ระยะเปลี่ยนของเหลวรถยนต์ อะไรเมื่อไรบ้างที่คุณต้องรู้?

ประสบการณ์ใช้รถ | 2 ส.ค 2561
แชร์ 16

ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งป้ายแดงหรือรถมือสอง เรื่องการดูแลในเรื่องของ “ของเหลว” เป็นสำคัญอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเหลวที่มีส่วนกับการทำงานของตัวเครื่องยนต์ และระบบขับเคลื่อน ซึ่งถ้าละเลยไม่เปลี่ยนถ่ายตามระยะ อาจจะส่งผลเสียทำให้เกิดความเสียหายเร็วกว่าระยะการใช้งาน หรือรุนแรงกว่าที่ควรเป็นก็ได้

ระยะเปลี่ยนของเหลวรถยนต์ อะไรเมื่อไรบ้างที่คุณต้องรู้?

ระยะเปลี่ยนของเหลวรถยนต์ อะไรเมื่อไรบ้างที่คุณต้องรู้?

ว่าด้วยเรื่อง “ของเหลว” ของรถยนต์เพื่อใช้ทั้งในการทำงานขับเคลื่อน ไปจนถึงของเหลวสำหรับอุปกรณ์ตามจุดต่างๆ ล้วนมีระยะการทำงาน และความเสื่อมคุณภาพได้ทั้งสิ้น ใช่ว่าจะอยู่ยงใช้ได้ตลอด ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเพื่อให้รักษาประสิทธิภาพการทำงานดีที่สุดกับตัวอุปกรณ์ เหมือนส่วนอื่นๆ ของรถ เช่น ยาง ทั้งแบตเตอรรี่ หรือยางปัดน้ำฝนก็ต้องมีเปลี่ยน ของเหลวก็เช่นกัน และของเหลวที่คุณควรให้ความใส่ใจในการดูเปลี่ยนถ่ายตามระยะนั้น สำคัญๆ มีอะไรบ้าง,ต้องเปลี่ยนเมื่อระยะเท่าไร Chobrod จะมาบอกกับให้รู้กัน

1.น้ำมันเครื่อง 
ส่วนสำคัญอันดับหนึ่งในการทำงานของเครื่องยนต์ ต่อให้รถมีเครื่องยนต์จะสภาพดี สมบูรณ์มากแค่ไหน แต่ถ้าของเหลวเสื่อมประสิทธิภาพ ถูกใช้งานมานานจนดำจากคราบตะกอน ไม่เคยมีการเปลี่ยนถ่ายมานาน ก็ย่อมส่งผลให้การทำงานของเครื่องยนต์ไม่ราบรื่น “สะดุดกระตุกติดขัด” และยังส่งผลไปถึงบางอาการที่แสดงถึงปัญหาของตัวรถตามจุดต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งบางครั้งแค่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องก็สามารถช่วยให้อาการเสียนั้นหายไปได้ 

น้ำมันเครื่องยิ่งฝืนใช้นานๆ ไม่เปลี่ยนถ่ายจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานไม่ราบรื่น

น้ำมันเครื่องยิ่งฝืนใช้นานๆ ไม่เปลี่ยนถ่ายจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานไม่ราบรื่น

น้ำมันเครื่องมีมากมายหลายประเภท แต่ใช่ว่าจะเหมาะกับรถทุกรุ่น ต้องเปรียบเทียบตามรูปแบบการใช้งาน, ตัวรถและเครื่องยนต์ ซึ่งอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องของแต่ละประเภทก็มีระยะแตกต่างกันออกไปอีก อาทิเช่นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 18,000-20,000 กิโลเมตร, น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ อายุการใช้งานอยู่ที่ 10,000 กิโลเมตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำแนะนำจากเราคือ เมื่อเห็นว่าใกล้จะครบกำหนดเปลี่ยนถ่าย และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานรถให้กลับมาสดใหม่ ดีเหมือนเดิมก็เปลี่ยนถ่ายได้เลย ไม่ต้องรอให้เลยหรือครบตามกำหนดเปลี่ยนก็ได้แล้ว  

