ไปต่อหรือจอดรอก่อน หากขับรถอยู่แล้วรถยนต์ความร้อนขึ้นต้องทำอย่างไร ? และอันตรายมากแค่ไหน พร้อมเผยวิธีรับมือที่ถูกต้องเมื่อเครื่องยนต์เกิดอาการโอเวอร์ฮีท
เป็นคุณจะตกใจไหม ? เมื่ออยู่ ๆ รถที่ขับมาก็เกิดอาการเครื่องยนต์ร้อน หรือที่เรียกว่าโอเวอร์ฮีท หลายคนเมื่อพบว่าอาการเครื่องยนต์เกิดความผิดปกติก็อาจทำอะไรไม่ถูกว่าจะสามารถขับรถไปต่อไหมหรือจอดเพื่อนเช็กอาการดี แล้วถ้าเป็นคุณเองเจอเหตุการณ์เช่นนี้คุณจะทำอย่างไรดี
อยู่ ๆ ควันเกิดพุ่งขึ้นมาจากตัวรถ คุณจะทำอย่างไร ?
อาการรถยนต์มีความร้อนสูงผิดปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมักมีที่มาหลัก ๆ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดมักจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำ ที่ไปส่งผลต่อระบบช่วยระบายความร้อนให้ทำงานหนักมากเกินไป จนไม่สามารถรักษาอุณหภูมิเครื่องยนต์ให้อยุ่ในระดับปกติได้ทำให้ตัวเครื่องยนต์ร้อนจัดและเกิดเป็นควันพุ่งขึ้นมา
รถยนต์ทุกคันจะมีมาตรวัดความร้อนเครื่องยนต์ โดยมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือแบบเกจ และแบบไฟเตือน
สัญญาณเตือนแบบเกจ
แบบเกจ การทำงานของเกจจะอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ไม่เกินครึ่งของมาตรวัด หากเข็มเกจชี้มาทาง H (H ย่อมาก Hot ที่แปลว่า) เกินครึ่ง หมายความว่าเกิดสิ่งผิดปกติในระบบหล่อเย็น หรืออุณหภูมิของเครื่องยนต์กำลังสูงจนเกินไป
เมื่อสัญลักษณ์นี้ขึ้นสีแดง หมายถึงรถยนต์ของคุณกำลังมีความร้อนสูง
แบบไฟเตือน จะแสดงผ่านสีไฟแจ้งเตือน ถ้าขึ้นสีแดง หมายถึง เครื่องยนต์ร้อน หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูงกว่า 117 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเป็นสีเขียวหรือสีฟ้า หมายถึง เครื่อองยนต์เย็น ระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิต่ำกว่า 60 องศาสเซลเซียส
หากเกิดการแสดงสัญลักษณ์และการแจ้งเตือนดังกล่าว ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม นั่นหมายความว่า มีการความผิดปกติเกิดขึ้นที่ปัญหามาจากอุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนอะไรต่างซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับเครื่องยนต์แล้วอย่างแน่นอน
ดูเพิ่มเติม
>> เลือกติดฟิล์มรถยนต์อย่างไร ? ให้เหมาะสมกับรถของคุณ
>> ประสบการณ์ที่ผิดพลาด ของการซื้อรถ
เมื่อรถยนต์ความร้อนขึ้น อย่านิ่งนอนใจและฝืนขับรถไปต่อ ควรหาที่จอดที่ปลอดภัยเพื่อหยุดรถในทันที เพราะต้องลงมาตรวจสภาพรถยนต์ก่อน เพราะเราไม่รู้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่ เมื่อหาที่จอดได้แล้ว ก็เปิดฝากระโปรงรถยนต์ทิ้งเอาไว้ก่อนประมาณ 20 นาทีเพื่อระบายความร้อน เมื่อเครื่องยนต์เย็นลง ก็ทำการตรวจเช็กห้องเครื่องเพื่อหาสาเหตุความผิดปกติต่อไป
โดยการตรวจสอบห้องเครื่อง ให้ตรวจเช็กระบบระบายความร้อนไว้เป็นหลัก อันมีอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วย หม้อน้ำ ฝาหม้อน้ำกับถังพัก ท่อน้ำ วาล์วน้ำ และปั๊มน้ำ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนที่อาจเกิดอาการชำรุดหรือรั่วซึมได้ ซึ่งเราเองก็ควรระมัดระวังเวลาตรวจสอบ โดยใส่ถุงมือให้เรียบร้อย เพราะบางอุปกรณ์อาจจะยังมีความร้อนหลงเหลืออยู่ และที่สำคัญให้ระวังอย่ายื่นหน้าเข้าไปใกล้หม้อน้ำ เพราะอาจเกิดแรงดันที่น้ำที่ยังร้อนอยู่อาจจะพุ่งขึ้นมาโดนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
จอดรถ เปิดฝากระโปรงเพื่อตรวจสอบทันที
หากต้องการเติมน้ำเมื่อพบว่าน้ำในหม้อน้ำแห้ง ก็ค่อย ๆ เติมน้ำทีละน้อย ๆ อย่างช้า ๆ พร้อมกับคอยสังเกตระดับที่เติมลงไปด้วยเพื่อตรวจสอบว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ และถ้าพบว่าปัญหาเกิดจากหม้อน้ำแตกให้ทำการติดต่อแจ้งศูนย์บริการทันที เพราะขับต่อไปก็อันตรายอย่างแน่นอน ถ้าเป็นปัญหาน้ำรั่วซึมเล็กน้อยยังสามารถขับต่อไปได้ แต่ต้องคอยสังเกตเข็มวัดอุณหภูมิเอาไว้เป็นระยะด้วยเช่นกันจนกว่าจะถึงจุดหมาย จากนั้นให้นำรถไปเข้ารับการซ่อมบำรุงหม้อน้ำในทันที
และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นได้อีกระหว่างเดินทาง หมั่นตรวจสอบสภาพของรถยนต์อย่างสม่ำเสมอว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานในทุกส่วน เช็กอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามระยะการใช้งาน และคอยตรวจสอบอาการของรถยนต์ขณะขับขี่ไปด้วย เพื่อความอุ่นใจ และความปลอดภัยในการเดินทางของคุณ
ดูเพิ่มเติม
>> เปิดเคล็ดวิชา ล้างรถ สูตรลับ ฉบับสายขี้เกียจ
>> คุณรู้ดีแค่ไหน ? 10 เทคนิคดูแลรักษารถยนต์ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง ราคารถยนต์ใหม่ๆ ได้ที่นี่