บทสรุป “นั่งหลังกระบะ” ดูความเหมาะสมเริ่มต้นตักเตือน หากทำซ้ำอีกถือว่าผิดกฎหมาย

ประสบการณ์ใช้รถ | 10 ส.ค 2561
แชร์ 106

พอถึงช่วงเทศกาลวันหยุดยาวในประเทศไทย เรามักจะเห็นรถยนต์เนืองแน่นเป็นทางยาวบนถนนเส้นทางต่างๆ และภาพที่เห็นจนชินตาตามมาก็คือ ภาพของพี่น้องประชาชนนั่งหลังกระบะ ด้วยประเทศไทยมีผู้ใช้รถยนต์จำนวนมาก การเดินทางกลับต่างจังหวัด ปลายทางที่เดียวกัน จึงนั่งไปด้วยกัน ไปพร้อมๆ กัน

แต่สิ่งที่ทำให้คนไทยไม่เข้าใจ คือเรื่องการออกกฎหมายห้ามประชาชนนั่งหลังกระบะ” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสวนทางกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เพราะกระทบถึงผลที่ตามมาหลายๆ อย่าง เช่น อาชีพรับเหมาก่อสร้างที่ต้องบรรทุกคนงานก่อสร้างหลายๆ คน เพื่อเดินทางไปทำงาน ซึ่งถ้ามีกฎหมาย นั่งหลังกระบะผิดกฎหมาย แล้วประชาชนคนทำงานที่ไม่ได้ร่ำรวย จะประกอบอาชีพกันอย่างยากลำบากแน่นอน เป็นต้น

บทสรุป “นั่งหลังกระบะ” ดูความเหมาะสมเริ่มต้นตักเตือน หากทำซ้ำอีกถือว่าผิดกฎหมาย

บทสรุป “นั่งหลังกระบะ” ดูความเหมาะสมเริ่มต้นตักเตือน หากทำซ้ำอีกถือว่าผิดกฎหมาย

ดูเพิ่มเติม
>> 
“พารากอน” ลุกเป็นไฟ! เปิดตัวประสบการณ์ใหม่ YARIS ATIV ปะทะ BNK48
>> หลากหลายเหตุผลที่สังคมรถไร้คนขับยังไกลความจริง
 


ตร.ยอมถอย! อนุโลมนั่งกระบะท้าย-แค็บโดยสาร หลังเจอด่าระงม!
 

บทสรุป “นั่งหลังกระบะ” ดูความเหมาะสมเริ่มต้นตักเตือน หากทำซ้ำอีกถือว่าผิดกฎหมาย

บทสรุป “นั่งหลังกระบะ” ดูความเหมาะสมเริ่มต้นตักเตือน หากทำซ้ำอีกถือว่าผิดกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ประเด็นร้อน “ห้ามนั่งหลังกระบะ”   ที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศยังวิพากษ์วิจารณ์ โดยล่าสุดเมื่อต้นปี 2018 ที่ผ่านมา ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ออกมาชี้แจง และพิจารณาว่า หากกรณีที่มีความจำเป็นและเดินทางไม่ไกลนักจะใช้การตักเตือนเป็นมาตรการขั้นแรก 

แต่หากพบการบรรทุกสินค้าหรือการโดยสารจำนวนคนในเชิงรับจ้างขนส่ง เช่นรถที่ดัดแปลงให้คนนั่ง 2 ชั้น ตรงกระบะท้าย เช่นนี้เจตนาขนคนชัดเจน ก็จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนใช้รถขนส่งสาธารณะในการเดินทางกลับภูมิลำเนาแทนการเดินทางไปภายในแคปของกระบะ หรือกระบะท้ายเพื่อความปลอดภัย

นั่งท้ายกระบะไม่ผิดกฎหมาย แต่หากไม่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถลงโทษตามกฎหมายได้

นั่งท้ายกระบะไม่ผิดกฎหมาย แต่หากไม่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถลงโทษตามกฎหมายได้

นั่งท้ายกระบะไม่ผิดกฎหมาย แต่หากไม่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถลงโทษตามกฎหมายได้

ซึ่งข้อกฎหมายทั้งหมดเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้หมดแล้ว ทั้งนี้กรณีที่เจ้าของรถไปติดตั้งเข็มขัดนิรภัยที่แคปหลัง (Cab 2 Door)   นั้นก็ต้องผ่านการตรวจรับรองประเภทรถจากกรมขนส่งทางบกก่อน ถ้าได้รับการรับรองว่าสามารถให้คนโดยสารได้ตามกฎหมายก็นั่งได้ แต่ถ้าไม่มีการรับรองหากเจ้าหน้าที่พบก็ต้องจับกุม ถือว่าผิดกฎหมายต้องปรับคนขับ

ทั้งนี้ในช่วงเริ่มต้น เมื่อต้นปี 2018  โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา  ได้มีการกวดขันไม่อนุญาตให้คนนั่งท้ายกระบะตั้งแต่ต้นทาง  จุดแรกก็จะตักเตือนก่อนว่าผิด และต้องนำคนออกให้โดยสารวิธีอื่นที่ถูกกฎหมาย มีทางเลือกอื่นที่ทำได้ เช่นรถสาธารณะ โดยไม่ทำการเปรียบเทียบปรับ

แต่หากผ่านต้นทางไปสู่จุด 2 จุด 3 แบบนี้ถือว่าเจตนาละเมิดกฎหมายแล้ว ก็ไม่อนุญาตให้ขนคน จึงขอย้ำว่าให้ทำตามกฎหมายตั้งแต่ต้นดีกว่า เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้แม้กระแสสังคมระบุว่า กฎหมายห้ามนั่งกระบะหลังและแคปไม่เอื้อกับคนรายได้น้อยนั้น ก็ต้องบอกว่าต้องไปแก้กฎหมาย ในเมื่อกฎหมายออกมาเช่นนี้ ตำรวจต้องทำตาม บังคับใช้กฎหมายนี้ จะบอกให้ตำรวจทั่วประเทศละเว้นกฎหมายคงไม่ได้

นั่งหลังกระบะ

ประเทศไทยออกมาตรการตักเตือน สำหรับคนโดยสารท้ายกระบะ

ประเทศไทยออกมาตรการตักเตือน สำหรับคนโดยสารท้ายกระบะ

ประเทศไทยออกมาตรการตักเตือน สำหรับคนโดยสารท้ายกระบะ

 “นั่งหลังกระบะ” ดูความเหมาะสมเริ่มต้นตักเตือน หากทำซ้ำอีกถือว่าผิดกฎหมาย

โดยสรุป การนั่งโดยสารหลังรถกระบะ ยังคงอนุญาตให้ทำได้ ไม่ผิดกฎหมายร้ายแรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามความเหมาะสมหากเจอจุดตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจะมีการจะมีการตักเตือนในเบื้องต้น หากพบว่า มีการฝ่าฝืนปฏิบัติที่มีความสุ่มเสี่ยงมากเกินไปก็อาจจมีโทษปรับ และโทษตามกฎหมายที่รุนแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ใช้รถกระบะต้องพยายามรักษากฎระเบียบ พยายามรับคนโดยสารนั่งข้างในรถ หรือเปลี่ยนมาใช้รถประจำทาง และรถสาธาณะให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเองครับ

ดูเพิ่มเติม
>> 
Touch Classic Garage อู่ที่คนขับ BMW คลาสสิกวางใจ
>> ไฮบริด, PHEV, EV ทำไมจึงแตกต่าง???

Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้และอย่าลืมแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ของคุณให้เราด้วยโดยการให้ Comment ด้านล่างนี้ได้เลย 

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดีและน่าเชื่อถือ เชิญที่นี