ในปัจจุบันรถรุ่นใหม่หลากหลายรุ่นต่างชูจุดขายเรื่องความปลอดภัยที่ล้ำสมัย ติดตั้งระบบมากมายเพื่อช่วยรองรับการขับขี่ที่ได้มาตรฐานและได้การยอมรับจากผู้เลือกซื้อ
ถ้าพูดถึงระบบความปลอดภัยรถ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับถุงลมนิรภัยหรือระบบ ABS, BA อาจจะมีบ้างที่ได้ยิน EBD จากการบรรยายสรรพคุณของเซลล์ขายรถ หรือโฆษณาจากค่ายรถที่ติดตั้งระบบนี้
รถสมัยใหม่ต่างติดตั้งระบบที่หลากหลายมากมายเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย
แต่ก็เชื่อว่ามีบางส่วนที่เคยได้ยินชื่อ EBD แต่ไม่รู้ว่าคืออะไรและมีการทำงานอย่างไร หรือบางคนที่สนใจกำลังจะเลือกซื้อรถสักคันและรถคันที่สนใจติดตั้งระบบนี้ อาจจะเกิดข้อสงสัยและคำถามมากมายเกี่ยวกับ EBD ถ้าหากคุณสนใจ เราก็จะอธิบายให้ฟังกัน
EBD ย่อมากจาก Electronic Brake force Distribution หรือที่เรียกว่า "ระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก" เป็นระบบที่ช่วยปรับความสมดุลของแรงเบรกที่ล้อหน้าและล้อหลังให้เท่ากัน โดยระบบนี้จะทำงานร่วมกันกับระบบ ABS
รายละเอียดองค์ประกอบของ EBD ภายในรถ
โดยหลักการทำงานจะประกอบด้วย3 ส่วนหลักคือ เซ็นเซอร์ที่ใช้วัดความเร็วที่ล้อหน้าและล้อหลัง, ชุดวาล์วควบคุมแรงดันระบบไฮดรอลิก และกล่องสมองกลคอมพิวเตอร์ EBD จะใช้กล่องสมองกลนี้ร่วมกับระบบ ABS ทั้งระบบ แต่จะใส่โปรแกรมพิเศษเพื่อสร้างสมดุลของการกระจายแรงเบรก โดยแยกการทำงานของระบบเบรกในแต่ละล้อให้สามารถทำงานได้โดยอิสระ สอดคล้องกับสภาวะการขับขี่และการเบรก
ดูเพิ่มเติม
>> “ระบบป้องกันล้อล็อค” คืออะไร? ทำงานอย่างไร? มาหาคำตอบกัน!
>> วิธีง่ายๆ รู้เอาไว้ก่อนสายเกินไป !! กับวิธีการเอาตัวรอดจาก “รถยางระเบิด”
1. การกระจายแรงเบรกที่ล้อหน้าและล้อหลัง
การทำงานของระบบ EBD จะเป็นไปโดยอัตโนมัติทันทีที่ผู้ขับกดแป้นเบรก โดยกล่องสมองกลจะนำค่าความต่างของความเร็วในการที่ล้อหน้าคู่หน้าและหลัง ที่เกิดขึ้นในขณะที่กดแป้นเบรกมาใช้ในการคำนวณเพื่อหาปริมาณแรงกันน้ำมันเบรกสูงสุดที่ระบบจะสามารถส่งให้เบรกทำงานได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการเบรกล็อกที่ล้อหลังจนเกิดอาการท้ายปัด โดยเฉพาะในกรณีที่มีการบรรทุกสัมภาระหรือมีผู้โดยสารมาก รถที่มีการบรรทุก น้ำหนักส่วนใหญ่จะกดลงที่ล้อหลัง ทำให้ เบรกหลังต้องรับภาระมากกว่าปกติ
2. การกระจายแรงเบรกของล้อด้านซ้ายและขวา(ขณะเข้าโค้ง)
เมื่อขับขี่เข้าโค้ง น้ำหนักของรถที่จ่ายไปยังด้านในจะลดลง ถ้าผู้ขับขี่ต้องเหยียบเบรกเพื่อลดความเร็ว ระบบ EBD จะเริ่มแปรผันแรงดันน้ำมันเบรกที่ถูกส่งไปยังล้อด้านในขณะนั้นได้อย่างเหมาะสม การที่มีระบบ EBD เข้ามาเสริมการทำงานจะช่วยให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถได้ดีแม้จะเบรกในขณะเข้าโค้ง
หากรถที่ไม่มีระบบ ABS และ EBD เวลาทำการเหยียบเบรก น้ำหนักรถจะถูกเทมาที่ด้านหน้า และเกิดอาหารหน้าทิ่มและท้ายรถยก ยิ่งถ้าเราบรรทุกของมากในบริเวณด้านหลัง อาการนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เราควบคุมรถได้ลำบากยิ่งขึ้น
รถกระบะบางรุ่นทีระบบวาล์วที่เรียกว่า LSPV (Load Sensing Proportioning Valve) ที่ช่วยปรับแรงดันของเบรกให้สมดุลกับสภาพของการบรรทุก แต่วาล์วตัวนี้ก็ไม่ดีเท่ากับ EBD ที่ใช้กล่องคอมพิวเตอร์สมองกลควบคุมการทำงาน โดยอาศัยเซ็นเซอร์รับข้อมูลมาประมวลผล จากนั้นจะสั่งระบบให้ทำการ
แผนภาพแสดงให้เห็นถีงระยะการเบรคในกรณีที่มีหรือไม่มี EBD กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
แม้รถบางคันจะมี ABS ซึ่งช่วยในการล้อล็อคก็ว่าดีแล้ว แต่การมี EBD มาช่วยเสริมด้วยย่อมดีกว่า เพราะจะทำให้เราสามารถควบคุมรถเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ง่ายขึ้น และ EBD ยังช่วยให้ระยะเบรกสั้นลงอีกด้วย
มาทำความรู้จักกับระบบกระจายแรงเบรก (EBD) คืออะไร? และทำงานอย่างไร?
เทคโนโลยีช่วยสร้างระบบเพื่อรองรับการขับขี่ที่ให้ความปลอดภัยมากขึ้นทุกขณะ และการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่รู้จบ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าระบบจะทันสมัยแค่ไหนก็ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ 100 เปอร์เซ็นต์ การจะขับขี่ให้ปลอดภัยได้มากน้อยเพียงใดนั้น ที่สำคัญก็ขึ้นอยู่กับการตั้งสติและการขับรถด้วยความไม่ประมาทของคุณเอง
ดูเพิ่มเติม
>> มาทำความรู้จักกับระบบ HAC หรือ ระบบป้องกันรถไหลเมื่อขึ้นทางลาดชัน กันดีกว่าว่ามันคืออะไร ?
>> ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ASC) คืออะไร ทำงานอย่างไร? มาหาคำตอบกัน!
ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้