ย้อนรอยวิกฤตน้ำมันโลกปี1973

ประสบการณ์ใช้รถ | 14 ส.ค 2561
แชร์ 2

ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา แคนนาดา อังกฤษ ญ๊่ปุ่น ก็เกิดวิกฤตทางด้านน้ำมันจนถูกจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของโลกได้

หากมองย้อนกลับไปในอดีต ในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือระหว่าง 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000 ในช่วงนั้นใต้พื้นพิภพย่อมต้องมีทรัพยกรที่เรียกว่าน้ำมันดิบมากกว่าในปัจจุบันนี้เป็นแน่ แต่ถึงกระนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา แคนนาดา อังกฤษ ญ๊่ปุ่น กลับเกิดวิกฤตทางด้านน้ำมันจนถูกจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของโลก และยังเกิดเป็นวิกฤตใหญ่ถึงสองครั้งสองคราในเวลาไม่ห่างกันมากอีกด้วย

รถน้ำมันหมดก็ไม่ใช่ว่าจะหาน้ำมันเติมได้ง่ายๆ

รถน้ำมันหมดก็ไม่ใช่ว่าจะหาน้ำมันเติมได้ง่ายๆ

วิกฤตน้ำมันโลก ไปยังไงมายังไง

สาเหตุหลายๆอย่างของวิกฤตน้ำมันในครั้งนี้มีหลายประการ โดยประการหลักๆก็นับได้ว่าเป็นผลให้ทั่วโลกเกิดวิกฤตน้ำมันได้สมน้ำสมเนื้อจริงๆ คือ

1. สงครามยมคิปปูร์ หรือรู้จักกันในนามสงครามตุลาคม  ประกายไฟแห่งสงครามเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี1956 โดยกองกำลังทหารของซีเรียได้เข้าทำลายท่อส่งน้ำมันทรานส์อาราเบียน (Trans-Arabian Pipeline) และท่อส่งน้ำมันอิรักบาริยาส ( Iraq-Baniyas Pipeline) ซึ่งสองท่อส่งนี้เป็นท่อส่งสำคัญในการส่งน้ำมันไปยังยุโรปตะวันตก และต่อมาสงครามก็ส่อเค้าเป็นรูปเป็นร่างขึ้นระหว่างตัวละครสำคัญในสงครามครั้งนี้คือประเทศอียิปต์และซีเรีย ที่นำกำลังเข้าสู้รบกับ ประเทศอิสราเอล ซึ่งประเทศอียิปต์และซีเรียได้รับการสนับสนุนการทำสงครามจากเหล่าประเทศอาหรับร่วมกันเข้าตีดินแดนอิสราเอลแบบไม่ทันให้ตั้งตัวในวัน "ยมคิปปูร์" (วันศักดิ์สิทธิ์วันหนึ่งในศาสนายูดาย) วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1973 ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นการเลือกข้างผิดหรือถูกพี่ใหญ่อย่างประเทศโซเวียตในขณะนั้นก็หนุนหลังประเทศอียิปต์และซีเรีย ส่วนพี่ใหญ่จากฟากฝั่งสหรัฐอเมริกาก็ไม่ยอมอยู่เฉยส่งกองกำลังน่านฟ้าขนเครื่องบินรบไปช่วยในด้านยุทโธปกรณ์อย่างเต็มที่แก่ประเทศอิสราเอลในปฏิบัติการนิเกิลกราสแถมยังส่งเงินให้อีกราวๆ2พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ 

สหรัฐอเมริกาเข้าข้างฝ่ายอิสราเอลส่งกองกำลังรบไปช่วยเหลือ

สหรัฐอเมริกาเข้าข้างฝ่ายอิสราเอลส่งกองกำลังรบไปช่วยเหลือ

ดูเพิ่มเติม
ครบรอบ 30 ปี “TOYOTA ถนนสีขาว” เปิดศูนย์พัฒนาศักยภาพให้ผู้ขับขี่รถยนต์
NISSAN GT-R รหัส “NISMO” และ “R35” สุดยอดมือสังหารที่พร้อมล้มยักษ์ Super Car ฝั่งยุโรป

เห็นดังนั้นกลุ่มอาหรับมีหรือจะอยู่เฉย ด้วยความที่ตัวเองเป็นแกนหลักของกลุ่มโอเปกที่ถือครองตลาดน้ำมันดิบส่วนใหญ่ของโลกตัดสินใจงดการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศแคนนาดา ญี่ปุ่น เนอเธอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันอย่างหนักขึ้นในประเทศดังกล่าว และเป็นผลให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น4เท่า

ภาพสถานการณ์วิกฤตน้ำมันในปี 1973

ภาพสถานการณ์วิกฤตน้ำมันในปี 1973

น้ำมันขาดแคลนเพราะโดนแบนจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน

น้ำมันขาดแคลนเพราะโดนแบนจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน

2. การยุติบทบาทลงของระบบเบรตตันวูดส์ในสหรัฐอเมริกา ระบบเบรตตันวูดส์คือนโยบายทางการเงินที่ควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนโดยผูกเงินตราของประเทศกับทองคำ เมื่อสหรัฐอเมริกาไม่ใช้ระบบนี้ทำให้เงินดอลล่าร์สหรัฐลอยตัวคือ ค่าเงินจะขึ้นหรือลงขึ้นกับความต้องการของตลาด ต่อมาประเทศอังกฤษก็ออกจากระบบนี้อีกเช่นกันทำให้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงลอยตัว และเพราะแบบนี้ค่าเงินก็จะผันผวนได้ง่าย ประเทศต่างๆจึงพยายามสำรองเงินของประเทศตัวเองไว้มากกว่าปกติ ส่งผลให้เงินดอลล่าร์สหรัฐด้อยค่าลง (ก็แต่ละชาติล้วนสนแต่เงินตัวเองก่อน)