2.น้ำหม้อน้ำ(น้ำหล่อเย็น)
ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ ส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆ เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิของเครื่องยนต์ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าของเหลวของระบบนี้เกิดความสกปรก (น้ำหรือน้ำยาหล่อเย็น) เสื่อมสมรรถภาพ มีคราบตะกรันหรือสนิมที่หลุดติดมาจากการทำงาน ก็อาจจะเข้าไปอุดตันตามส่วนต่างๆ ที่ไหลผ่านจนทำให้ระบบหล่อเย็นทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนขึ้นสูงเมื่อใช้งาน ทางที่ดีควรมีการเปลี่ยนถ่ายระบบน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำใหม่ทุกๆ ปีหรือ นับเป็นระยะทางที่ 100,000 กิโลเมตรก็ได้ 

ถ้าระบบหล่อเย็นของเครื่องมีปัญหา อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการ Overhate ซ่อมหนักได้

ถ้าระบบหล่อเย็นของเครื่องมีปัญหา อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการ Overhate ซ่อมหนักได้

>> “น้ำยาหล่อเย็น” กับ “น้ำยาหม้อน้ำ” มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ???

3.น้ำมันเกียร์ 
อีกชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้รถวิ่ง และยังราคาแพงด้วยเมื่อต้องซ่อมหรือมีปัญหาขึ้นมา แต่คุณผู้ใช้รถก็สามารถเลี่ยงได้ถ้าให้ความสำคัญในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์อยู่เป็นนิจ ปัญหาที่หลายคนกลัวว่าส่วนนี้ของรถจะมีปัญหาจะเลี่ยงได้ถ้าใส่ใจในเรื่องของน้ำมันเกียร์ แม้กับรถบางรุ่นจะอ้างสรรพคุณว่าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ใช้ได้ตลอดอายุการใช้งานของรถ แล้วเป็นยังไงเมื่อเกียร์พังทั้งที่รถวิ่งใช้งานได้ยังไม่เท่าไร ซึ่งคำกล่าวอ้างนั้นก็อาจจะจริงก็ได้ เพราะน้ำมันเกียร์ไม่ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนเกียร์ยกชุดเลย! พร้อมกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมมหาศาล อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่บอกว่าน้ำมันเกียร์ของรถคุณไม่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายโดยเฉพาะกับรถยุโรปที่มักเจอกับปัญหานี้ (ซ่อมทีมีเหงื่อตกทุกคัน)

ให้คุณลองนึกภาพตาม กับรถเพิ่งออกจากโรงงาน ระบบเกียร์ใหม่ๆ เทน้ำมันเกียร์เข้าไป ต่อให้ไม่มีเศษคราบตะกรันอะไรในตอนแรก แต่เมื่อใช้งานรถไปนานๆ เศษชิ้นส่วนที่มาจากการสึกหรอก็หลุดลงมาปะปนสู่ของเหลวได้แทบทั้งสิ้น แล้วคุณจะปล่อยให้เกียร์ของรถคุณต้องทำงานอยู่ท่ามกลางคราบเหล่านั้น น้ำมันเกียร์สกปรก ดำๆ จนสุดท้าย “เกียร์พัง” ซ่อมหนักหรือ 

ระบบเกียร์ของรถ สำคัญมากที่ต้องดูแลเพราะค่าใช้จ่ายในการซ่อมแพง

ระบบเกียร์ของรถ สำคัญมากที่ต้องดูแลเพราะค่าใช้จ่ายในการซ่อมแพง

จะดีกว่าไหมถ้าเลือกเปลี่ยนถ่ายของเหลวตามระยะ คุณเลือกเองได้เพื่อให้ตัวเกียร์ที่ทำงานร่วมกับน้ำมันเกียร์ที่ “ใหม่ สด สะอาด” ซึ่งระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ของรถยนต์ทั่วไป จะระยะนานกว่าน้ำมันเครื่อง ระยะกำหนดอยู่ราว 40,000-50,000 กิโลเมตร และกับรถบางรุ่นที่บอกว่าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์เลย คำแนะนำคือ เราอยากให้คุณลองปรึกษาช่างเฉพาะทางของรถรุ่นที่คุณขับอยู่ดูก่อนว่าจริงเท็จแค่ไหน จริงๆ แล้วควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์หรือไม่ เพื่อจะได้ไม่ต้องหัวเสียเมื่อตอนที่ต้องจ่ายค่าซ่อมราคาแพงกับตอนที่เกียร์พัง 

