มาทดสอบกันดู ว่าคุณมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษารถยนต์มากแค่ไหน กับ 10 คำถามที่น่าสนใจพร้อมคำตอบที่ต้องรู้ กับบางเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หลายคนมองข้าม
การมีรถยนต์ไม่เพียงแต่จะต้องรู้จักวิธีในการขับขี่เท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการดูแล บำรุงรักษาอีกด้วย ซึ่งมีวิธีมากมายที่จะดูแลรถสุดรัก แต่ก็ยังมีบางเทคนิคที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเช่นกัน มาทดสอบกันดูกับ 10 เทคนิคดูแลรักษารถยนต์ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
เริ่มกันที่การดูแลรักษาแอร์รถยนต์ สำหรับกรองแอร์รถยนต์มีหน้าที่ดักฝุ่นต่าง ๆ ที่เข้ามาภายในห้องโดยสาร เพื่อไม่ให้ผ่านเข้าไปติดสะสมที่คอยล์เย็น หรือให้ผ่านเข้าไปได้แบบน้อยที่สุด ช่วยยืดระยะเวลาในการทำความสะอาดคอยล์เย็น ช่วยให้แอร์รถไม่ทำงานหนัก ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น และที่สำคัญที่สุด จะช่วยให้ภายในห้องโดยสารสะอาด ด้วยอากาศบริสุทธิ์นั่นเอง
กรองแอร์รถยนต์จะช่วยกรองอากาศในรถให้สะอาด
วิธีการดูแลรักษาแอร์รถยนต์สำหรับรถใหม่ ในทุก ๆ ระยะ 2 หมื่นกิโล เมื่อเข้าศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทางศูนย์จะทำการเปลี่ยนกรองแอร์รถให้เราเลย และนอกจากการเปลี่ยนกรองแอร์แล้ว ในทุก ๆ เดือน ให้นำกรองแอร์ออกมาเคาะ เป่าฝุ่น เพื่อลดฝุ่นที่เข้ามาเกาะสะสม เพื่อให้แอร์ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ดูเพิ่มเติม
>> เช็ก 4 จุดตรวจ เมื่อพบปัญหาแอร์รถยนต์ไม่เย็น
>> แอร์รถยนต์ทำงานอย่างไร
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของรถ ปกติจะนิยมเปลี่ยนกันเมื่อระยะถึง 8,000 - 10,000 กิโลเมตร หรือทุก ๆ 6 เดือน หรือถ้ารถใช้งานบ่อยก็อาจจะเปลี่ยนทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร หรือทุก ๆ 3 เดือน และสำหรับคนที่ใช้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่ศูนย์ อยากตรวจสอบว่าทางศูนย์ได้เปลี่ยนถ่ายให้แล้วจริงหรือไม่ ก่อนจะเข้ารับบริการ ให้เช็กที่สีและระดับน้ำมันเครื่อง พร้อมทำตำหนิที่ไส้กรองเอาไว้ เพื่อนำมาตรวจสอบอีกทีว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่หลังเข้ารับบริการ
ทันทีที่ทำการสตาร์ตเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องและน้ำในหม้อน้ำยังไม่อุ่นพอสำหรับเครื่องยนต์ทำให้เกิดการ เคลื่อนตัวไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ แม้การขับขี่ไปเลยจะไม่ทำให้เครื่องพังหรือเจอปัญหาที่อันตราย แต่เมื่ออุณหภูมิภายในยังไม่นิ่ง ก็จะทำให้รถยนต์เกิดเสียงที่ห้องเครื่อง และขับเคลื่อนได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
การวอร์มเครื่องยนต์
การขับขี่รถยนต์แต่ละครั้ง จึงควรมีการวอร์มเครื่องไว้ก่อนเสมอ แม้ในปัจจุบันที่รถยนต์ส่วนมากจะเป็นระบบไฟฟ้าแล้วก็ตาม โดยระหว่างที่รอเครื่องยนต์อุ่น ให้ตรวจสอบสัญญาณไฟบนแผงหน้าปัด และลองเหยียบเบรกว่าทำงานปกติดีหรือเปล่า
หากพบว่าศูนย์บริการไหนมีการเปิดฝาถังน้ำมันเอาไว้ขณะล้างรถ นั่นหมายความว่าร้านนั้นใส่ใจในการทำความสะอาดที่ดีเพราะไม่ใช่ทุกที่ ที่จะล้างทำความสะอาดคราบสกปรกที่ขอบถัง อันเกิดมาจากไอน้ำมันที่ระเหยออกมาจากฝาถังชั้นในบวกกับฝุ่นในอากาศ
ฝาถังน้ำมันอาจมีคราบสกปรกที่หลายคนมองข้าม
และหากสงสัยว่าน้ำจะเข้าไปในถังหรือไม่ คำตอบคือหากใช้น้ำจากสายยางธรรมดา โอกาสที่น้ำจะเข้าไปทางรูระบายอากาศจะน้อย แต่ถ้าเป็นน้ำแรงดันสูงก็มีโอกาสสูง แต่น้ำที่เข้าไปก็จะอยู่ในด้านบนของน้ำมันก็ไม่ได้มากเกินไป เมื่อใช้งาน อาจจะมีอาการเครื่องยนต์สะอึกเล็กน้อย จนกว่าน้ำที่ไปผสมกับน้ำมันจะถูกใช้ไปหมด
>> บางทีคุณอาจสนใจ แอร์ไม่เย็นฉ่ํา
หลายคนอาจมองข้ามอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ อย่างจุกลม และอาจจะมองไม่เห็นความสำคัญของฝาปิดจุกลมด้วย โดยฝาปิดจุกลม หรือฝาปิดจุ๊บลมจะช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกขนาดเล็กอย่างฝุ่นละอองหรือน้ำ รวมถึงเศษกรวด เศษหิน เข้าไปทำลายโครงสร้างของวาล์วภายในจุ๊บยาง ที่จะทำให้เกิดการเบียดและกดทับจนทำให้ลมในยางรั่วออกมา
จุกลมรถจะป้องกันไม่ให้ลมในยางรั่วออกมา
ฝากจุกลมยังมีส่วนช่วยป้องกันการรั่วซึมของยาง ซึ่งฝาปิดจุกบางอันจะมีซีลป้องกันการรั่วติดมาด้วย หากปิดฝาจุกลมได้ไม่แน่นเท่าที่ควร จะทำให้ฝาปิดคลายตัวแล้วเกิดหล่นหายได้ เพื่อความแน่ใจ ทุกครั้งหลังจากปิดจุกแล้ว ให้ตรวจสอบ ใช้มือบิดซ้ำให้แน่นอีกที ป้องกันการใช้มือหมุนหรือการหลุดออกมาง่าย ๆ และทางผู้ใช้รถเองควรมีคีมติดรถมาด้วย เพื่อใช้สำหรับการถอดภายหลังเช่นกัน
ที่สูบลมล้อจักรยานสามารถนำมาใช้เติมยางรถยนต์ได้จริง แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้แรงในการสูบเยอะมาก ๆ ซึ่งถ้าไม่ฉุกเฉินหรือจำเป็นจริง ๆ ก็ใช้วิธีการเติมลมสำหรับรถยนต์เลยดีกว่า เพราะถึงแม้จะใช้แทนได้ แต่ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้น เพราะถ้าจะเอามาเติมยางรถยนต์ ต้องใช้แม่แรงยกให้ล้อลอยขึ้นมาในระดับนึง เพื่อให้เติมง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องสู้กับน้ำหนักของรถที่กดยางนั่นเอง
แม้จะขึ้นว่าเศษ แต่เมื่อมีการสะสมมาก ๆ ก็จะกลายเป็นว่ามีปริมาณที่มากขึ้นจนสามารถสร้างความเสียหายให้กับรถได้ นอกจากจะทำให้ล้อดูสกปรกไม่น่ามองแล้ว การมีเศษดิน เศษขยะที่ติดมากับซอกล้อ จะสามารถดึงดูด จูงใจ สุนัขให้เข้ามาฉี่รดได้ แม้จะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อยแต่ก็ก่อให้เกิดความรำคาญใจได้มากพอสมควรเลยทีเดียว
เศษดินสะสมที่ล้อ อันตรายกว่าที่คิด
อีกทั้งการที่มีเศษหินติดอยู่ที่ล้อ เมื่อมีการเคลื่อนไหว จะสามารถเกิดการกระเด็นไปกระทบต่อรถร่วมถนนได้ด้วย และที่อันตรายกว่านั้น คือเมื่อขับรถผ่านพื้นผิวที่มีน้ำท่วมขัง หรือขับขี่ในตอนมีฝน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ มีโอกาสลื่นไถลได้มากขึ้น ดังนั้นจึงควรหมั่นเช็กล้อรถบ้าง อาจจะเป็นหลังจากที่พารถไปผ่านถนนลูกรังหรือเส้นทางที่ผจญภัยมาอย่างดุเดือด เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการขับขี่ครั้งต่อไป
บางศูนย์บริการ เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก มักจะไม่ได้ทำการไล่อากาศที่ค้างในระบบ เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่ใช้เวลาและต้องละเอียดในการทำ ต้องค่อย ๆ ถ่ายน้ำมันเบรกชุดเก่าออกทีละจุดอย่างระมัดระวัง และค่อย ๆ เทน้ำมันเบรกชุดใหม่ตามลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปในระบบน้ำมันเบรก โดยการไล่ลมเบรกไม่ให้เกิดช่องว่างของอากาศหรือฟองอากาศ จะทำให้ระบบเบรกทำงานได้ไหลลื่นอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้เบรกได้อย่างมั่นใจ โดยเริ่มจากการไล่อากาศที่ปั๊มแม่เบรก ด้วยการเหยียบแป้นเบรกค้างไว้ จากนั้นใช้นิ้วอุดไปยังช่องที่น้ำมันเบรกไหลออก และปล่อยแป้นเบรก ให้ทำแบบนี้วนไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำมันเบรกจะไหลออกมาหมด
เหยียบเบรกค้างไว้เพื่อไล่อากาศ
จากนั้นให้ทำการไล่อากาศในระบบท่อน้ำมันเบรก ด้วยการไล่ลมหรือฟองอากาศจากล้อที่ไกลแม่ปั๊มเบรกที่สุดก่อน แล้วขยับมาไล่ลมในล้อที่ใกล้แม่ปั๊มเบรกตามลำดับ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ให้ต่อท่อสายยางที่หัวไล่อากาศที่ก้ามปูหรือคาริปเปอร์เบรค ก่อนเริ่มย้ำเบรกซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง แล้วจึงเหยียบเบรกค้างเอาไว้ และค่อย ๆ คลายสกรูไล่ลมเบรกออกก่อนจะต้องรีบปิดในทันที พร้อมสังเกตด้วยว่า มีฟองอากาศออกมาด้วยหรือไม่ ? จากนั้นให้หมั่นเติมน้ำมันเบรกที่กระปุกน้ำมันเบรก ขณะที่ไล่อากาศออกจากระบบท่อน้ำมันเบรก สังเกตระดับน้ำมันเบรกที่กระปุกเป็นระยะ ๆ ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีฟองอากาศออกมาจากหัวไล่อากาศเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เมื่อเพิ่งพ้นจากการขับรถลุยน้ำมา ไม่ว่าจะเป็นการขับไปลงแอ่งน้ำ หรือขับผ่าฝน รถเองก็เหมือนกับคนที่เมื่อหลบเข้าที่ร่มได้ก็ต้องรีบผ้ามาซับความชื้นทันที เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงไป ซึ่งกับทางรถนั้น มีวิธีซับความชื้นด้วยการเหยียบเบรกไล่น้ำ โดยให้เหยียบแบบซ้ำ ๆ ย้ำเป็นช่วง ๆ เพื่อให้เกิดความร้อนที่จานเบรก อันจะช่วยไล่น้ำและความชื้นออกจากเบรกได้เร็วขึ้นนั่นเอง
ตามปกติแล้ว ควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ในทุกระยะ 20,000-30,000 กิโลเมตร แม้ในบางคู่มือค่ายรถจากหลาย ๆ ค่าย จะแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ที่ระยะ 40,000 -60,000 กิโลเมตร เพราะในสภาพอากาศของไทยที่ร้อนชื้น บวกกับสภาพการจราจรที่ค่อนข้างติดขัด จะส่งให้เกียร์ต้องทำงานหนักมากว่าปกติ หรือในกรณีที่รถใช้บ่อย ให้งานหนักมาก แนะนำให้เปลี่ยนที่ระยะ 10,000 กิโลเมตรไปเลย
และทั้งหมดนี้ ก็คือวิธีการดูแลรักษารถยนต์ที่คนมีรถควรรู้ ลองทดสอบดูแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง มีอะไรที่คุณเองยังไม่รู้หรือเปล่า ? บางส่วนเป็นจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจมองข้ามไป หากรู้แล้วก็หมั่นตรวจเช็ก หันมาให้ความสำคัญในการดูแลรักษากันด้วย เพราะหลาย ๆ จุด แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็ก ๆ แต่ก็มีความสำคัญในภาพรวมด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้การขับขี่สมบูรณ์แบบ หมั่นดูแลรักษารถยนต์ของคุณในทุก ๆ ส่วนเสมอ และเพื่อไม่ให้พลาดเทคนิคดี ๆ สำหรับคนรักรถยนต์ ติดตามเรื่องราวสาระดี ๆ กับเราได้ที่ Chobrod.com
ดูเพิ่มเติม
>> ควรรู้! 10 อะไหล่รถยนต์ ที่เปลี่ยนบ่อยที่สุด
>> การดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้น ที่คนรักรถต้องรู้
เข้าดู รถบ้านมือสอง ได้ที่นี่