ทั้งสองเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมๆกันในปี 1973 ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตกอย่างหนักราวกับพายุฝนที่มองไม่เห็นแสงสว่าง ข้าวของราคาแพงขึ้น น้ำมันหาซื้อยาก ผู้คนล้วนเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ

ความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นแต่ผลิตได้น้อยลงในสหรัฐอเมริกา

นอกจากปัจจัยหลักสองข้อข้างต้นแล้ว หลังจากปีค.ศ.1945 ที่จบสงครามโลกครั้งที่2ใหม่ๆ ความต้องการใช้น้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เรียกได้ว่าน้ำมันเป็นพลังที่ถูกนำมาแทนพลังงานจากถ่านหินมากขึ้นด้วยเหตุผลที่ว่าสามารถนำมาใช้งานได้ง่ายกว่า ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าและการนำมาใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องบินที่ยังไม่สามารถหาเชื้อเพลิงอื่นมาทดแทนได้ และเนื่องจากการผลิตน้ำมันจากประเทศในแถบตะวันออกกลางมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำทำให้การนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศมาใช้ในสหรัฐอเมริกาก็ยังคงมีราคาที่ถูกสู้กับน้ำมันที่ผลิตในประเทศได้ เมื่อเป็นแบบนี้บริษัทขุดเจาะและจำหน่ายน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่สามารถทำกำไรได้ดีนัก การผลิตน้ำมันดิบเองในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงลดน้อยลงไปอีก

แล้วอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอย่างไร

ถึงแม้จะเกิดวิกฤตน้ำมันแต่ชิวิตก็ยังต้องเดินหน้าไปในแต่ละวัน น้ำมันมีให้ใช้น้อยแต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ ดังนั้นรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาที่เน้นเรื่องกำลังของเครื่องยนต์ รถคันใหญ่ๆจึงเสื่อมความนิยมลง ผู้คนเริ่มสนใจรถยนต์ที่เครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันมากขึ้น และประเทศที่สามารถผลิตเครื่องยนต์ดีๆและประหยัดน้ำมันได้มากกว่าก็หนีไม่พ้นแดนปลาดิบ ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นใช้โอกาสที่ความต้องการรถยนต์ประหยัดน้ำมันของประชาชนในสหรัฐอเมริกาเข้ามาตีตลาดรถยนต์ทันที ขาใหญ่ในอุตสาหกรรมรถยนต์จากแดนอาทิตย์อุทัย โตโยต้า ได้นำรถยนต์ โตโยต้า โคโรน่า และ โตโยต้า โคโรล่า เข้ามาทำตลาด ส่วนนิสสัน (ในขณะนั้นเป็นดัทสัน) นำรถยนต์ดัทสันB210 และดัทสัน510 เข้ามา ฮอนด้าก็นำรถฮอนด้านซีวิค และฮอนด้าแอคคอร์ดเข้ามาตีตลาดด้วย และรถเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์4สูบที่ให้อัตราการประหยัดน้ำมันได้ดีกว่ารถยนต์เครื่อง6สูบและ8สูบสัญชาติอเมริกัน อย่างไรก็ตามก็มีลูกค้าบางส่วนที่ไม่ค่อยแฮปปี้กับรถเล็กเท่าไรนัก ทางโตโยต้าและดัทสันจึงนำเสนอรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเช่น โตโยต้าโคโรน่ามาร์ค2, โตโยต้าเครสสิด้า และดัสสัน810 เป็นการปรับให้ห้องโดยสารมีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น เครื่องปรับอากาศ พวงมาลัยพาวเวอร์ วิทยุ กระจกหน้าต่างไฟฟ้า ระบบเซ็นทรัลล็อก โดยไม่ได้เพิ่มราคารถ จึงทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่นเข้าสู่ใจของผู้ใช้รถในตลาดสหรัฐอเมริกาได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

1970–1978 Toyota Corolla

1970–1978 Toyota Corolla

1975 Toyota Corona

1975 Toyota Corona

 Datsun B210

 Datsun B210

 Datsun 510

 Datsun 510

1976 Honda Civic 5-door hatchback

1976 Honda Civic 5-door hatchback

1976-1981Hinda Civic

1976-1981 Honda Civic

ในวิกฤตก็มีโอกาส

หลังจากที่เกิดวิกฤตน้ำมันในปี1973 ทำให้สหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำมันดิบและระบบการเงินของประเทศมากขึ้น เพราะประชาชนต้องยากลำบากกับวิกฤตการที่ตัวสหรัฐอเมริกาเองยื่นมือเข้าไปร่วมรบในสงครามที่ห่างออกไปเป็นพันๆไมล์ สหรัฐอเมริกาจึงพยายามเฟ้นหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่ประเทศตัวเองตจนวันนี้กลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบอันดับหนึ่งของโลกได้สำเร็จ ชาติจากเอเชียอย่างญี่ปุ่นเองก็ฉลาดไม่แพ้กันกลับใช้โอกาสที่เกิดขึ้นในวิกฤตนี้นำรถยนต์ของตัวเองเข้าไปตีตลาดครองใจชาวอเมริกันได้สำเร็จจากจุดปวดร้าวในใจที่รถสัญชาติอเมริกันแรงดีแต่มีข้อเสียเรื่องกินน้ำมันมาก เราชาวChobrodเองที่เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียก็พร้อมจะนำเรื่องราวดีๆมาบอกต่อเพื่อให้รู้เท่าทันช่าวต่างชาติต่อไปครับ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดีและน่าเชื่อถือ เชิญที่นี

แท็ก ดัทสัน