4.น้ำมันเบรก 
โดยเฉพาะกับรถมือสอง เรื่องระบบเบรกเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้ดีก่อนนำมาใช้งาน เมื่อของเหลวในระบบเบรกช่วยทำให้รถวิ่งได้อย่างน้ำมันเครื่องมีความสำคัญมากฉันใด ของเหลวช่วยในการให้รถหยุดอย่าง “น้ำมันเบรก” ก็มีความสำคัญด้วยฉันนั้น เพราะมันคือส่วนช่วยในการทำงานหลักของระบบเบรก และมอบความปลอดภัยในการใช้รถให้แก่คุณ อย่าละเลยในการดูของเหลวส่วนนี้ ทั้งระดับของเหลวที่ลดลงและระยะการเปลี่ยนถ่ายคือสิ่งสำคัญต้องมีการตรวจสอบ ใช้รถบ่อยก็เปลี่ยนถ่ายปีละครั้งกำลังดี ส่วนรถที่ปีหนึ่งวิ่งไม่ค่อยมากก็เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกสักสองปีต่อครั้ง หรือจะเปลี่ยนถ่ายไปพร้อมกับตอนเข้าเปลี่ยนผ้าเบรกก็ได้กันลืม ค่าบริการราคาไม่กี่บาท แต่เชื่อเถะอะว่าคุ้มค่า! เมื่อต้องแลกกับความปลอดภัยในการใช้งานรถที่มั่นใจได้มากขึ้น

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกไปพร้อมตอนเปลี่ยนผ้าเบรกเลยก็ได้ กันลืม!

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกไปพร้อมตอนเปลี่ยนผ้าเบรกเลยก็ได้ กันลืม!

5.น้ำมันเฟืองท้าย
ส่วนของเฟืองท้ายอาจไม่คุ้นชินกับใครที่ใช้รถยนต์นั่งขับเคลื่อนล้อหน้าสักเท่าไร แต่สำหรับผู้ใช้รถกระบะหรือรถ “ขับหลัง” ไม่ควรละเลยของเหลวในอุปกรณ์ชิ้นนี้ ยิ่งถ้ามีการขับรถลุยน้ำท่วมสูงมา จะเสี่ยงต่อการที่น้ำจะเข้าไปสู่ระบบเฟืองท้ายได้ด้วย ควรรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายทันที และระยะเปลี่ยนถ่ายของน้ำมันเฟืองท้ายของรถทั่วไปจะอยู่ที่ 40,000 ถึง 50,000 กิโลเมตร 

รถขับหลัง เมื่อขับลุยน้ำท่วมสูงมาต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์

รถขับหลัง เมื่อขับลุยน้ำท่วมสูงมาต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์

และทั้งหมดนี้คือ 5 ส่วนสำคัญสำหรับคุณผู้ใช้รถทุกคนต้องใส่ใจ การเปลี่ยนถ่ายของเหลวให้กับระบบตามระยะอย่างยิ่งยวด เพื่อให้การใช้งานรถยนต์คันรักของคุณไม่มีสะดุดราบรื่น และยังช่วยป้องกันความเสียหายรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการซ่อมแพงกว่าที่ควรจะเป็นได้ด้วย หมั่นดูแลเปลี่ยนของเหลวตามระยะกำหนด หรือจะให้ดีเลือกเปลี่ยนก่อนระยะเวลากำหนดสักหน่อยไปเลยก็ได้ เพื่อการใช้งานรถที่เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดูเพิ่มเติม

>> ควรหรือไม่ควร ?! ระหว่าง “ถอดรองเท้า” กับ “ใส่รองเท้าขับรถ” แบบไหนดีกว่ากัน ?

>> เพื่อสุขภาพที่ดี 6 วิธีนั่งที่ถูกสุขลักษณะเวลาขับรถ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
อ่านรีวิวรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์  เชิญที่นี่