วมันคือรถแบบไหนกันแน่ และรถรุ่นไหนจะเป็นรถ ซับคอมแพค และสุดท้ายมันจะมีลักษณะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะพาคุณไปล้วงลึก หาคำตอบเกี่ยวกับรถซับคอมแพคกันค่ะ

>> นวัตกรรมปลดล็อครถด้วยใบหน้าคนขับ โดย บริษัทชาวจีน BYTON
>> ตรวจสอบกันดูหน่อยว่า..ปัญหาเสียงดังจากช่วงล่างของ Toyota Yaris มาจากอะไร ?

เจาะลึกรถ Sub-Compact มีลักษณะเป็นยังไงนะ?

เจาะลึกรถ Sub-Compact มีลักษณะเป็นยังไงนะ?

ที่ผ่านมาบ้านเราอาจไม่คุ้น หรือรู้จักกับคำว่า Sub-Compact มากเท่าไรนักนะคะ หรือจริงๆจะเรียกอีกแบบได้นั่นก็คือ รถประเภท B-Segment ตามการเรียกของ EuroNCAP เพราะการจัดหมวดหมู่รถยนต์ในเมืองไทย อาจจะค่อนข้างสับสน มักเรียกแบบเหมารวมกันมากกว่า เช่น รถเก๋ง, ปิกอัพ, รถตู้ หรือไม่ก็ใช้ราคาขาย หรือเครื่องยนต์เป็นตัวแบ่งกลุ่ม ซึ่งการเรียกรถในกลุ่ม Sub-Compact นั้นเป็นที่นิยมเรียกกันในฝั่งอเมริกาเสียมากกว่า

Ford Pinto

Ford Pinto

แต่คุณรู้มั้ยคะ ว่ารถประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในยุควิกฤตน้ำมัน หรือ Oil Crisis ประมาณกลางๆยุค 1970 ที่รถอเมริกันหลายๆเจ้า ออกรถขนาดเล็กมาจำหน่าย อาทิ Ford Pinto, AMC Pacer หรือ AMC Gremlin มาขาย ก่อนความนิยมจะลดลงเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ และกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งประมาณกลางๆ ยุค 90 เมื่อบรรดาแบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่น โดยเฉพาะ Toyota และ Honda นำรถในกลุ่มนี้เจาะตลาดอเมริกาอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้งราคาน้ำมันในอเมริกาช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เลยทำให้คนอเมริกันเริ่มหันมามองรถยนต์ขนาดเล็กโดยเฉพาะในกลุ่ม Sub-Compact อีกทั้งตั้งแต่ช่วงปลายๆยุค 80 ค่ายรถยักษ์ใหญ่อย่าง GM ยังต้องจับมือร่วมกับรถค่ายญี่ปุ่นอย่าง โตโยต้า และ ซูซูกิ เพื่อแลกเปลี่ยนรถกัน และนำมาผลิตในแบรนด์ของตัวเองอย่าง GEO  ที่ตอนนี้เลิกผลิตไปแล้ว

โตโยต้าแฮตช์แบ็กรุ่น

โตโยต้าแฮตช์แบ็กรุ่น "สตาร์เลท"

รถยนต์ในกลุ่ม Sub-Compact มีคุณสมบัติไม่ต่างจากรถอย่างในประเภท Compact Car มากนัก มีทั้งแบบ 3, 4 และ 5 ประตู ทั้งเรื่องสมรรถนะ การตกแต่งภายใน อุปกรณ์อะไหล่ต่างๆ คล้ายคลึงกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ มีแต่เพียงขนาดตัวรถที่เล็กกว่า และเครื่องยนต์อาจจะเล็กกว่า

สำหรับในประเทศไทย หลังจากที่รถในตลาดกลุ่มนี้กำเนิดขึ้นมาประมาณกลางๆยุค 80 ที่โตโยต้านำรถแฮตช์แบ็กรุ่น "สตาร์เลท" และนิสสันก็ออก "มาร์ช" มาขายแล้วก็เริ่มซาไป เนื่องจากราคา และกลุ่มตลาดไม่ต่างจากรถที่มีขายอยู่ในขณะนั้นนัก ภายหลังการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และภาษีชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ และการนำเข้ารถเสรีได้ในปี 2534 แล้ว รถพวกนี้ก็กลับมาขายในท้องตลาดโดยเกรย์ มาร์เก็ต ในราคาที่แพงกว่ารถคลาสสูงกว่าที่บริษัทแม่ในนี้ประกอบขายด้วยซ้ำไป จนบริษัทแม่ของรถรุ่นต่างๆ เริ่มหันกลับมาศึกษารถในกลุ่มตลาดนี้

Honda Jazz

Honda Jazz

และจนกระทั่งช่วงปลายยุค 90 โตโยต้ากำเนิดโครงการผลิตรถ "AFC" และผลิตรถรุ่น "โซลูน่า" ออกมาจำหน่ายในปี 2540 พร้อมกับฮอนด้าก็ออกรถยนต์รุ่น "ซิตี้" ขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทำให้รถกลุ่มตลาด Sub-Compact เริ่มเป็นที่นิยม และเริ่มมีผู้จำหน่ายหลายยี่ห้อมากขึ้น พร้อมกับการถือกำเนิดของ "ฮอนด้า แจ๊ส" ที่ทำให้ตลาดรถท้ายตัดแบบ Sub-Compact กลับมาคึกคัก คู่กับการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงมากขึ้นด้วยเช่นกัน

Toyota Yaris

Toyota Yaris

สำหรับรถยนต์ในกลุ่มตลาดนี้ (ในไทย) ได้แก่ Toyota Yaris, Toyota Vios, Honda Jazz, Honda City, Mazda2 แฮตซ์แบ็ก, Mazda 2 ซีดาน, Ford Fiesta, Chevrolet AVEO, KIA Rio, Proton Savvy, Proton Saga, เปอโยต์ 207 และ ซีตรอง DS3 เป็นต้น (จริงๆนิสสัน มาร์ช, อัลเมร่า และซูซูกิ สวิฟท์ ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน แต่ด้วยขนาดเครื่องยนต์ที่เล็กกว่า เลยจัดอยู่ในกลุ่ม ECO-Car ไป)

เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า B-Segment

เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า B-Segment 

เราก็ได้รู้กันแล้วนะคะว่ารถแบบ Sub-Compact หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า B-Segment มีลักษณะเป็นอย่างไร ก็ถือว่าเป็นรถอีกประเภทนึงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย เพราะด้วยความที่มาใสนราคาที่โอเคเหมาะสมกับสมรรถนะและออปชั่นที่ให้มา รวมถึงมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม เข้าถึงได้กับทุกวัยและทุกอาชีพ จึงทำให้รถประเภทนี้ขายดีมากค่ะ วันนี้ก็ได้ความรู้กันไปมากขึ้นแล้วเนอะ คราวหน้า Chobrod จะนำเรื่องอะไรมาฝาก อย่าลืมติดตามกันนะคะ  

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่ 
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี